ล้านนาสมัยรัฐอาณาจักร (ราชวงศ์มังราย พ.ศ. 1804 – 2101)
ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 19 ดินแดนล้านนาได้พัฒนาการจากแว่นแคว้น – นครรัฐมาสู่รัฐแบบอาณาจักร มีเชียงใหม่เป็นศูนย์กลาง รัฐแบบอาณาจักรสถาปนาอำนาจโดยรวบรวมแว่นแคว้น – นครรัฐมาไว้ด้วยกัน อาณาจักรล้านนาเริ่มก่อรูปโดยการรวมแคว้นโยนและแคว้นหริภุญชัย หลังจากนั้นก็ขยายอาณาจักรไปสู่ดินแดนใกล้เคียง ได้แก่ เมืองเชียงตุง เมืองนายในเขตรัฐฉาน และขยายสู่เมืองเขลางคนคร เมืองพะเยา ในยุคที่อาณาจักรล้านนาเจริญรุ่งเรืองสามารถขยายอำนาจไปสู่เมืองแพร่และ เมืองน่านตลอดจนรัฐฉานและสิบสองพันนา
ในพุทธศตวรรษที่ 19 เกิดปรากฏการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญของภูมิภาคนี้ คือการสลายตัวของรัฐโบราณที่เคยรุ่งเรืองมาก่อน ดังเช่น กัมพูชา ทวารวดี หริภุญชัย และพุกาม การเสื่อมสลายของรัฐโบราณเปิดโอกาสให้เกิดการสถาปนาอาณาจักรใหม่ของชนชาติ ไทยที่ผู้นำ ใช้ภาษาและวัฒนธรรมไทย อาณาจักรใหม่ที่เกิดขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 19 ที่สำคัญคือ ล้านนา สุโขทัย และอยุธยา อาณาจักรทั้งสามมีความเชื่อในพระพุทธศาสนาแบบเถรวาทนิกายลังกาวงศ์เช่นเดียว กัน ความเชื่อดังกล่าวสร้างความสัมพันธ์ต่อกัน ขณะเดียวกันก็ส่งเสริมการแข่งสร้างบุญบารมีของกษัตริย์ จึงนำไปสู่การทำสงครามระหว่างอาณาจักร รัฐสุโขทัยสลายลงก่อน โดยถูกผนวกกับอยุธยา หลังจากนั้นสงครามระหว่างอยุธยาและล้านนามีอย่างต่อเนื่อง สงครามครั้งสำคัญอยู่ในสมัยของพระเจ้าติโลกราชและพระบรมไตรโลกนาถ
ประวัติศาสตร์ล้านนาใน สมัยรัฐอาณาจักรแบ่งตามพัฒนาการเป็น 3 สมัย คือสมัยสร้างอาณาจักร สมัยอาณาจักรเจริญรุ่งเรือง สมัยเสื่อมและการล่มสลาย
1. สมัยสร้างอาณาจักร (พ.ศ. 1939 – 1989) การก่อตั้งอาณาจักรล้านนา เป็นผลจากการรวมแคว้นหริภุญชัยกับแคว้นโยน แล้วสถาปนาเมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางอาณาจักรพระญามังรายปฐมกษัตริย์เริ่ม ขยายอำนาจตั้งแต่ พ.ศ. 1804 ซึ่งเป็นปีแรกที่เสวยราชย์ในเมืองเงินยาง ปีแรกที่พระญามังรายครองเมืองเงินยางนั้น ปรากฏว่าเมืองต่าง ๆ ในเขตลุ่มแม่น้ำกกแตกแยกกัน มีการแย่งชิงพลเมืองและรุกรานกันอยู่เสมอ สร้างความเดือดร้อนแก่คนทั่วไป พระญามังรายจึงรวบรวมหัวเมืองน้อยมาไว้ในพระราชอำนาจ โดยอ้างถึงสิทธิธรรมที่พระองค์สืบเชื้อสายโดยตรงจากปู่เจ้าลาวจง และพระองค์ได้รับน้ำมุรธาภิเษกและได้เครื่องราชาภิเษกเป็นต้นว่า ดาบไชย หอก และมีดสรีกัญไชย สิ่งเหล่านี้เป็นของปู่เจ้าลาวจง ซึ่งตกทอดมายังกษัตริย์ราชวงศ์ลาวทุกพระองค์ พระญามังรายอ้างว่าเจ้าเมืองอื่น ๆ นั้นสืบสายญาติพี่น้องกับราชวงศ์ลาวที่ห่างออกไป ดังนั้นจึงไม่มีโอกาสผ่านพิธีมุรธาภิเษกและได้เครื่องราชาภิเษกเหมือน พระองค์
วิธีการที่พระญามังราย รวบรวมหัวเมืองมีหลายวิธี เช่น ยกทัพไปตี ในกรณีที่เจ้าเมืองนั้นไม่ยอมสวามิภักดิ์ ได้แก่ เมืองมอบ เมืองไล่ เมืองเชียงคำ เมืองเหล่านี้เมื่อตีได้ จะให้ลูกขุนปกครอง ส่วนเมืองที่ยอมสวามิภักดิ์ พระญามังรายคงให้เจ้าเมืองปกครองต่อไป นอกจากนั้นยังใช้วิธีเป็นพันธมิตรกับพระญางำเมือง ซึ่งพระญางำเมืองได้มอบที่ให้จำนวนหนึ่ง มี 500 หลังคาเรือน เป็นต้น
หลังจากรวบรวมหัวเมือง ใกล้เคียงเมืองเงินยางได้แล้ว พระญามังรายก็ย้ายศูนย์กลางลงมาทางใต้ โดยสร้างเมืองเชียงรายใน พ.ศ. 1805 และสร้างเมืองฝาง พ.ศ. 1816 จากนั้นพระญามังรายได้รวบรวมเมืองต่าง ๆ บริเวณต้นแม่น้ำกก แม่น้ำอิง และริมแม่น้ำโขง พระญามังรายสามารถรวบรวมเมืองต่าง ๆ (ซึ่งต่อมาคือเขตตอนบนของอาณาจักรล้านนา) สำเร็จประมาณ พ.ศ. 1830 ซึ่งเป็นปีที่พระญามังราย พระญางำเมืองและพ่อขุนรามคำแหง ทำสัญญามิตรภาพต่อกัน ผลของสัญญามี 2 ประการ ประการแรกคงมีส่วนทำให้พระญามังรายมั่นใจว่าการขยายอำนาจลงสู่แม่น้ำปิง เพื่อผนวกแคล้นหริภุญชัยจะไม่ได้รับการจัดขวางจากพระญางำเมืองและพ่อขุนราม คำแหง ประการที่สอง สามกษัตริย์ร่วมมือกันป้องกันภัยอันตรายจากมองโกลซึ่งกำลังขยายอำนาจลงมาใน ภูมิภาคนี้
เมื่อพระญามังรายรวบรวม เมืองต่าง ๆ ในเขตทางตอนบนแถบลุ่มแม่น้ำปิงตอนบน โดยยึดครองแคว้นหริภุญชัยได้ในราว พ.ศ. 1835 พระญามังรายประทับที่หริภุญชัยเพียง 2 ปี ก็พบว่าไม่เหมาะที่จะเป็นเมืองหลวงของอาณาจักร พระญามังรายจึงทรงย้ายมาสร้างเวียงกุมกาม ความเหมาะสมของนครเชียงใหม่ คือตัวเมืองตั้งอยู่ระหว่างที่ราบลุ่มน้ำปิงและดอยสุเทพ พื้นที่ลาดเทจากดอยสุเทพสู่น้ำปิง ทำให้สายน้ำจากดอยสุเทพไหลมาหล่อเลี้ยงเมืองเชียงใหม่ตลอดเวลา เมืองเชียงใหม่จึงมีน้ำอุดมสมบูรณ์
การก่อตั้งเมือง เชียงใหม่หรือนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ใน พ.ศ. 1839 มีเป้าหมายเพื่อให้เป็นสถาบันทางการเมืองที่มีความสืบเนื่อง ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางอาณาจักรล้านนา ทั้งทางการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ด้วยเหตุนี้จึงให้ความสำคัญต่อเมืองเชียงใหม่เป็นพิเศษ นับตั้งแต่พยายามเลือกทำเลที่ตั้ง การวางผังเมือง และการสร้างสิทธิธรรม การสร้างเมืองเชียงใหม่ถือเป็นความสำเร็จอย่างสูง เพราะเชียงใหม่ได้รับการยอมรับในฐานะศูนย์กลางดินแดนล้านนาตลอดมา ครั้นฟื้นฟูบ้านเมืองได้ในสมัยราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน พระเจ้ากาวิละซึ่งตั้งมั่นอยู่ที่เวียงป่าซาง 14 ปี ก็ยังเลือกเมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางล้านนา เชียงใหม่จึงเป็นศูนย์กลางความเจริญในภาคเหนือสืบมาถึงปัจจุบัน การสร้างเมืองเชียงใหม่ พระญามังรายเชิญพระญางำเมืองและพ่อขุนรามคำแหงมาร่วมกันพิจาณาทำเลที่ตั้ง พระญาทั้งสองก็เห็นด้วยและช่วยดูแลการสร้างเมืองเชียงใหม่ ด้วยเหตุที่พ่อขุนรามคำแหงมาร่วมสร้างเมืองเชียงใหม่ ทำให้ผังเมืองเชียงใหม่ได้รับอิทธิพลจากสุโขทัย เมื่อแรกสร้างกำแพงเมืองมีขนาดกว้าง 900 วา ยาว 1,000 วา และขุดคูน้ำกว้าง 9 วา กำแพงเมืองเชียงใหม่ปรับเปลี่ยนไปตามกาลสมัย ปัจจุบันเปลี่ยนรูปสี่เหลี่ยมยาวด้านละ 1,600 เมตร
ในสมัยอาณาจักรเป็นช่วง สร้างความเข้มแข็งอยู่ในสมัยราชวงศ์มังรายตอนต้น มีกษัตริย์ปกครอง 5 พระองค์ ได้แก่ พระญามังราย พระญาไชยสงคราม พระญาแสนพู พระญาคำฟู และพระญาผายู การสร้างความเข้มแข็งในช่วงต้นนี้สรุปได้ 3 ประการ
ประการแรก การขยายอาณาเขตและสร้างความมั่นคงในอาณาจักร ในสมัยพระญามังรายได้ผนวกเขลางคนครเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักร เนื่องจากเขลางคนครมีความสัมพันธ์กับเมืองหริภุญชัยในฐานะบ้านพี่เมืองน้อง เมื่อยึดครองหริภุญชัยสำเร็จก็จำเป็นต้องรุกคืบต่อไปยังเขลางคนคร หลังจากนั้นความคิดขยายอาณาเขตไปยังทางด้านตะวันออกสู่เมืองพะเยาซึ่งเกิด ขึ้นในสมัยพระญามังรายแล้ว แต่ติดขัดที่เป็นพระสหายกับพระญางำเมือง เมืองพะเยาและเชียงใหม่มีความสัมพันธ์ฐานะเครือญาติในวงศ์ลวจังกราช เมืองพะเยาซึ่งเป็นรัฐเล็ก ต่อมาจึงถูกยึดครองสำเร็จในสมัยพระญาคำฟู (พ.ศ. 1877 – 1879) การยึดครองพะเยาได้เป็นผลดีต่ออาณาจักรล้านนาเพราะนอกจากเมืองเชียงรายจะ ปลอดภัยจากพะเยาแล้ว เมืองพะเยายังเป็นฐานกาลังขยายไปสู่เมืองแพร่และเมืองน่านต่อไป ความคิดขยายอำนาจสู่เมืองแพร่มีในสมัยพระญาคำฟูแต่ไม่ประสบความสำเร็จ แสดงให้เห็นว่าการรวมหัวเมืองล้านนาตะวันออก ซึ่งเป็นรัฐในหุบเขาไม่ใช่จะกระทำได้โดยง่าย เพราะกว่าจะรวมเมืองแพร่และเมืองน่านสำเร็จก็อยู่ในช่วงอาณาจักรล้านนามี ความเจริญสูงสุดในสมัยพระเจ้าติโลกราช
การสร้างความมั่นคงในเขต ทางตอนบนของอาณาจักรเด่นชัดในสมัยราชวงศ์มังรายตอนต้น ดังปรากฏว่าเมือสิ้นสมัยพระญามังราย พระญาไชยสงครามครองราชย์ต่อมา ได้เสด็จไปประทับที่เมืองเชียงราย ส่วนเมืองเชียงใหม่ให้โอรสครองเมืองลักษณะเช่นนี้มีสืบมาในสมัยพระญาแสนพู และพระญาคำฟู โดยสมัยพระญาแสนพูสร้างเมืองเชียงแสนในบริเวณเมืองเงินยาง การสร้างเมืองเชียงแสนก็เพื่อป้องกันศึกทางด้านเหนือ เพราะเมืองเชียงแสนตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง ใช้แม่น้ำโขงเป็นคูเมืองธรรมชาติ มีตัวเมืองกว้าง 700 วา ยาว 1,500 วา มีป้อมปราการ 8 แห่ง ที่ตั้งเมืองเชียงแสนคุมเส้นทางการคมนาคมเพราะเป็นช่องทางไปสู่เมืองต่าง ๆ เช่น เมืองเชียงตุง เมืองเชียงรุ่ง เมืองนาย เมืองยอง เมืองเชียงแสนจึงเป็นศูนย์กลางของเมืองตอนบน หลังจากสร้างเมืองเชียงแสนแล้ว พระญาแสนพูประทับที่เชียงแสนสืบต่อมาถึงสมัยพระญาคำฟู สถานการณ์ทางการเมืองดีขึ้นเมื่อผนวกพะเยาเข้ากับอาณาจักรล้านนาในสมัยพระญา คำฟู ส่วนเมืองเชียงตุงพระญาผายูสถาปนาอำนาจอันมั่นคง โดยส่งเจ้าราชบุตรเจ็ดพันตูไปปกครองและพระญาผายูสร้างความผูกพันโดยอภิเษก กับธิดาเจ้าเมืองเชียงของ การสร้างความมั่นคงเขตตอนบนมีเสถียรภาพพอสมควร ในสมัยพระญาผายูจึงย้ายมาประทับที่เชียงใหม่ ให้เมืองเชียงราย เชียงแสนเป็นเมืองสำคัญทางตอนบน
ประการที่สอง การปกครองมีโครงสร้างแบ่งเป็น 3 เขต
1. บริเวณเมืองราชธานี ประกอบด้วยเมืองเชียงใหม่และลำพูน เนื่องจากทั้งสองเมืองตั้งอยู่ในแอ่งที่ราบเดียวกันและอยู่ใกล้กัน กษัตริย์จึงปกครองโดยตรง
2. บริเวณเมืองข้าหลวง อยู่ถัดจากเมืองราชธานีออกไป กษัตริย์จะแต่งตั้งข้าหลวงไปปกครอง เจ้าเมืองซึ่งเป็นข้าหลวงนี้ส่วนใหญ่เป็นเชื้อพระวงศ์ ขุนนางที่ไม่ใช่เชื้อพระวงศ์ก็มีบ้าง แต่เป็นส่วนน้อย เมืองสำคัญจะปกครองโดยเจ้าเชื้อพระวงศ์ ที่ใกล้ชิด เช่น เมืองเชียงราย กษัตริย์มักส่งโอรสหรือพระอนุชาไปปกครองเมืองอุปราช เจ้าเมืองมีอำนาจสูงสุดในการจัดการภายในเมืองของตน เช่น การแต่งตั้งขุนนางตำแหน่งต่าง ๆ การจัดตั้งพันนา การค้าภายในเมือง การควบคุมกำลังไพร่ ความสัมพันธ์ระหว่างข้าหลวงและกษัตริย์เป็นเพียงความสัมพันธ์ส่วนบุคคล เมื่อเปลี่ยนรัชกาล ความสัมพันธ์ก็อาจเปลี่ยนไปด้วย
3. บริเวณเมืองประเทศราช เป็นเขตเจ้าต่างชาติต่างภาษา ปกครองตนเองตามประเพณีท้องถิ่น เมืองประเทศราชเป็นรัฐตามชายขอบล้านนา เช่น เมืองเชียงตุง เมืองนาย เมืองยอง เนื่องจากประเทศราชอยู่ห่างไกลจึงผูกพันกับเมืองราชธานีน้อยกว่าเมืองข้า หลวง ครั้นมีโอกาสเมืองประเทศราชมักแยกตนเป็นอิสระหรือไปขึ้นกับรัฐใหญ่อื่น ๆ ความสัมพันธ์ระหว่างเมืองราชธานีกับเมืองประเทศราชเป็นเรื่องส่วนบุคคลที่ อาจอาศัยระบบเครือญาติหรือการเกื้อกูลกัน
ภายใต้การปกครองที่อาศัยความสัมพันธ์ทางเครือญาติของรัฐ โบราณ เจ้าเมืองมักเป็นเชื้อพระวงศ์ที่กษัตริย์ส่งไปปกครองเมืองต่าง ๆ ลักษณะเช่นนี้คลี่คลายมาจากธรรมเนียมการสร้างบ้านแปลงเมือง ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงแรกเมื่อรัฐขยายตัวการปกครองแบบนี้เป็นการรวมตัวอย่าง หลวม ๆ ของเมืองต่าง ๆ ซึ่งเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างของอาณาจักรล้านนา เพราะลักษณะทางกายภาพอาณาจักรล้านนาเป็นรัฐในหุบเขา เมืองต่าง ๆ จะตั้งถิ่นฐานอยู่ตามหุบเขาซึ่งกระจายตัว ดังนั้นรัฐล้านนาจำเป็นต้องสร้างเสถียรภาพตลอดมา โดยให้เมืองต่าง ๆ ที่กระจายตัวตามหุบเขายอมรับอำนาจศูนย์กลาง ความพยายามจะปรับการปกครองรัฐในหุบเขาจากการใช้ระบบข้าหลวงหรือระบบเครือ ญาติ ซึ่งพึ่งพาความสัมพันธ์ส่วนบุคคลไปสู่ระบบข้าราชการที่เป็นสถาบันไม่ประสบ ความสำเร็จในล้านนา ปัญหาโครงสร้างรัฐแบบหลวม ๆ นี้เป็นข้อจำกัดอย่างอย่างหนึ่งที่นำไปสู่ความเสื่อมของอาณาจักรล้านนา
ประการที่สาม การรับวัฒนธรรมความเจริญ จากหริภุญชัย แคว้นหริภุญชัยมีความเจริญรุ่งเรืองในเขตที่ราบลุ่มน้ำปิงมาช้านาน เมื่อพระญามังรายยึดครองหริภุญชัยสำเร็จ ได้นำความเจริญต่าง ๆ มาเป็นพื้นฐานในการพัฒนาต่อไป เชื่อกันว่าอิทธิพลจากหริภุญชัยมีหลายอย่าง เช่น กฎหมายล้านนาอย่างมังรายศาสตร์คงรับความคิดมาจากกฎหมายธรรมศาสตร์ของมอญหริ ภุญชัย อย่างไรก็ตามหลังจากรับมาแล้ว รัฐล้านนาได้พัฒนาต่อไปมากเป็นลักษณะเฉพาะท้องถิ่น โดยเฉพาะตัวอักษรธรรมล้านนา หรือตัวเมืองมีต้นแบบมาจากอักษรมอญโบราณ ส่วนด้านศิลปวัฒนธรรมหริภุญชัยพบว่าได้รับรูปแบบสถาปัตยกรรมเจดีย์ทรงสี่ เหลี่ยม และเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม ซึ่งมักสร้างในสมัยราชวงศ์มังรายตอนต้น เช่น เจดีย์กู่คำ เวียงกุมกามรับอิทธิพลจากกู่กุด
อิทธิพลที่ชัดเจนมาก คือพระพุทธศาสนาของหริภุญชัย เพราะพระพุทธศาสนานิกายเดิมรับจากหริภุญชัยมีบทบาทในล้านนาสูง นับตั้งแต่พระญามังรายยึดครองหริภุญชัย ได้รับพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทหริภุญชัย จนถึงสมัยพระญากือนามีความคิดจะสถาปนานิกายรามัญวงศ์ โดยอาราธนาพระสุมนเถระจากสุโขทัยเข้ามาเผย แพร่พุทธศาสนาในล้านนา และในสมัยพระญาสามฝั่งแกนได้เกิดนิกายสิงหล หรือลังกาวงศ์ใหม่มาจากลักกาอีกระลอกหนึ่ง พระพุทธศาสนาในล้านนาจึงมี 3 นิกายด้วยกัน อย่างไรก็ตามนิกายเดิมหรือนิกายพื้นเมืองที่ปริมาณพระภิกษุมากกว่านิกายอื่น พระพุทธศาสนาแนวหริภุญชัยมีบทบาทในล้านนาอย่างน้อยจนถึงสิ้นราชวงศ์มังราย
2. สมัยอาณาจักรล้านนาเจริญรุ่งเรือง (พ.ศ. 1898 – 2068) ความ เจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรล้านนาพัฒนาการขึ้นอย่างเด่นชัดในราวกลางราชวงศ์ มังราย นับตั้งแต่สมัยพระญากือนา (พ.ศ. 1898 – 1928) เป็นต้นมา และเจริญสูงสุดในสมัยพระเจ้าติโลกราชและพระญาแก้วหรือพระเมืองแก้ว ซึ่งเป็นช่วงยุคทอง หลังจากนั้นอาณาจักรล้านนาก็เสื่อมลง
ตั้งแต่สมัยพระญากือนา กิจการในพุทธศาสนาได้รับการสนับสนุนมาก เห็นได้จากการรับนิกายรามัญจากสุโขทัยเข้ามาเผยแผ่ในล้านนา ทรงสร้างวัดสวนดอกให้เป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนาของเมืองทางตนบน จึงมีพระสงฆ์ชาวล้านนาได้ให้ความสนใจศึกษาพระพุทธศาสนามากขึ้นตามลำดับ ซึ่งนำไปสู่การศึกษาที่ลึกซึ้ง โดยในสมัยพระญาสามฝั่งแกนมีพระสงฆ์กลุ่มหนึ่งไปศึกษาพระพุทธศาสนาในลังกา แล้วกลับมาตั้งนิกายสิงหลหรือลังกาวงศ์ใหม่ มีศูนย์กลางที่วัดป่าแดงในเมืองเชียงใหม่ พระสงฆ์กลุ่มนี้ได้ไปเผยแพร่ศาสนายังเมืองต่าง ๆ ภายในอาณาจักรล้านนา ตลอดจนขยายไปถึงเชียงตุง เชียงรุ่ง สิบสองพันนา
พระสงฆ์ในนิกายรามัญและนิกายสิงหลขัดแย้ง กันในการตีความพระธรรมวินัยหลายอย่าง แต่ก็เป็นแรงผลักดันนำไปสู่การศึกษาค้นคว้า โดยเฉพาะพระสงฆ์ในนิกายสิงหลเน้นการศึกษาภาษาบาลี ทำให้ศึกษาพระธรรมได้ลึกซึ้ง ดังนั้นหลังจากการสถาปนานิกายใหม่แล้ว พระพุทธศาสนาในล้านนาเจริญเติบโตอย่างมาก โดยเฉพาะในสมัยพระเจ้าติโลกราชถึงสมัยพระญาแก้ว ดังปรากฏการสร้างวัดวาอารามทั่วไปในล้านนาและผลจากภิกษุล้านนามีความรู้ความ สามารถสูง จึงเกิดการทำสังคายนาพระไตรปิฎกที่วัดเจ็ดยอด จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2020 สิ่งที่สำคัญในระยะนี้ คือการเขียนคัมภีร์ต่าง ๆ ทางพุทธศาสนา คัมภีร์จากล้านนาได้แพร่หลายไปสู่ดินแดนใกล้เคียง เช่น ล้านช้าง พม่า อยุธยา งานเขียนประวัติศาสตร์นิพนธ์ในล้านนาประเภทตำนาน แพร่หลายตามท้องถิ่นต่าง ๆ โดยอาศัยสำนึกประวัติศาสตร์ที่เป็นจารีตเดิม ประกอบกับได้รับอิทธิพลจากงานเขียนจากสำนักลังกาที่พระสงฆ์นำเข้ามา งานเขียนประวัติศาสตร์สกุลตำนานในยุคนี้มีมากมาย เช่น ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ พื้นเมืองน่าน ตำนานพระธาตุลำปางหลวง ตำนานมูลสาสนา จามเทวีวงศ์ และชินกาลมีปกรณ์ เป็นต้น
ผลงานวรรณกรรมพุทธศาสนาของพระสงฆ์ล้านนา ที่สำคัญได้แก่ พระโพธิรังสี แต่งจามเทวีวงศ์ และสิหิงคนิทาน รัตนปัญญาเถระ แต่งชินกาลมาลีปกรณ์ เป็นงานเขียนที่มีคุณค่าต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ล้านนา พระสิริมังคลาจารย์ แต่งวรรณกรรมหลายเรื่อง เช่น เวสสันดรทีปนี จักรวาลทีปนี สังขยาปกาสกฎีการ และมังคลัตถทีปนี พระพุทธเจ้าและพระพุทธพุกาม แต่งตำนางมูลสาสนา
นอกจากนั้นยังมีปัญญาสชาดก (ชากด 50 เรื่อง) ซึ่งไม่ปรากฏนามผู้แต่ง เข้าใจว่าในสมัยพระญาแก้ว ปัญญาสชาดกเป็นงานวรรณกรรมพุทธศาสนาที่แต่งทำนองเลียนแบบชาดกในพระไตรปิฎก แต่มีเนื้อเรื่องไม่เหมือนกัน เพราะเป็นชาดกนอกไตรปิฎก ปัญญาสชาดกเป็นต้นกำเนิดของวรรณคดีไทยหลายเรื่อง เช่น สมุททโฆสชาดก (นำมาแต่งเป็นสมุทรโฆษคำฉันท์) สุธนชาดำ (นำมาแต่งเป็นบทละครเรื่องมโนราห์) ปัญญาสชาดกแพร่หลายมากไปถึงพม่า มีการแปลเป็นภาษาพม่าในสมัยพระเจ้าโพธพระยา เมื่อ พ.ศ. 2224 พ ม่าเรียกปัญญา สชาดกว่า ซิมแม่ปัณณาสชาดก (เชียงใหม่ปัณณาสชาดก)
ในช่วงสมัยรุ่งเรืองนี้พระพุทธศาสนาเจริญ ยิ่งดังปรากฏการสร้างวัดแพร่หลายทั่วไปในดินแดนล้านนา ตามหมู่บ้านต่าง ๆ ได้สร้างวัดเป็นศูนย์กลางชุมชน และตามเมืองมีวัดหนาแน่ดังพบว่า เขตเมืองเชียงใหม่มีวัดนับร้อยแห่ง ปริมาณวัดที่มากมายในยุครุ่งเรืองนั้นมีร่องรอยปรากฏเป็นวัดร้างมากมายใน ปัจจุบัน ความเจริญในพุทธศาสนายังได้สร้างถาวรวัตถุในพุทธศาสนา ซึ่งมีคุณค่าทางศิลปวัฒนธรรมล้านน้า วัดสำคัญ ได้แก่ วัดเจ็ดยอด วัดเจดีย์หลวง วัดพระสิงห์ วัดสวนดอก วัดบุพพาราม เป็นต้น การสร้างวัดมากมายนอกจากแสดงความเจริญในพระพุทธศาสนาแล้ว ยังสะท้อนความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของล้านนาในยุครุ่งเรืองด้วย
ในยุคเศรษฐกิจรุ่งเรือง ล้านนามีความมั่งคั่งด้วยความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ มีพัฒนาการร่วมไปกับความเจริญรุ่งเรืองโดยรวมของรัฐ เพราะพบว่านับตั้งแต่สมัยพระญากือนาเป็นต้นมา การค้าระหว่างรัฐมีเครือข่ายก้าวขวางไปไกล ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ได้ สะท้อนการค้าว่ามีหมู่พ่อค้าเมืองเชียงใหม่ไปค้าขายถึงเมืองพุกาม ในยุคนั้นเมืองเชียงใหม่มีฐานะเป็นศูนย์กลางการค้าสำคัญ เพราะตำแหน่งที่ตั้งเมืองนั้นคุมเส้นทางการค้า คือ เมืองต่าง ๆ ที่อยู่ตอนบนขึ้นไป เช่น รัฐฉาน สิบสองพันนา เชียงแสนจะนำสินค้าผ่านสู่เมืองเชียงใหม่แล้วจึงผ่านไปเมื่ออื่น ๆ ที่อยู่ทางใต้และทางตะวันตก ดังนั้น จึงพบหลักฐานกล่าวถึงพ่อค้าจากทุกทิศมาค้าขายที่เชียงใหม่มีทั้งเงี้ยว ม่าน เม็ง ไทย ฮ่อ กุลา เมืองเชียงใหม่คงมีผลประโยชน์จากการเก็บภาษีสินค้าสูงทีเดียว สินค้าออกเชียงใหม่สู่ตลาดนานาชาติคือของป่า เมืองเชียงใหม่ทำหน้าที่รวบรวมสินค้าของป่าจากเมืองต่าง ๆ ทางตนบนแล้วส่งไปขายยังเมืองท่าทางตอนล่างในดินแดนกรุงศรีอยุธยาและหัวเมือง มอญ กษัตริย์มีบทบาทในการค้าของป่า โดยอาศัยการเก็บส่วยจากไพร่และให้เจ้าเมืองต่าง ๆ ในอาณาจักรส่งส่วนให้ราชธานี ด้วยพระราชอำนาจจึงออกกฎหมายบังคับให้ทุกคนในอาณาจักรนำส่วยสินค้าของป่ามา ถวาย รูปแบบการค้าของป่า คือกษัตริย์จะส่งข้าหลวงกำลับดูแลสินค้าชนิดต่าง ๆ เพราะพบตำแหน่งแสนน้ำผึ้ง ข้าหลวงดูแลการค้าส่วยน้ำผึ้ง และมีพ่อค้าจากอยุธยาเดินทางเข้าซื้อสินค้าในเมืองฮอด
ในยุคที่อาณาจักรล้านนาเจริญรุ่งเรือง รัฐมีความเจริญทางการค้ามากและสภาพเศรษฐกิจดี จึงมีกองกำลังเข้มแข็งดังพบว่า ในยุคนี้อาณาจักรล้านนามีอำนาจสูงได้แผ่อิทธิพลออกไปอย่างกว้างขวาง เช่น เมืองเชียงตุง เมืองเชียงรุ่ง เมืองยอง เมืองนาย เมืองน่าน และยังขยายอำนาจลงสู่ชายขอบรัฐอยุธยา ดังทำสงครามติดต่อกันหลายปีระหว่างพระเจ้าติโลกราชและพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งในครั้งนั้นทัพล้านนาสามารถยึดครองเมืองศรีสัชนาลัยได้
3. สมัยเสื่อและอาณาจักรล้านนาล่มสลาย (พ.ศ. 2068 – 2101) ความ เสื่อของอาณาจักรล้านนาเกิดขึ้นในช่วงปลายสมัยราชวงศ์มังราย นับตั้งแต่พระญาเกศเชษฐาราชขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2068 จนกระทั่งตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าใน พ.ศ. 2101 ข่วงเวลา 33 ปี ในช่วงเวลานั้นมีระยะหนึ่งที่ว่างเว้นไม่มีกษัตริย์ปกครองถึง 4 ปี (พ.ศ. 2091 – 2094) เพราะขุนนางขัดแย้งกันตกลงกันไม่ได้ว่าจะให้ใครเป็นกษัตริย์ กษัตริย์สมัยเสื่อจะครองเมืองระยะสั้น ๆ การสิ้นรัชสมัยของกษัตริย์เกิดจากขุนนางจัดการปลงพระชนม์ หรือขุนนางปลดกษัตริย์ หรือกษัตริย์สละราชสมบัติ
ประการแรก การขยายอาณาเขตและสร้างความมั่นคงในอาณาจักร ในสมัยพระญามังรายได้ผนวกเขลางคนครเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักร เนื่องจากเขลางคนครมีความสัมพันธ์กับเมืองหริภุญชัยในฐานะบ้านพี่เมืองน้อง เมื่อยึดครองหริภุญชัยสำเร็จก็จำเป็นต้องรุกคืบต่อไปยังเขลางคนคร หลังจากนั้นความคิดขยายอาณาเขตไปยังทางด้านตะวันออกสู่เมืองพะเยาซึ่งเกิด ขึ้นในสมัยพระญามังรายแล้ว แต่ติดขัดที่เป็นพระสหายกับพระญางำเมือง เมืองพะเยาและเชียงใหม่มีความสัมพันธ์ฐานะเครือญาติในวงศ์ลวจังกราช เมืองพะเยาซึ่งเป็นรัฐเล็ก ต่อมาจึงถูกยึดครองสำเร็จในสมัยพระญาคำฟู (พ.ศ. 1877 – 1879) การยึดครองพะเยาได้เป็นผลดีต่ออาณาจักรล้านนาเพราะนอกจากเมืองเชียงรายจะ ปลอดภัยจากพะเยาแล้ว เมืองพะเยายังเป็นฐานกาลังขยายไปสู่เมืองแพร่และเมืองน่านต่อไป ความคิดขยายอำนาจสู่เมืองแพร่มีในสมัยพระญาคำฟูแต่ไม่ประสบความสำเร็จ แสดงให้เห็นว่าการรวมหัวเมืองล้านนาตะวันออก ซึ่งเป็นรัฐในหุบเขาไม่ใช่จะกระทำได้โดยง่าย เพราะกว่าจะรวมเมืองแพร่และเมืองน่านสำเร็จก็อยู่ในช่วงอาณาจักรล้านนามี ความเจริญสูงสุดในสมัยพระเจ้าติโลกราช
การสร้างความมั่นคงในเขต ทางตอนบนของอาณาจักรเด่นชัดในสมัยราชวงศ์มังรายตอนต้น ดังปรากฏว่าเมือสิ้นสมัยพระญามังราย พระญาไชยสงครามครองราชย์ต่อมา ได้เสด็จไปประทับที่เมืองเชียงราย ส่วนเมืองเชียงใหม่ให้โอรสครองเมืองลักษณะเช่นนี้มีสืบมาในสมัยพระญาแสนพู และพระญาคำฟู โดยสมัยพระญาแสนพูสร้างเมืองเชียงแสนในบริเวณเมืองเงินยาง การสร้างเมืองเชียงแสนก็เพื่อป้องกันศึกทางด้านเหนือ เพราะเมืองเชียงแสนตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง ใช้แม่น้ำโขงเป็นคูเมืองธรรมชาติ มีตัวเมืองกว้าง 700 วา ยาว 1,500 วา มีป้อมปราการ 8 แห่ง ที่ตั้งเมืองเชียงแสนคุมเส้นทางการคมนาคมเพราะเป็นช่องทางไปสู่เมืองต่าง ๆ เช่น เมืองเชียงตุง เมืองเชียงรุ่ง เมืองนาย เมืองยอง เมืองเชียงแสนจึงเป็นศูนย์กลางของเมืองตอนบน หลังจากสร้างเมืองเชียงแสนแล้ว พระญาแสนพูประทับที่เชียงแสนสืบต่อมาถึงสมัยพระญาคำฟู สถานการณ์ทางการเมืองดีขึ้นเมื่อผนวกพะเยาเข้ากับอาณาจักรล้านนาในสมัยพระญา คำฟู ส่วนเมืองเชียงตุงพระญาผายูสถาปนาอำนาจอันมั่นคง โดยส่งเจ้าราชบุตรเจ็ดพันตูไปปกครองและพระญาผายูสร้างความผูกพันโดยอภิเษก กับธิดาเจ้าเมืองเชียงของ การสร้างความมั่นคงเขตตอนบนมีเสถียรภาพพอสมควร ในสมัยพระญาผายูจึงย้ายมาประทับที่เชียงใหม่ ให้เมืองเชียงราย เชียงแสนเป็นเมืองสำคัญทางตอนบน
ประการที่สอง การปกครองมีโครงสร้างแบ่งเป็น 3 เขต
1. บริเวณเมืองราชธานี ประกอบด้วยเมืองเชียงใหม่และลำพูน เนื่องจากทั้งสองเมืองตั้งอยู่ในแอ่งที่ราบเดียวกันและอยู่ใกล้กัน กษัตริย์จึงปกครองโดยตรง
2. บริเวณเมืองข้าหลวง อยู่ถัดจากเมืองราชธานีออกไป กษัตริย์จะแต่งตั้งข้าหลวงไปปกครอง เจ้าเมืองซึ่งเป็นข้าหลวงนี้ส่วนใหญ่เป็นเชื้อพระวงศ์ ขุนนางที่ไม่ใช่เชื้อพระวงศ์ก็มีบ้าง แต่เป็นส่วนน้อย เมืองสำคัญจะปกครองโดยเจ้าเชื้อพระวงศ์ ที่ใกล้ชิด เช่น เมืองเชียงราย กษัตริย์มักส่งโอรสหรือพระอนุชาไปปกครองเมืองอุปราช เจ้าเมืองมีอำนาจสูงสุดในการจัดการภายในเมืองของตน เช่น การแต่งตั้งขุนนางตำแหน่งต่าง ๆ การจัดตั้งพันนา การค้าภายในเมือง การควบคุมกำลังไพร่ ความสัมพันธ์ระหว่างข้าหลวงและกษัตริย์เป็นเพียงความสัมพันธ์ส่วนบุคคล เมื่อเปลี่ยนรัชกาล ความสัมพันธ์ก็อาจเปลี่ยนไปด้วย
3. บริเวณเมืองประเทศราช เป็นเขตเจ้าต่างชาติต่างภาษา ปกครองตนเองตามประเพณีท้องถิ่น เมืองประเทศราชเป็นรัฐตามชายขอบล้านนา เช่น เมืองเชียงตุง เมืองนาย เมืองยอง เนื่องจากประเทศราชอยู่ห่างไกลจึงผูกพันกับเมืองราชธานีน้อยกว่าเมืองข้า หลวง ครั้นมีโอกาสเมืองประเทศราชมักแยกตนเป็นอิสระหรือไปขึ้นกับรัฐใหญ่อื่น ๆ ความสัมพันธ์ระหว่างเมืองราชธานีกับเมืองประเทศราชเป็นเรื่องส่วนบุคคลที่ อาจอาศัยระบบเครือญาติหรือการเกื้อกูลกัน
ภายใต้การปกครองที่อาศัยความสัมพันธ์ทางเครือญาติของรัฐ โบราณ เจ้าเมืองมักเป็นเชื้อพระวงศ์ที่กษัตริย์ส่งไปปกครองเมืองต่าง ๆ ลักษณะเช่นนี้คลี่คลายมาจากธรรมเนียมการสร้างบ้านแปลงเมือง ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงแรกเมื่อรัฐขยายตัวการปกครองแบบนี้เป็นการรวมตัวอย่าง หลวม ๆ ของเมืองต่าง ๆ ซึ่งเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างของอาณาจักรล้านนา เพราะลักษณะทางกายภาพอาณาจักรล้านนาเป็นรัฐในหุบเขา เมืองต่าง ๆ จะตั้งถิ่นฐานอยู่ตามหุบเขาซึ่งกระจายตัว ดังนั้นรัฐล้านนาจำเป็นต้องสร้างเสถียรภาพตลอดมา โดยให้เมืองต่าง ๆ ที่กระจายตัวตามหุบเขายอมรับอำนาจศูนย์กลาง ความพยายามจะปรับการปกครองรัฐในหุบเขาจากการใช้ระบบข้าหลวงหรือระบบเครือ ญาติ ซึ่งพึ่งพาความสัมพันธ์ส่วนบุคคลไปสู่ระบบข้าราชการที่เป็นสถาบันไม่ประสบ ความสำเร็จในล้านนา ปัญหาโครงสร้างรัฐแบบหลวม ๆ นี้เป็นข้อจำกัดอย่างอย่างหนึ่งที่นำไปสู่ความเสื่อมของอาณาจักรล้านนา
ประการที่สาม การรับวัฒนธรรมความเจริญ จากหริภุญชัย แคว้นหริภุญชัยมีความเจริญรุ่งเรืองในเขตที่ราบลุ่มน้ำปิงมาช้านาน เมื่อพระญามังรายยึดครองหริภุญชัยสำเร็จ ได้นำความเจริญต่าง ๆ มาเป็นพื้นฐานในการพัฒนาต่อไป เชื่อกันว่าอิทธิพลจากหริภุญชัยมีหลายอย่าง เช่น กฎหมายล้านนาอย่างมังรายศาสตร์คงรับความคิดมาจากกฎหมายธรรมศาสตร์ของมอญหริ ภุญชัย อย่างไรก็ตามหลังจากรับมาแล้ว รัฐล้านนาได้พัฒนาต่อไปมากเป็นลักษณะเฉพาะท้องถิ่น โดยเฉพาะตัวอักษรธรรมล้านนา หรือตัวเมืองมีต้นแบบมาจากอักษรมอญโบราณ ส่วนด้านศิลปวัฒนธรรมหริภุญชัยพบว่าได้รับรูปแบบสถาปัตยกรรมเจดีย์ทรงสี่ เหลี่ยม และเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม ซึ่งมักสร้างในสมัยราชวงศ์มังรายตอนต้น เช่น เจดีย์กู่คำ เวียงกุมกามรับอิทธิพลจากกู่กุด
อิทธิพลที่ชัดเจนมาก คือพระพุทธศาสนาของหริภุญชัย เพราะพระพุทธศาสนานิกายเดิมรับจากหริภุญชัยมีบทบาทในล้านนาสูง นับตั้งแต่พระญามังรายยึดครองหริภุญชัย ได้รับพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทหริภุญชัย จนถึงสมัยพระญากือนามีความคิดจะสถาปนานิกายรามัญวงศ์ โดยอาราธนาพระสุมนเถระจากสุโขทัยเข้ามาเผย แพร่พุทธศาสนาในล้านนา และในสมัยพระญาสามฝั่งแกนได้เกิดนิกายสิงหล หรือลังกาวงศ์ใหม่มาจากลักกาอีกระลอกหนึ่ง พระพุทธศาสนาในล้านนาจึงมี 3 นิกายด้วยกัน อย่างไรก็ตามนิกายเดิมหรือนิกายพื้นเมืองที่ปริมาณพระภิกษุมากกว่านิกายอื่น พระพุทธศาสนาแนวหริภุญชัยมีบทบาทในล้านนาอย่างน้อยจนถึงสิ้นราชวงศ์มังราย
2. สมัยอาณาจักรล้านนาเจริญรุ่งเรือง (พ.ศ. 1898 – 2068) ความ เจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรล้านนาพัฒนาการขึ้นอย่างเด่นชัดในราวกลางราชวงศ์ มังราย นับตั้งแต่สมัยพระญากือนา (พ.ศ. 1898 – 1928) เป็นต้นมา และเจริญสูงสุดในสมัยพระเจ้าติโลกราชและพระญาแก้วหรือพระเมืองแก้ว ซึ่งเป็นช่วงยุคทอง หลังจากนั้นอาณาจักรล้านนาก็เสื่อมลง
ตั้งแต่สมัยพระญากือนา กิจการในพุทธศาสนาได้รับการสนับสนุนมาก เห็นได้จากการรับนิกายรามัญจากสุโขทัยเข้ามาเผยแผ่ในล้านนา ทรงสร้างวัดสวนดอกให้เป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนาของเมืองทางตนบน จึงมีพระสงฆ์ชาวล้านนาได้ให้ความสนใจศึกษาพระพุทธศาสนามากขึ้นตามลำดับ ซึ่งนำไปสู่การศึกษาที่ลึกซึ้ง โดยในสมัยพระญาสามฝั่งแกนมีพระสงฆ์กลุ่มหนึ่งไปศึกษาพระพุทธศาสนาในลังกา แล้วกลับมาตั้งนิกายสิงหลหรือลังกาวงศ์ใหม่ มีศูนย์กลางที่วัดป่าแดงในเมืองเชียงใหม่ พระสงฆ์กลุ่มนี้ได้ไปเผยแพร่ศาสนายังเมืองต่าง ๆ ภายในอาณาจักรล้านนา ตลอดจนขยายไปถึงเชียงตุง เชียงรุ่ง สิบสองพันนา
พระสงฆ์ในนิกายรามัญและนิกายสิงหลขัดแย้ง กันในการตีความพระธรรมวินัยหลายอย่าง แต่ก็เป็นแรงผลักดันนำไปสู่การศึกษาค้นคว้า โดยเฉพาะพระสงฆ์ในนิกายสิงหลเน้นการศึกษาภาษาบาลี ทำให้ศึกษาพระธรรมได้ลึกซึ้ง ดังนั้นหลังจากการสถาปนานิกายใหม่แล้ว พระพุทธศาสนาในล้านนาเจริญเติบโตอย่างมาก โดยเฉพาะในสมัยพระเจ้าติโลกราชถึงสมัยพระญาแก้ว ดังปรากฏการสร้างวัดวาอารามทั่วไปในล้านนาและผลจากภิกษุล้านนามีความรู้ความ สามารถสูง จึงเกิดการทำสังคายนาพระไตรปิฎกที่วัดเจ็ดยอด จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2020 สิ่งที่สำคัญในระยะนี้ คือการเขียนคัมภีร์ต่าง ๆ ทางพุทธศาสนา คัมภีร์จากล้านนาได้แพร่หลายไปสู่ดินแดนใกล้เคียง เช่น ล้านช้าง พม่า อยุธยา งานเขียนประวัติศาสตร์นิพนธ์ในล้านนาประเภทตำนาน แพร่หลายตามท้องถิ่นต่าง ๆ โดยอาศัยสำนึกประวัติศาสตร์ที่เป็นจารีตเดิม ประกอบกับได้รับอิทธิพลจากงานเขียนจากสำนักลังกาที่พระสงฆ์นำเข้ามา งานเขียนประวัติศาสตร์สกุลตำนานในยุคนี้มีมากมาย เช่น ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ พื้นเมืองน่าน ตำนานพระธาตุลำปางหลวง ตำนานมูลสาสนา จามเทวีวงศ์ และชินกาลมีปกรณ์ เป็นต้น
ผลงานวรรณกรรมพุทธศาสนาของพระสงฆ์ล้านนา ที่สำคัญได้แก่ พระโพธิรังสี แต่งจามเทวีวงศ์ และสิหิงคนิทาน รัตนปัญญาเถระ แต่งชินกาลมาลีปกรณ์ เป็นงานเขียนที่มีคุณค่าต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ล้านนา พระสิริมังคลาจารย์ แต่งวรรณกรรมหลายเรื่อง เช่น เวสสันดรทีปนี จักรวาลทีปนี สังขยาปกาสกฎีการ และมังคลัตถทีปนี พระพุทธเจ้าและพระพุทธพุกาม แต่งตำนางมูลสาสนา
นอกจากนั้นยังมีปัญญาสชาดก (ชากด 50 เรื่อง) ซึ่งไม่ปรากฏนามผู้แต่ง เข้าใจว่าในสมัยพระญาแก้ว ปัญญาสชาดกเป็นงานวรรณกรรมพุทธศาสนาที่แต่งทำนองเลียนแบบชาดกในพระไตรปิฎก แต่มีเนื้อเรื่องไม่เหมือนกัน เพราะเป็นชาดกนอกไตรปิฎก ปัญญาสชาดกเป็นต้นกำเนิดของวรรณคดีไทยหลายเรื่อง เช่น สมุททโฆสชาดก (นำมาแต่งเป็นสมุทรโฆษคำฉันท์) สุธนชาดำ (นำมาแต่งเป็นบทละครเรื่องมโนราห์) ปัญญาสชาดกแพร่หลายมากไปถึงพม่า มีการแปลเป็นภาษาพม่าในสมัยพระเจ้าโพธพระยา เมื่อ พ.ศ. 2224 พ ม่าเรียกปัญญา สชาดกว่า ซิมแม่ปัณณาสชาดก (เชียงใหม่ปัณณาสชาดก)
ในช่วงสมัยรุ่งเรืองนี้พระพุทธศาสนาเจริญ ยิ่งดังปรากฏการสร้างวัดแพร่หลายทั่วไปในดินแดนล้านนา ตามหมู่บ้านต่าง ๆ ได้สร้างวัดเป็นศูนย์กลางชุมชน และตามเมืองมีวัดหนาแน่ดังพบว่า เขตเมืองเชียงใหม่มีวัดนับร้อยแห่ง ปริมาณวัดที่มากมายในยุครุ่งเรืองนั้นมีร่องรอยปรากฏเป็นวัดร้างมากมายใน ปัจจุบัน ความเจริญในพุทธศาสนายังได้สร้างถาวรวัตถุในพุทธศาสนา ซึ่งมีคุณค่าทางศิลปวัฒนธรรมล้านน้า วัดสำคัญ ได้แก่ วัดเจ็ดยอด วัดเจดีย์หลวง วัดพระสิงห์ วัดสวนดอก วัดบุพพาราม เป็นต้น การสร้างวัดมากมายนอกจากแสดงความเจริญในพระพุทธศาสนาแล้ว ยังสะท้อนความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของล้านนาในยุครุ่งเรืองด้วย
ในยุคเศรษฐกิจรุ่งเรือง ล้านนามีความมั่งคั่งด้วยความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ มีพัฒนาการร่วมไปกับความเจริญรุ่งเรืองโดยรวมของรัฐ เพราะพบว่านับตั้งแต่สมัยพระญากือนาเป็นต้นมา การค้าระหว่างรัฐมีเครือข่ายก้าวขวางไปไกล ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ได้ สะท้อนการค้าว่ามีหมู่พ่อค้าเมืองเชียงใหม่ไปค้าขายถึงเมืองพุกาม ในยุคนั้นเมืองเชียงใหม่มีฐานะเป็นศูนย์กลางการค้าสำคัญ เพราะตำแหน่งที่ตั้งเมืองนั้นคุมเส้นทางการค้า คือ เมืองต่าง ๆ ที่อยู่ตอนบนขึ้นไป เช่น รัฐฉาน สิบสองพันนา เชียงแสนจะนำสินค้าผ่านสู่เมืองเชียงใหม่แล้วจึงผ่านไปเมื่ออื่น ๆ ที่อยู่ทางใต้และทางตะวันตก ดังนั้น จึงพบหลักฐานกล่าวถึงพ่อค้าจากทุกทิศมาค้าขายที่เชียงใหม่มีทั้งเงี้ยว ม่าน เม็ง ไทย ฮ่อ กุลา เมืองเชียงใหม่คงมีผลประโยชน์จากการเก็บภาษีสินค้าสูงทีเดียว สินค้าออกเชียงใหม่สู่ตลาดนานาชาติคือของป่า เมืองเชียงใหม่ทำหน้าที่รวบรวมสินค้าของป่าจากเมืองต่าง ๆ ทางตนบนแล้วส่งไปขายยังเมืองท่าทางตอนล่างในดินแดนกรุงศรีอยุธยาและหัวเมือง มอญ กษัตริย์มีบทบาทในการค้าของป่า โดยอาศัยการเก็บส่วยจากไพร่และให้เจ้าเมืองต่าง ๆ ในอาณาจักรส่งส่วนให้ราชธานี ด้วยพระราชอำนาจจึงออกกฎหมายบังคับให้ทุกคนในอาณาจักรนำส่วยสินค้าของป่ามา ถวาย รูปแบบการค้าของป่า คือกษัตริย์จะส่งข้าหลวงกำลับดูแลสินค้าชนิดต่าง ๆ เพราะพบตำแหน่งแสนน้ำผึ้ง ข้าหลวงดูแลการค้าส่วยน้ำผึ้ง และมีพ่อค้าจากอยุธยาเดินทางเข้าซื้อสินค้าในเมืองฮอด
ในยุคที่อาณาจักรล้านนาเจริญรุ่งเรือง รัฐมีความเจริญทางการค้ามากและสภาพเศรษฐกิจดี จึงมีกองกำลังเข้มแข็งดังพบว่า ในยุคนี้อาณาจักรล้านนามีอำนาจสูงได้แผ่อิทธิพลออกไปอย่างกว้างขวาง เช่น เมืองเชียงตุง เมืองเชียงรุ่ง เมืองยอง เมืองนาย เมืองน่าน และยังขยายอำนาจลงสู่ชายขอบรัฐอยุธยา ดังทำสงครามติดต่อกันหลายปีระหว่างพระเจ้าติโลกราชและพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งในครั้งนั้นทัพล้านนาสามารถยึดครองเมืองศรีสัชนาลัยได้
3. สมัยเสื่อและอาณาจักรล้านนาล่มสลาย (พ.ศ. 2068 – 2101) ความ เสื่อของอาณาจักรล้านนาเกิดขึ้นในช่วงปลายสมัยราชวงศ์มังราย นับตั้งแต่พระญาเกศเชษฐาราชขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2068 จนกระทั่งตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าใน พ.ศ. 2101 ข่วงเวลา 33 ปี ในช่วงเวลานั้นมีระยะหนึ่งที่ว่างเว้นไม่มีกษัตริย์ปกครองถึง 4 ปี (พ.ศ. 2091 – 2094) เพราะขุนนางขัดแย้งกันตกลงกันไม่ได้ว่าจะให้ใครเป็นกษัตริย์ กษัตริย์สมัยเสื่อจะครองเมืองระยะสั้น ๆ การสิ้นรัชสมัยของกษัตริย์เกิดจากขุนนางจัดการปลงพระชนม์ หรือขุนนางปลดกษัตริย์ หรือกษัตริย์สละราชสมบัติ
ปัจจัยความเสื่อมสลาย เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างของรัฐในหุบเขา ที่ทำให้เมืองต่าง ๆ ในอาณาจักรมีโอกาสแยกตัวเป็นอิสระ เมืองราชธานีจึงพยายามสร้างเสถียรภาพให้ศูนย์กลางมีความเข้มแข็งตลอดมา โดยกษัตริย์อาศัยการสร้างสายสัมพันธ์กับเจ้าเมืองต่าง ๆ ในระบบเครือญาติ ซึ่งระบบนี้ใช้ได้ในระยะแรก ในที่สุดเมื่อรัฐขยายขึ้นจำเป็นต้องสร้างระบบราชการที่มีประสิทธิภาพแทนที่ ระบบเครือญาติ อาณาจักรล้านนาสถาปนาระบบราชการไม่ได้ รัฐจึงอ่อนแอและเสื่อมสลายลง ในช่วงนี้สถาบันกษัตริย์อ่อนแอลง ขุนนางมีอำนาจเพิ่มพูน นอกจากนั้นขุนนางยังขัดแย้งกัน โดยแบ่งเป็นสองกลุ่ม คือขุนนางเมืองราชธานีและขุนนางหัวเมือง แย่งชิงความเป็นใหญ่ ต่างสนับสนุนคนของตนเป็นกษัตริย์ ปัญหาการเมืองภายในล้านนาที่แตกแยกอ่อนแอมีผลต่อเศรษฐกิจ เพราะช่วงนั้นเศรษฐกิจตกต่ำมาก ความเสื่อภายในล้านนาเป็นปัญหาพื้นฐานสำคัญ และมีปัจจัยภายนอกคือการขยายอำนาจของราชวงศ์ตองอูเป็นตัวเร่งให้อาณาจักร ล้านนาล่มสลายลง ในพ.ศ. 2101
ที่มา:
เว็บไซต์ล้านนาคดี http://lanna.mju.ac.th/ มหาวิทยาลัยแม่โจ้