ราชวงศ์มังราย (ราชวงศ์เม็งราย) เป็นราชวงศ์ที่ปกครองอาณาจักรล้านนา ตั้งแต่รัชสมัยพญามังรายจนถึงพระเจ้าเมกุฎิสุทธิวงศ์ (ท้าวแม่กุ) เป็นเวลายาวนานกว่า 260 ปี
ราชวงศ์มังราย[1] เป็นราชวงศ์ที่ปกครอง อาณาจักรล้านนา ตั้งแต่รัชสมัยพญามังรายจนถึงพระเจ้าเมกุฎิสุทธิวงศ์ (ท้าวแม่กุ) เป็นเวลายาวนานกว่า 260 ปี จนถึงยุคเสื่อม เมื่ออุปนิกขิต (สายลับ) ที่พระเจ้าบุเรงนองส่งมาฝังตัวเพื่อรายงานสถานการณ์ในเชียงใหม่ แจ้งกลับไปบอกว่าเชียงใหม่ถึงยุคเสื่อมสุดแล้ว ให้ยกทัพหงสาวดีมาชิงเมือง ดังนั้น ใน พ.ศ. 2101 พระเจ้าบุเรงนอง จึงยกทัพมาตีเมืองเชียงใหม่ โดยทัพพม่าใช้เวลาเพียงสามวันก็สามารถยึดเมืองเชียงใหม่ได้โดยง่าย กษัตริย์เมืองเชียงใหม่ในขณะนั้น ได้หลบหนีไปยังเมือง”ปาไป่น้อย“หรือเมืองเชียงแสน ตามหลักฐานของจักรพรรดิจีนราชวงศ์หมิง อีกหกปีต่อมา พม่าก็ปลดพระเจ้าเมกุฎิสุทธิวงศ์ออกจากราชบัลลังก์ในข้อหาแข็งเมืองก่อการกบฏ พระเจ้าบุเรงนองจึงได้แต่งตั้งพระนางวิสุทธิเทวี อันเป็นเชื้อสายราชวงศ์มังรายอีกพระองค์ขึ้นเป็นกษัตริย์ พระนางครองเมืองเชียงใหม่ได 14 ปี ก็สวรรคต และสิ้นสุดราชวงศ์มังรายสายพญาแสนภู [2] แต่ราชวงศ์มังรายยังคงเหลือเชื้อสายในราชวงศ์ที่ปกครองเมืองเชียงตุง ซึ่งเป็นสายของพระราชบุตรอีกพระองค์ของพญาไชยสงคราม ซึ่งภายหลังที่อังกฤษเข้ายึดครองพม่า ราชวงศ์เชียงตุงได้อพยพเข้ามาอยู่ในอาณาจักรล้านนา ภายใต้การปกครองของราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน)
ลำดับกษัตริย์ราชวงศ์มังราย
1 | พญามังราย | พ.ศ. 1835 – 1854 |
2 | พญาไชยสงคราม | พ.ศ. 1854 – 1868 (14 ปี) |
3 | พญาแสนภู | พ.ศ. 1868 – 1877 (11 ปี) |
4 | พญาคำฟู | พ.ศ. 1877 – 1879 (2 ปี) |
5 | พญาผายู | พ.ศ. 1879 – 1898 (19 ปี) |
6 | พญากือนา | พ.ศ. 1898 – 1928 (30 ปี) |
7 | พญาแสนเมืองมา | พ.ศ. 1928 – 1944 (16 ปี) |
8 | พญาสามฝั่งแกน | พ.ศ. 1945 – 1984 (39 ปี) |
9 | พระเจ้าติโลกราช | พ.ศ. 1984 – 2030 (46 ปี) |
10 | พญายอดเชียงราย | พ.ศ. 2030 – 2038 (8 ปี) |
11 | พญาแก้ว (พระเมืองแก้ว) | พ.ศ. 2038 – 2068 (30 ปี) |
12 | พญาเกศเชษฐราช (พระเมืองเกษเกล้า) | พ.ศ. 2068 – 2081 (13 ปี) ครั้งที่ 1 |
13 | ท้าวซายคำ | พ.ศ. 2081 – 2086 (5 ปี) |
พญาเกศเชษฐราช (พระเมืองเกษเกล้า) | พ.ศ. 2086 – 2088 (2 ปี) ครั้งที่ 2 | |
14 | พระนางจิรประภาเทวี | พ.ศ. 2088 – 2089 (1 ปี) |
15 | สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช | พ.ศ. 2089 – 2090 (1 ปี) |
ว่างกษัตริย์ | พ.ศ. 2090 – 2094 (4 ปี) | |
16 | พระเมกุฏิสุทธิวงศ์ (ท้าวเม่กุ) | พ.ศ. 2094 – 2107 ตั้งแต่ พ.ศ. 2101 ปกครองภายใต้อำนาจพม่า |
17 | พระนางวิสุทธิเทวี | พ.ศ. 2107 – 2121 ปกครองภายใต้อำนาจพม่า |
รายพระนามคู่อภิเษกสมรสในพระมหากษัตริย์
ลำดับ | พระนาม | พระชาติกำเนิด | พระราชสวามี/พระมหาเทวี | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
1 | ไม่ปรากฏพระนาม | สืบเชื้อสายมาจากเวียงไชยปราการ[3] | พญามังราย | |
2 | ไม่ปรากฏพระนาม[4] | ไม่ทราบ | พญาไชยสงคราม | |
3 | ไม่ปรากฏพระนาม | ไม่ทราบ | พญาแสนภู | |
4 | ไม่ปรากฏพระนาม | ไม่ทราบ | พญาคำฟู | |
5 | พระนางจิตราเทวี[4] | ธิดาเจ้าเมืองเชียงของ | พญาผายู | |
6 | ไม่ปรากฏพระนาม | หลานเจ้าเมืองเชียงของ | พญากือนา | |
7 | พระนางติโลกจุฑาเทวี[5] | ไม่ทราบ | พญาแสนเมืองมา | |
8 | แม่พระพิลก[6] | พญาสามฝั่งแกน | ||
9 | ไม่ปรากฏพระนาม | ไม่ทราบ | พระเจ้าติโลกราช | |
10 | มหาเทวีสิริยศวดี | ธิดาขุนนางนครเขลางค์ | พญายอดเชียงราย | |
11 | ไม่ปรากฏพระนาม | ไม่ทราบ | พระเมืองแก้ว | |
12 | มหาเทวีจิรประภา | ไม่ทราบ | พระเมืองเกษเกล้า | |
13 | ไม่ปรากฏพระนาม | ไม่ทราบ | ท้าวซายคำ | |
14 | พระเมืองเกษเกล้า | โอรสพระเมืองแก้ว | พระนางจิรประภาเทวี | |
15 | พระนางตนทิพย์ พระนางตนคำ |
ธิดาพระเมืองเกษเกล้า | พระไชยเชษฐา | |
16 | ไม่ทราบ | ไม่ทราบ | พระเมกุฏิสุทธิวงศ์ | |
17 | ไม่ทราบ | ไม่ทราบ | พระนางวิสุทธิเทวี |
- ประเสริฐ ณ นคร. (2549, กุมภาพันธ์). ประวัติศาสตร์เบ็ดเตล็ด. กรุงเทพฯ: มติชน. ISBN 9743236007. หน้า 270.
และดูคำอธิบายที่ “มังราย” กับ “เม็งราย” อย่างไหนถูก - ↑ สกุลไทย ฉบับที่ 2389 ปีที่ 46 ประจำวันอังคารที่ 1 สิงหาคม 2543
- ↑ เพ็ญสุภา สุขคตะ ใจอินทร์. (3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555). “คลีโอพัตราแห่งล้านนา “นางพญาอั้วเชียงแสน””. มติชนสุดสัปดาห์. 32:1642, หน้า 76
- ↑ กระโดดขึ้นไป:4.0 4.1 เพ็ญสุภา สุขคตะ ใจอินทร์. (27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555). “ใครคือ “มหาเทวีแม่ลูกสอง” ผู้มิใช่ “มหาเทวีสองแม่ลูก””. มติชนสุดสัปดาห์. 32:1667, หน้า 76
- ↑ “พระนางติโลกจุฑาเทวี”. แม่ญิงล้านนา. สืบค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2556.
- ↑ พิเศษ เจียจันทร์พงษ์. การเมืองในประวัติศาสตร์ ยุคสุโขทัย-อยุธยา พระมหาธรรมราชา กษัตราธิราช. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:มติชน, หน้า 48