ขอเชิญร่วมงาน Thapae Unplug ‘มหกรรมวัฒนธรรม สร้างสรรค์ล้านนาด้วยผญาบรรพชน’ ระหว่างวันที่ 9 – 11 สิงหาคม 2562 ณ ข่วงประตูท่าแพ ตั้งแต่เวลา 10.00 – 21.00 น.
จังหวัดเชียงใหม่โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่และสภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ร่วมกับแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมในเครือข่าย กลุ่มสล่าล้านนาและเครือข่ายศิลปินพื้นบ้าน กำหนดจัดกิจกรรม Thapae Unplug ‘มหกรรมวัฒนธรรม สร้างสรรค์ล้านนาด้วยผญาบรรพชน’ ภายใต้โครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมการขยายตลาดการท่องเที่ยวประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562
เพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์อันโดดเด่นทางวัฒนธรรม สู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ต่อยอดผลิตภัณฑ์สู่การพัฒนาเชิงสร้างสรรค์ และเพื่อนำทุนทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ในท้องถิ่น เป็นฐานในการเพิ่มคุณค่าและมูลค่าทางเศรษฐกิจ สร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน พร้อมทั้งก่อให้เกิดรายได้และเป็นการเปิดเวทีให้แก่ภูมิปัญญาสล่าล้านนา มีโอกาสถ่ายทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญา สู่การส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการสร้างสังคมให้อยู่เย็นเป็นสุข อีกทั้งเกิดความภาคภูมิใจในอัตลักษณ์ของตนเอง สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนในด้านสังคมวัฒนธรรม
ท่าแพอันปลั๊ก “มหกรรมวัฒนธรรม สร้างสรรค์ล้านนาด้วยผญาบรรพชน”
จากวิสัยทัศน์ประเทศไทยที่ต้องการให้ประเทศมีความมั่นคง ประชาชนมั่งคั่งอย่างยั่งยืน วิสัยทัศน์เชิงนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ “ไทยแลนด์ 4.0”
ที่ต้องการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่ “Value-Based Economy” หรือ “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม” ซึ่ง “ไทยแลนด์ 4.0” จะเกิดผลจริงต้องมีการพัฒนาวิทยาการ
ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการวิจัยและพัฒนาแล้วต่อยอดในกลุ่มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม
ผลการสำรวจข้อมูลพบว่ากลุ่มจังหวัดภาคเหนือ โดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่ พบว่ามีจุดแข็งที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากลที่มีประเพณี ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมล้านนาที่มีอัตลักษณ์ทรงคุณค่าและเสน่ห์ที่โดดเด่นเอื้อต่อการพัฒนา สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับพื้นที่ได้ซึ่งสามารถเชื่อมโยงกันในเชิง ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของกลุ่มล้านนาที่ประชาชน มีความสัมพันธ์และมาอย่างยาวนาน มีการติดต่อพบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิถีชีวิต สังคมวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามรวมทั้งศิลปะสถาปัตยกรรมอันทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ซึ่งกันและกัน หากได้มีการนำทุนทางสังคมวัฒนธรรมที่มีอยู่แล้ว ในแต่ละท้องถิ่นมาสร้างคุณค่าและเพิ่มมูลค่าทางเศรษกิจ ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ซึ่งก่อให้เกิดรายได้แก่ประชาชนในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน อีกทางยังเป็นแนวทางหนึ่งในการส่งเสริมอัตลักษณ์ของชาติพันธุ์ล้านนา ให้เกิดการอนุรักษ์ฟื้นฟูและสืบสานมรดกทางวัฒนธรรมให้คงอยู่แพร่หลายสืบไป นับว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกฝ่ายควรจะร่วมมือกัน
วัตถุประสงค์
(๑) เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และเข้าใจในอัตลักษณ์ ตำนาน มรดกคุณค่าของวัฒนธรรมอันเป็นทุนทางวัฒนธรรมล้านนา
(๒) เพื่อประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ อัตลักษณ์ ตำนาน มรดกทางวัฒนธรรมล้านนาให้เป็นไปในวงกว้าง
(๓) เพื่อเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่
ข่วงวัฒนธรรมล้านนา
-ข่วงแสดงและสาธิตภูมิปัญญาสล่าล้านนากว่า ๑๒๕ บูธ
-กิจกรรม Workshop ภูมิปัญญาอันโดดเด่นของเชียงใหม่
-การเสวนาพูดคุยทิศทางสล่าล้านนา ภูมิปัญญาจากอดีตสู่อนาคต
-การแสดงศิลปะวัฒนธรรม และดนตรีพื้นบ้าน
-นิทรรศการองค์ความรู้มรกดกทางวัฒนธรรม
Tha Phae Unplug
“Festival of Lanna culture, creativity, spirit, and ancestry”
(Under the Cultural Tourism Development Project to promote expansion of the tourism industry Fiscal year 2019)
Chiang Mai is the centre of Lanna tradition, art. culture, and wisdom, possessing a distinctive
and captivating cultural identity ideal for stimulating development and creation of economic
value in the area directly through the history and cultural traditions of the Lanna people.
Continuous long-term participation through communication, meeting, exchange, and education
regarding the ways of life, societal, cultural, and traditional aspects of Lanna, including art,
history, and architecture, combined with utilization of existing social and cultural capital of the
area, can facilitate economic growth, increase economic value, and promote cultural tourism –
creating a sustainable source of income for local people This also helps to promote, preserve,
restore, and maintain Lanna cultural heritage, traditions, and ethnic identity on a wider scale.
Cultural activities have been organized which
demonstrate the wisdom of “Sala Lanna”, including
sale of local cultural products, workshops for
discussion, exchange, and education regarding
local wisdom and the development of Lanna culture
from historical roots to possible futures.
Guests can attend exhibitions to learn about cultural
heritage and traditional wisdom, shop, sample local
food, partake in traditional Lanna dining in vernacular
areas, and are invited to attend the cultural and
musical performances throughout the event.
กำหนดการ
๙ สิงหาคม ๒๕๖๒
เวลา ๑๐.๐๐ – ๑๗.๐๐ น. – การแสดงทางศิลปวัฒนธรรมและดนตรีพื้นบ้าน
เวลา ๑๗.๐๐ – ๑๘.๐๐ น. – การเสวนา “การสืบทอด สร้างสรรค์หัตกรรมล้านนาร่วมสมัย” โดย คุณเฉลิมพล อาทิตย์สาม, คุณยุจเรศ สมนาอาจารย์, ตร. สุมนัสยา โวหาร ดําเนินรายการโดย คุณอรชร บุญหลง
เวลา ๑๘.๐๐ – ๑๙.๐๐ น. – ลงทะเบียนผู้ร่วมงาน / พิธีกรแนะนํารายละเอียดการจัดงาน
– การแสดง “บุปผามาลา ผญาล้านนา”
เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๙.๓๐ น. – พิธีเปิดงาน
– กล่าวรายงานโดย วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่
– กล่าวเปิดงานโดย ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่
– ประธานในพิธีประกอบพิธีเปิดงาน “จุดโคมตัดล้านนา”
– วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่มอบของที่ระลึกประธานในพิธีและบันทึกภาพ
– การแสดงพิธีเปิด “เลอค่าด้วยผญาบรรพชน”
เวลา ๑๙.๓๐ – ๒๐.๐๐ น. – เริ่มกิจกรรม Unplug แสงเทียนแห่งล้านนา
เวลา ๒๐.๐๐ – ๒๓.๐๐ น. – การแสดงศิลปวัฒนธรรมและดนตรีพื้นบ้าน จากเครือข่ายทางวัฒนธรรม
๑๐ สิงหาคม ๒๕๖๒
เวลา ๑๐.๐๐ – ๑๗.๐๐ น. – ลงทะเบียนผู้ร่วมงาน/พิธีกรแนะนํารายละเอียดการจัดงาน
– การแสดงศิลปวัฒนธรรมและดนตรีพื้นบ้าน จากเครือข่ายทางวัฒนธรรม
เวลา ๑๗.๐๐ – ๑๘.๐๐ น. – การเสวนา “สล่าล้านนา สู่การออกและพัฒนาเมืองเชียงใหม่”
โดย ผู้แทน TCDC, คุณสุวารี วงศ์กองแก้ว, รศ.ลิปิกร มาแก้ว
ดําเนินรายการโดย คุณอรชร บุญหลง
เวลา ๑๘.๐๐ – ๑๙.๐๐ น. – การแสดงศิลปวัฒนธรรมและดนตรีพื้นบ้าน จากเครือข่ายทางวัฒนธรรม
เวลา ๑๙.๐๐ – ๒๐.๐๐ น. – เริ่มกิจกรรม Unplug แสงเทียนแห่งล้านนา
เวลา ๒๐.๐๐ – ๒๑.๐๐ น. – การแสดงศิลปวัฒนธรรมและดนตรีพื้นบ้าน จากเครือข่ายทางวัฒนธรรม
๑๑ สิงหาคม ๒๕๖๒
เวลา ๑๐.๐๐ – ๑๗.๐๐ น. – ลงทะเบียนผู้ร่วมงาน/พิธีกรแนะนํารายละเอียดการจัดงาน
– การแสดงศิลปวัฒนธรรมและดนตรีพื้นบ้าน จากเครือข่ายทางวัฒนธรรม
เวลา ๑๗.๐๐ – ๑๘.๐๐ น. – การเสวนา “การสร้างความร่วมมือครือข่ายงานหัตถกรรมล้านนาอย่างยั่งยืน”
โดย รศ.ดร. วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์, คุณนุสรา เตียงเกตุ, คุณสมทรัพย์ ศรีสุวรรณ์
ดําเนินรายการโดย ดร.สราวุธ รูปืน
เวลา ๑๘.๐๐ – ๑๙.๐๐ น. – การแสดงศิลปวัฒนธรรมและดนตรีพื้นบ้าน จากเครือข่ายทางวัฒนธรรม
เวลา ๑๙.๐๐ – ๒๐.๐๐ น. – เริ่มกิจกรรม Unplug แสงเทียนแห่งล้านนา
เวลา ๒๐.๐๐ – ๒๑.๐๐ น. – การแสดงศิลปวัฒนธรรมและดนตรีพื้นบ้าน จากเครือข่ายทางวัฒนธรรม