วัฒนธรรมประเพณีล้านนา
-
วันดีวันเสีย ตำราล้านนาโบราณ
ตำราปื้นเมืองโบราณ ตำราโบราณเกี่ยวกับ วันดี-วันเสีย ในการทำการมงคล เพื่อให้เป็นแนวทางในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ -
ประเพณีบูชาอินทขิล ใส่ขันดอก
พิธีบูชาเสาอินทขิลหรือเสาหลักเมือง ซึ่งชาวเชียงใหม่เชื่อว่าเป็นเสาหลักที่สร้างความมั่นคง การอยู่ดีมีสุขให้คนเชียงใหม่ อินทขิลหรือเรียกว่า เสาหลักเมืองเชียงใหม่ -
ประเพณีเดินขึ้นดอยสุเทพในวันวิสาขบูชา
ชาวล้านนาโดยเฉพาะชาวเชียงใหม่นั้น มีความผูกพันกับพระศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ศูนย์รวมแห่งพลังศรัทธาทั้งมวลนั้นแห่งหนึ่ง คือ พระธาตุดอยสุเทพ -
กลองปู่จา คุณค่าแห่งความเอื้ออาทร
ซังข้าวที่เหลือจากการเก็บเกี่ยวข้าวนาปี ชาวนาจะตัดให้สั้นถึงพื้นดิน นำมาปูบนผืนนาให้เต็มเพื่อเผาเป็นปุ๋ย ก่อนการใส่ถั่วเหลืองครั้งใหม่ อากาศเย็น ท้องฟ้าสลัวด้วยหมอกควันจาก ไฟฟางที่ไหม้แล้ว -
กินอ้อ พิธีกรรมตอกย้ำความมั่นใจ
เสียงลำนำขับขานซอจากสาวบัวซอน จ้างซอเสียงใส และอ้ายบุญยืน จ้างซอหนุ่มขวัญใจสาวแก่แม่ม่าย ในงานปอยหลวง งานบุญใหญ่ของหมู่บ้าน ผาม (ปะรำ) ที่ทำจากฝีมือหนุ่มสาวถูกสร้างขึ้นมาอย่างง่าย ๆ -
เรื่องของขวัญ
ขวัญเป็นความเชื่อของชาวล้านนาว่าสรรพสิ่งทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นคนพืช สัตว์หรือสิ่งของต่างมีขวัญทั้งสิ้น ขวัญเป็นพลังของชีวิตเปรียบเสมือนเป็นแก่นหรือแกนกลางของชีวิตถ้าหากขวัญหายหรือเสียขวัญไปจะทำให้เสียสมดุลต่างๆ -
ปูจาต้าวตั้งสี่ ประเพณีการนับถือเทพยดา
เสียงพ่อหนานเมืองแก้ว ปู่อาจารย์แห่งบ้านหนองเมา กำลังร่ายคาถาจากปั๊บหนังสา(สมุดข่อย) เพื่อขอ เทพยดาอารักษ์ที่ตนนับถือ อำนวยอวยพรสิ่งดี ๆ ให้เจ้าบ้านผู้ที่กำลังนั่งพนมมือ ให้อยู่เย็นเป็นสุข -
-
สู่ขวัญควาย
ควาย เป็นสัตว์เลี้ยงที่อยู่คู่ชาวไร่ชาวนามาช้านานตั้งแต่อดีตกาล เป็นสัตว์ให้คุณเป็นกำลังหลัก ของชาวนาในการปลูกข้าวเลี้ยงผู้คนมาโดยตลอด ปัจจุบันควายถูกใช้งานน้อยลงเพราะวิถีชีวิตเกษตรกร -
ตานหลัวพระเจ้า
ค่ำคืนนี้ท้องฟ้าแจ่มใส ไร้เมฆหมอกใด ๆ มาบดบัง พระจันทร์ดวงโต โดดเด่นอยู่เพียงลำพัง ส่องฉายรัศมีปกคลุมไปทั่วแผ่นน้ำแม่วัง แสงไฟอื่นใดดูด้อยค่าไปถนัดตา -
ตานแทน-ตานใช้ ความยิ่งใหญ่ในการชดใช้หนี้กรรม
เดินทางจากในเมืองลำปางไปตามถนนลำปาง-งาว ประมาณ 20 กิโลเมตร จะมองเห็นซุ้ม ประตูใหญ่และสวยงามของวัดพระธาตุเสด็จ อยู่ฝั่งซ้ายมือของถนน เลี้ยวเข้าไปตามถนนเลียบวัด -
ฟ้อนผี ประเพณีการนับถือบรรพบุรุษ
วิถีชีวิตชาวชนบทล้านนาในอดีต ผูกพันเชื่อมโยงกับธรรมชาติในทุกขั้นตอนของการดำเนินชีวิต ผู้คนมีความเชื่อและวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องจิตวิญญาณ ว่าเป็นอำนาจเหนือธรรมชาติ เป็นพลัง -
ผีขุนน้ำ วิถีการอนุรักษ์น้ำ
ชาวชนบทล้านนามีความผูกพันกับวิถีชีวิตเกษตรมาโดยตลอดปัจจัยสำคัญที่ทำให้การเกษตรดำรงอยู่ได้คือ น้ำ และมีความเชื่อว่าน้ำจะอุดมสมบูรณ์มีมากน้อยหรือฝนตกต้องตามฤดูกาลหรือไม่นั้น -
สืบจาต๋า พิธีกรรมต่ออายุให้ยืนยาว
ชีวิตคนเราต่างมีแนวทางหรือดำเนินไป ไม่ว่าจะเป็นดี ชั่ว สุข หรือทุกข์ สิ่งเหล่านี้ถูกเรียกว่า จาต๋า (ชะตา) ชีวิต บางช่วงของชีวิตอาจมีชะตาดี ความสำเร็จทุกอย่างที่เข้ามาดูเหมือนง่ายไปหมด -
แฮกนา พันธสัญญาทางใจสู่ความสำเร็จ
วิธีคิดและความเชื่อของคนในสังคมถูกสั่งสมถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง พิธีกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นถูกเชื่อมโยงสู่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตนนับถือ ผู้คนชาวชนบทล้านนามีความเชื่อในเรื่องจิตวิญญาณที่มีในทุกสรรพสิ่ง -
-
ตานขันข้าว ประเพณีแห่งความกตัญญู
"ยะถา สัพพีติโย...อายุ วัณโณ สุขัง พลัง" เสียงพระสงฆ์กล่าวให้พรศรัทธา ญาติโยมที่ต่างพากันหิ้วปิ่นโตเถาใหญ่ พร้อมจูงลูกหลานไปทำบุญวันนี้ ด้วยจิตใจที่เบิกบานในเทศกาลวันออกพรรษา ณ วัดในหมู่บ้าน -
โคมลอย ลอยล่องส่งเคราะห์
เสียงเจี๊ยวจ๊าวของเด็กเล็กที่วิ่งไล่กันใต้ต้นจำปีใหญ่ในวัดประจำหมู่บ้าน ขณะนี้วัดที่เคยสงบเงียบกลับอึกทึกครึกโครมไปด้วยเสียง ทั้งจากเครื่องเสียงที่มีปู่อาจารย์หนานแก้ว -
ประเพณีปี๋ใหม่เมือง
ชาวล้านนาถือเอาเดือนเมษายน หรือเดือน 7 เหนือ เป็นเดือนเปลี่ยนศักราชใหม่ เรียกกันว่า ปี๋ใหม่ ประเพณีวันขึ้นปีใหม่ของชาวล้านนา มีความแตกต่างจากสงกรานต์ของชาวไทยภาคกลาง ทั้งระยะเวลา กิจกรรม ความเชื่อ และความมุ่งหมาย -
ประเพณีปอยหลวง
คำว่า ปอยหลวง เป็นการนำเอาคำสองคำที่มีความหมายแตกต่างกันมารวมกัน โดยคำว่า ปอย เข้าใจว่ามาจากภาษาพม่าตรงกับคำว่า ปะแว ซึ่งกลายมาจากภาษาลีว่า ปเวณี หรือประเพณี -
ประเพณีการบวชลูกแก้ว
ประเพณีการบวชลูกแก้ว คือ การบวชเณรของชาวล้านนา ประเพณีนี้ถือว่าเป็นงานที่ใหญ่พอสมควรจึงเรียกอีกอย่างว่า พอยน้อย (ออกเสียงว่าปอยหน้อย) -
ประเพณีทานหลัวหิงไฟพระเจ้า
ประเพณีทานหลัวหิงไฟพระเจ้า คือการนำเอาฟืนมาเผา เพื่อให้พระพุทธเจ้าได้ผิงไฟ จัดขึ้นในช่วงเดือน ๔ เหนือ หรือประมาณเดือนธันวาคมถึงมกราคม ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำของเดือน เป็นช่วงที่มีอากาศหนาวเย็น -
ประเพณีตานก๋วยสลาก
ประเพณีทานก๋วยสลาก หรือสลากภัต เป็นประเพณีทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญที่แสดงออกถึงความสามัคคีกันในการมาพร้อมหน้าในบรรดาหมู่ญาติพี่น้อง -
ประเพณีขึ้นเฮือนใหม่
เรือน เป็นหนึ่งในปัจจัย ๔ ของมนุษย์ มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิต เป็นสถานที่ที่รวมกันของสมาชิกในครอบครัว -
ประเพณีกินแขกแต่งงาน
ประเพณีแต่งงานแบบล้านนา เป็นวัฒนธรรมที่งดงามแฝงไปด้วยคติความเชื่อ และศีลธรรมแห่งการครองเรือน เพื่อครองชีวิตคู่อย่างมีความสุขตามกรอบจารีตประเพณีล้านนา -
ประเพณีการปลูกเฮือน
ประเพณีวัฒนธรรมการปลูกเรือนนั้น ในแต่ละสังคมย่อมมีวิธีการที่แตกต่างและคล้ายคลึงกันไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยทางสังคมที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ และสภาพแวดล้อม -
ประเพณีเดือนยี่เป็ง
"ประเพณีเดือนยี่ หรือบางทีเรียกว่า เดือนยี่เป็ง นับเป็นประเพณีเก่าแก่ของภาคเหนือประชาชนนับถือปฏิบัติกันมานับแต่พุทธศตวรรษที่๑๔ สมัยอาณาจักรหริภุญไชยได้มีประเพณีเดือนยี่