เทพสิงห์ วีรบุรุษผู้กล้าหาญแห่งเมืองยวมใต้

0
3448
เทพสิงห์ วีรบุรุษผู้กล้าหาญแห่งเมืองยวมใต้

เมื่อครั้งที่ชาวพม่ารามัญเข้ามาปกครองเชียงใหม่นั้น ก็ได้ปกครองชาวเชียงใหม่อย่างกดขี่ข่มเหง ชาวเมืองต่างเสียขวัญเสียกำลังใจ กลายเป็นคนเชื่อถือโชคลาง เห็นอะไรที่วิปริตผิดประหลาดก็เข้าใจว่าเป็นอุบาทว์ลางร้ายบอกเภทภัยไปหมด จิตใจหวั่นไหวตระหนกนกใจง่ายมิได้เป็นปกติสุข เนื่องด้วยถูกข้าศึกพม่ารบกวนไม่หยุด ต่อมาได้มีชายหนุ่มนามว่า เทพสิงห์ ชาวเมืองยวมใต้ เกิดมีใจเจ็บแค้นที่ถูกฆ่าศึกชาวพม่าย่ำยีบีฑามาช้านาน จึงได้รวบรวมสมัครพรรคพวก ยกเข้าไปปล้นเมืองเชียงใหม่ในเวลากลางคืน และจับโป่มังแรนราผู้ครองเมืองเชียงใหม่ชาวพม่าได้และเทพสิงห์ก็ได้จัดการฆ่าโป่มังแรนราและต่อมาก็ได้ขึ้นปกครองเมืองเชียงใหม่เมื่อ พ.ศ. ๒๒๗๐ ส่วนบรรดาพม่ามอญในเมืองเชียงใหม่ก็แตกตื่นหนีไปยังเมืองเชียงแสน เทพสิงห์ครองเมืองเชียงใหม่ได้ประมาณเดือนเศษซึ่งเป็นเวลาอันน้อยนิดที่จะสะสางกิจการบ้านเมืองให้สงบเรียบร้อย เทพสิงห์ก็ได้มีประกาศไปทุกแห่งทุกตำบลให้จับพวกพม่ารามัญฆ่าให้หมดอย่าให้เหลือตกค้างในเชียงใหม่ แต่ปรากฎว่าพวกพม่าเหลืออยู่เป็นจำนวนมากและพวกพม่าก็ได้ชักชวนกันมั่วสุมเป็นหมู่กองแล้วตั้งหัวหน้าขึ้นคือ จะเรเนแต จะเรเนแตก็รวบรวมกำลังพลได้ถึง ๓ ร้อยคนพากันคิดการกับเจ้าองค์นกซึ่งเป็นเจ้าลาวที่หนีมาจากเมืองหลวงพระบางมาบวชเป็นพระภิกษุอยู่ที่วัดบุปผาราม เมืองเชียงใหม่ พอตกลงกันว่าจะร่วมมือด้วยกัน เจ้าองค์นกก็สึกออกมาเป็นหัวหน้านำพลโยธาไปซุ่มคอยดูท่าทีอยู่ที่วัดเกต ขณะนั้นทหารของเทพสิงห์ ๕๐ คนมารักษาสะพานท่าแพไว้ครั้นเวลาเที่ยงคืนเจ้าองค์นกได้จัดให้จะเรเนแตคุมกำลังอ้อมไปทางแจ่งศรีภูมิ และมุมเมืองด้านเหนือกองหนึ่ง แล้วแต่งคนเข้าสู้กับเทพสิงห์ที่เฝ้าสะพานแตกหนีไปจากเมืองเชียงใหม่ทางประตูด้านทิศใต้คือประตูหะยา ที่ปัจจุบันเรียกว่า ประตูหายยา เทพสิงห์จึงได้หนีไปเมืองน่านขอความช่วยเหลือจากเจ้าธรรมปัญโญ เจ้าเมืองน่านยกกำลังมาตีเมืองเชียงใหม่ แต่ชะตาตกการศึกครั้งนี้จึงแพ้อย่างราบคาบเจ้าเมืองน่านเจ้าธรรมปัญโญเสียชีวิตในสนามรบและในตำนานก็ไม่ได้กล่าวนามวีรบุรุษเทพสิงห์อีกเลย
พอเจ้าองค์นกได้เป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่ได้ไม่นานก็เกิดมีแม่ทัพพม่านามว่า สะแคงพญา ยกกองทัพมาจากกรุงอังวะ ประชิดเมืองเชียงใหม่เจ้าองค์นกได้เปลี่ยนชื่อเป็นเจ้าองค์คำ ได้แต่งให้คนเชียงใหม่ ๒๐ คนและชาวพม่า ๒๐ คนออกไปต้อนรับสะแคงพญา พอ ๒๐ คนนี่ออกไป สะแคงพญาก้สั่งให้จับชาวเมือง ๒๐ คนฆ่าเสีย แต่ชาวเมืองทั้ง ๒๐ คนรู้ทันจึงรีบหนีเสียก่อนและกลับมาหาเจ้าองค์คำทูลให้องค์คำทราบ ขณะนั้นทัพพม่าตั้งอยู่ที่หนองหมอน เจ้าองค์คำจึงแต่งกองทัพยกไปรบกับพม่า ทัพพม่าก็แตกหนีไปอยุ่เมืองพะเยา
เจ้าองค์คำเป็นชาวล้านช้างสืบเชื้อสายเจ้าลื้อเมืองศรีฟ้า เคยคิดการกบฏต่อหลวงพระบางแล้วหนีมาในที่สุดก็ได้เป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่อยู่ ๓๒ ปีก็สิ้นพระชนม์

ศาลเทพสิงห์ ที่ ค่ายเทพสิงห์ จ.แม่ฮ่องสอน

พ.ศ.๒๒๗๐“ เทพสิงห์ ” หนุ่มน้อยแห่งเมืองยวมใต้ (อ.แม่สะเรียง ในปัจจุบัน)รวบรวมสมัครพรรคพวกได้แต่จำนวนร้อย
ตีเมืองเชียงใหม่ได้สำเร็จ สามารถขับไล่กองกำลังอันเกรียงไกรอย่างห้าวหาญ เข่นฆ่าล้างผลาญ แทบไม่หลงเหลือ จับตัว “ โป่มังแรนร่า ” นายทัพใหญ่ของพม่านั่งบัลลังก์ครองเมืองเชียงใหม่ มาสำเร็จโทษ ที่เหลือก็กระเจิดกระเจิงไปรวมกับพวกพม่าที่ยึดครองเมืองเชียงแสน
“ เทพสิงห์ ” ก้าวขึ้นรักษาเมืองเชียงใหม่ โดยยังคงให้ขุนนางผู้ใหญ่ที่เป็นคนไทย ( แต่ดำรงตำแหน่งขณะพม่ายึดครองนั้น) ยังคงดำรงตำแหน่งเดิมโดยหาเฉลียวใจไม่ว่า ในจำนวนนั้นมี“ คนไทยใจทาส ” ปะปนอยู่ด้วยคือ “ พญาวังหางตั๋น ” คนไทยใจพม่าที่ล้วงความลับฝ่ายใน แล้วนำไปวางแผนคบคิดกับฝ่ายพม่าในหัวเมือง อื่น ๆ รวบรวมพลได้ ๔๐๐ คน เข้าปล้นเชียงใหม่ ในยามราตรี “เทพสิงห์” ไม่ได้ระวัง“หอกข้างแคร่” จึงเสียทีต้องหนีกระเจิดกระเจิงไปอย่างบอบช้ำที่สุด พญาวังหางตั๋น จึงไปกราบทูลความดีความชอบของตนเอาเมืองเชียงใหม่ให้ “พระเจ้าอังวะ” ถึงประเทศพม่าไม่ผิดอะไรกับ “พระยาจักสี ” ที่ทำให้กรุงศรีอยุธยาล่ม
“เทพสิงห์ ” เห็นเหลือกำลังที่จะคืนชิงมาได้ โดยลำพังจึงไปหารือกับ “เจ้าธรรมปัญโญ” เจ้านครน่าน เจ้าธรรมปัญโญ เห็นเป็นคนไทยด้วยกัน ประกอบกับความมุ่งหมายและผลงานที่“เทพสิงห์” ชิงเมืองมาได้ตั้งหลายครั้งทั้งๆ ที่มีกำลังพลน้อยนิด จึงยกกำลังมาสมทบ แต่ความลับรั่วถึงหูของ “เจ้าองค์ดำ” คนต่างด้าวท้าวต่างเมืองที่ครอง เชียงใหม่ ขณะนั้น จึงกรีฑาทัพออกไปดักซุ่มโจมตีที่ เวียงป่าซาง “เจ้าธรรมปัญโญ” ต้องอาวุธในสนามรบ กองกำลังนครน่าน จึงเสียขวัญเตลิดไป ทำให้ “เทพสิงห์ ” ต้านกำลังโดยลำพังไม่ไหว ต้องแตกกระเจิงและหายสาบสูญไป สันนิษฐานว่าคงเสียชีวิตแล้ว เพราะหาไม่แล้ว ก็ต้องยกทัพกลับเข้ามาอีก เป็นที่รู้กันดีว่าถ้ายังมีชีวิตอยู่ แล้วไม่กลับมาสู้ ก็ไม่ใช่ “ เทพสิงห์ ”

เทพสิงห์ วีรบุรุษผู้กล้าหาญแห่งเมืองยวมใต้

credit : http://historicallanna01.blogspot.com