“ไอ่เก๋า” จ้างซอจื้อติดหูจาวเหนือ นายสุรินทร์ หน่อคำ(นามแสดงไอ่เก๋า) ช่างซอพื้นเมืองภาคเหนือ
ประวัติไอ่เก๋า นายสุรินทร์ หน่อคำ
เกิดเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2489 บ้านเลขที่ 111 หมู่ที่ 2 ตำบลสันผักหวาน อ.หางดง จ.เชียงใหม่ เป็นบุตรของนายอินทร์ นางขันแก้ว หน่อคำ มีพี่น้องร่วมบิดา มารดา 6 คน ได้สมรสกับนางบังอร หน่อคำ เมื่อ พ.ศ.2512 มีบุตรด้วยกัน 2 คน เป็นชายทั้ง 2 คน
การศึกษา
เมื่อเรียนขบประถมศึกษา ก็มีความสนใจในด้านศิลปะการจ๊อย ซอ หรือการขับซอได้ติดตามมารดา คือแม่ขันแก้ว ซึ่งเป็นช่างซอ หรือนักขับซอไปแสดงในงานต่างๆ แต่ก็ยังไม่มีโอกาสได้เรียนอย่างจริงจัง เพราะต้องออกไปทำงานหาเงินมาจุนเจือครอบครัว จนกระทั่งมีอายุ 16 ปี แม่ขันแก้วก็ให้มาเรียนเป็น “จ่างซอหรือช่างซอ”เมื่อเรียนจากมารดาได้ 1 ปีก็ตระเวนซอไปกับรุ่นพี่เพื่อหาประสบการณ์
ต่อมาก็ได้หาความชำนาญเพิ่มเติมจากแม่ครูจันทร์สม สายธารา ซึ่งในขณะนี้เป็นศิลปินแห่งชาติของจังหวัดเชียงใหม่ จากการที่ได้ออกมาสู่โลกแห่งศิลปิน ก็มองเห็นว่า ประสบการณ์ที่มีอยู่ยังไม่เพียงพอต่อการที่จะเป็นผู้ชำนาญ จึงได้เดินทางไปขอเป็นลูกศิษย์ของอาจารย์ศรีท้วน สวนน้อย ศิลปินซอชื่อดังของจังหวัดเชียงราย
การทำงาน
เมื่อเรียนจบก็ออกแสดงไปทั่ว หลังจากเรียนซอกับแม่ขันแก้วได้ประมาณ 1 ปี ก็ได้ออกซอ ตามงานต่าง ๆ กับช่างซอรุ่นพี่เพื่อหาประสบการณ์ ใน ขณะเดียวกันก็เรียนซอเพิ่มเติมกับแม่ครูจันทร์สม สายธารา และพ่อครูศรีทวน สอนน้อย คณะซอคณะแรกที่เข้าร่วมงาน คือคณะศรีสมเพชร 2 รับแสดงซอตามงานต่าง ๆ แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จในการสร้างชื่อเสียง จึงเปลี่ยนแนวการแสดงมาเป็นแนวตลก โดยยึดแนวการแต่งตัวของตลกฝรั่งที่ชื่อ ชาลี และการแสดงออกหน้าเวที ก็ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านเข้าประกอบ ปรากฏว่าได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นอย่างมาก ในนามของ “ไอ่เก๋าหรือมิสเตอร์เก๋า เกว้อวเว้อวร์ ”จากนั้นมา ”
และได้แสดงซอร่วมกับแม่คำหน้อย หรือ “อี่ต่วม” ปรากฏว่าได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีรูปแบบการแสดงที่ตลกไม่ซ้ำแบบใคร จนกลายเป็นคู่ซอที่ได้รับความนิยมจากประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดต่าง ๆ ในเขตภาคเหนือ ต่อมาได้ตั้งคณะซอของตนเองชื่อคณะ “เก๋า–ต่วม” รับแสดงซอคู่ ละครซอ และซอสตริงในงานต่าง ๆ ทั่วภาคเหนือ
นอกจากการแสดงซอในงานทั่วไปแล้ว ยังทำการ ผลิตเทปซอจำนวนหลายชุด โดยส่วนใหญ่จะเป็นเทปที่มี เนื้อหาตลกสนุกสนาน ที่แฝงข้อคิดและสาระต่าง ๆ ก็นำเอาศิลปการขับซอไปเผยแพร่ที่สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยจังหวัดลำปาง ตั้งแต่ปี 2522
ผลงาน
ในขณะที่นำเอาศิลปะพื้นบ้านไปแสดงในที่ต่างๆก็นำเอาสาระความรู้ในด้านการต่อต้านยาเสพติดโรคเอดส์ รณรงค์ให้ชาวบ้านออกไปใช้สิทธิ์ในการเลือกตั้ง ไข้เลือดออก การป้องกันไฟไหม้ ผู้สูงอายุกับการรักษาสุขภาพ การใช้รถใช้ถนนให้ถูกต้องตามกฎจราจร สอดแทรกในขณะทำการแสดง
นอกจากนี้ ยังได้นำเอาศิลปะการขับซอไปสอนให้แก่เยาวชนตามโรงเรียนต่างๆในจังหวัดเชียงใหม่ เป็นเวลาประมาณ 10 กว่าปี ในส่วนขององค์กรต่างๆก็ได้ให้ความร่วมมือสอนพิเศษในเรื่องศิลปะพื้นบ้านการขับซอ ผลงานที่ภาคภูมิใจที่สุด คือ ได้รับพระพิฆเนศทองพระราชทาน และรางวัลศิลปินพื้นบ้านดีเด่น เมื่อปี 2537
จากประสบการณ์ที่ยาวนานและผลงานด้านการซอที่โดดเด่นของพ่อเก๋า (สุรินทร์ หน่อคำ) รวมถึงการให้ความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ และการนำความรู้ด้านการซอเผยแพร่สู่สถาบันต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ ทำให้พ่อเก๋าได้รับการยอมรับและมีบทบาทในสังคมในเรื่องต่าง ๆ ต่อไปนี้
– คณะกรรมการสภาวัฒนธรรมอ าเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่
-ที่ปรึกษาพัฒนากรอ าเภอหางดง
-โฆษกในงานของอ าเภอหางดง
-กรรมการหมู่บ้านต้นงิ้ว
-อ.ส.ม. และ อ.ช. หางดง
-รางวัลพระพิฆเนศทองพระราชทาน ประจ าปี พ.ศ.2539
-รางวัลศิลปินพื้นบ้านดีเด่น ประจ าปี พ.ศ. 2537
-ผู้ได้รับการเชิดชูเกียรติเพชรรราชภัฏ เพชรล้านนา ประจำปีพุทธศักราช 2552 นายสุรินทร์ หน่อคำ : สาขาศิลปะการแสดง ด้านซอพื้นเมือง
นายสุรินทร์ หน่อคำ หรือ นายเก๋า มีคติประจำใจ ในสุภาษิตเมืองเหนือว่า ก่อยอยู่ต๋ามน้ำ ก่อยทำต๋ามตั๋ว น้ำเปียงใด ดอกบัวเปียงอั้น
วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม 2553 ขอไว้อาลัย ให้กับ ศิลปินช่างซอภาคเหนือ สุรินทร์ หน่อคำ หรือ “ไอ่เก๋า”
วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม 2553 คนภาคเหนือเราได้สูญเสียศิลปินจ้างซอ นักร้องกำเมืองนักอนุรักษ์ไปอีก 1ท่าน
เมื่อเวลาประมาณ 11.นาฬิกา ที่โรงพยาบาลศูนย์วิจัยประสาท เชียงใหม่