อุทยานหลวงราชพฤกษ์

อุทยานหลวงราชพฤกษ์ ที่อยู่ อุทยานหลวงราชพฤกษ์ ต.แม่เหียะ อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ 50100
อุทยานหลวงราชพฤกษ์ (Royal Park Rajapruek) ตั้งอยู่ที่ 334 หมู่3 ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นสถานที่ที่ใช้จัดงาน มหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 และ มหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2554 ปัจจุบัน อยู่ภายใต้กำกับการดูแลของ สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
ประวัติอุทยานหลวงราชพฤกษ์
เนื่องในมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ใน พ.ศ. 2549 และทรงเจริญพระชนพรรษา 80 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2550 และคณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2546 เห็นชอบให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549 ณ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ตำบลแม่เหียะ อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ (พื้นที่ 468 ไร่ 3 งาน 10 ตารางวา) โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2549 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2550 รวม 122 วันภายใต้ชื่อ “มหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549” ซึ่งเป็นงานที่ประเทศไทยประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก
จากความสำเร็จของการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 ที่ได้รับการตอบรับทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเป็นอย่างดี คณะรัฐมนตรีจึงมีมติ เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ให้สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) เข้ามาบริหารจัดการและใช้ประโยชน์พื้นที่สวนเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการและปฏิบัติงานด้านต่างๆ มีภารกิจหลัก ในการพัฒนา ให้เป็นแหล่งเรียนรู้พืชสวน และเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางการเกษตรและวัฒนธรรมของจังหวัดเชียงใหม่ และประเทศไทย โดยได้รับการถ่ายโอนกิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ และงบประมาณของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มาเป็นของสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2552 และมีการส่งมอบสวนเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 ในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2552ที่ชื่ออุทยาน
การตั้งชื่ออุทยานหลวงราชพฤกษ์นั้น หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี องค์ประธานมูลนิธิโครงการหลวง ได้มีลายพระหัตถ์ถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ เมื่อปี พ.ศ. 2552 ขอพระราชทานชื่อสวนซึ่งเป็นสถานที่จัดงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 แห่งนี้ว่า “สวนหลวงราชพฤกษ์” ต่อมาท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ รองราชเลขาธิการ ได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อสวนดังกล่าวว่า “อุทยานหลวงราชพฤกษ์” ตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2553 และได้รับพระราชทานชื่อภาษาอังกฤษว่า “Royal Park Rajapruek”
เส้นทางการเรียนรู้
สวนเกษตรทฤษฎีใหม่
หอคำหลวง สถาปัตยกรรมล้านนาอันทรงคุณค่า
ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง
สวนสมุนไพร
สวนธนาคารแห่งประเทศไทย
สวนธนาคารกรุงไทย
สวนธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
สวนอัศจรรย์สีสันแห่งดาวอังคาร (Amazing Mars Garden) (สวนจิสด้า)
สวนบริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์
สวนมูลนิธิบีเจซี บิ๊กซี
เส้นทางชมนิทรรศการเทิดพระเกียรติ
นิทรรศการบัวบาทยาตรา
นิทรรศการ ธ สถิตในดวงใจไทยตราบนิจนิรันดร์
นิทรรศการ 7 ทศวรรษ กษัตริย์นักพัฒนา
นิทรรศการ ธ ทรงพระเมตตา ปวงประชาอยู่ร่มเย็น
นิทรรศการ 236 ปี ใต้ร่มพระบารมีจักรีวงศ์
เส้นทางความหลากหลายทางชีวภาพ
เรือนกล้วยไม้
เรือนไม้ดอก
โลกแมลง
เรือนร่มไม้
เรือนพืชทะเลทราย
เรือนพืชไร้ดิน
โซนไม้กลุ่มสี
เส้นทางชมไม้ไม้กลุ่มสี
ดอกกัลปพฤกษ์ (ซากุระเมืองไทย) สีขาว-ชมพูสะพรั่ง (ช่วงเดือนมี.ค. – เม.ย.) พิกัด หน้าเรือนพืชทะเลทรายและโซนสนามเด็กเล่น อาคารโลกแมลง
ดอกราชพฤกษ์ เหลืองอร่ามงามตาทั่วสวน (ช่วงปลายเดือนเม.ย. – พ.ค.) พิกัด บึงราชพฤกษ์บริเวณทั่วไปในสวน
ดอกอินทนิล ถนนเส้นสีม่วง – ชมพู (ช่วงเดือนเม.ย. – พ.ค.) พิกัด ถนนเส้นหน้าสวนประเทศภูฏานยาวไปจนถึงสวนจีน
ดอกหางนกยูงฝรั่ง สีส้มสดใสเต็มถนน (ช่วงปลายเดือน เม.ย. – มิ.ย.) พิกัด อาคารโลกแมลง
เส้นทางสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์
1. พระพุทธรูปสมถะวิปัสสนากรรมฐาน ณ ลานต้นโพธิ์แห่งความจงรักภักดี พระพุทธรูป 2 องค์ ที่ได้จากการหล่อรวมใบโพธิ์ จำนวน 179,500 ใบ ที่ผู้เข้าชมงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯราชพฤกษ์ 2549 ได้เขียนข้อความถวายพระพร ในหลวงรัชกาลที่ 9 เนื่องในมหามงคลที่ทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 60 ปี และทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา ในปี 2550
2. พระศรีศากยมุนี ณ สวนประเทศภูฏาน พระพุทธรูปที่ได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระราชาธิบดี จิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก กษัตริย์ภูฏาน เด่นในเรื่องนำพาสันติสุขมาให้ และชะลอความชราของสรรพสัตว์ทั้งหมด
3. พระศากยมุนีปางมารวิชัย ณ สวนประเทศเนปาล เป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นที่เมืองปาทัน ประเทศเนปาล เด่นในเรื่องการขจัดอุปสรรคและอันตรายทั้งปวง
4. พระพุทธรูปไม้แกะสลักปางมารวิชัย ณ สวนประเทศลาว เป็นพระพุทธรูปที่ทรงชนะเหล่ามารทั้งหลายที่มารบกวน หากใครได้สักการบูชาจะก่อบังเกิดความสงบสุข ร่มเย็น ปราศจากศัตรู
5. องค์พระพิฆเนศ ณ สวนประเทศอินเดีย เป็นเทพเจ้าแห่งความรู้ เป็นผู้มีปัญญาเลิศ ปราดเปรื่องในศิลปวิทยาทุกแขนง ขจัดอุปสรรคทั้งปวง กิจการทุกอย่างสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
6. พระอุปคุตปางสมาธิ หรือ พระบัวเข็ม ณ เนินด้านข้างสวนประเทศจีน โดดเด่นในเรื่องโชคลาภ คุ้มครองภัยพิบัติอันตรายทั้งปวง ให้คุณทางทรัพย์สิน ร่ำรวยเงินทอง
7. พระโพธิสัตว์กวนอิม ณ ด้านข้างสวนประเทศจีน มีความโดดเด่นในเรื่องของความรัก ความมีเมตตา เปรียบเสมือนแม่ที่มีความรักให้กับลูก จึงกลายเป็นอีกหนึ่งองค์เทพที่มีความศักดิ์สิทธิ์
สวนนานาชาติ
สวนนานาชาติเฉลิมพระเกียรติ ฯ เป็นพื้นที่จัดแสดงของมิตรประเทศที่มาร่วมเฉลิมฉลองในวโรกาสมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองราชย์สมบัติครบ 60 ปี ในปี พ.ศ. 2549 โดยมีประเทศต่างๆ ได้แก่
สวนประเทศบังคลาเทศ
สวนประเทศภูฏาน
สวนประเทศกัมพูชา
สวนประเทศจีน
สวนประเทศอินเดีย
สวนประเทศอินโดนีเซีย
สวนประเทศอิหร่าน
สวนประเทศญี่ปุ่น
สวนประเทศลาว
สวนประเทศมาเลเซีย
สวนประเทศเนปาล
สวนประเทศเวียดนาม
สวนประเทศตุรกี
สวนประเทศสเปน
สวนประเทศเบลเยี่ยม
สวนประเทศเนเธอร์แลนด์
สวนประเทศมอริเตเนีย
สวนประเทศเคนย่า
สวนประเทศมอร็อกโค
สวนประเทศแอฟริกาใต้
สวนประเทศซูดาน
สวนเกาหลีใต้
สถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง
เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี
วัดพระธาตุดอยคำ
ข้อมูลการติดต่อ
เวลาทำการ : เปิดทำการทุกวัน ตั้งแต่ 9.00 – 18.00 น.
ที่อยู่ : อุทยานหลวงราชพฤกษ์ ต.สุเทพ อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ 50100
เบอร์ติดต่อ : 053-114110-5
เว็บไซต์ : https://www.royalparkrajapruek.org/
Facebook : https://www.facebook.com/rprp.cnx
แผนที่อุทยานหลวงราชพฤกษ์