อำเภอสันกำแพง

0
2440

สันกำแพง (คำเมือง: Lanna-San Kamphaeng.png) เป็นอำเภอหนึ่งในเขตปริมณฑลของนครเชียงใหม่ที่มีความเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว มีการพัฒนาทุก ๆ ด้าน เป็นอำเภอที่มีแหล่งท่องเที่ยวมากมาย ที่ขึ้นชื่อได้แก่ บ้านบ่อสร้าง เป็นแหล่งรวมหัตถกรรมการทำร่มกระดาษสา น้ำพุร้อนสันกำแพง ป่าดงปงไหว ตลอดเส้นทางจากตัวอำเภอเมืองไปยังอำเภอสันกำแพงจะรายล้อมไปด้วยต้นไม้ใหญ่ 2 ข้างทาง

 ประวัติ

จากหลักฐานศิลาจารึกที่ต้นพบ ณ วัดเชียงแสน ตำบลออนใต้ สันนิษฐานกันว่าชาวอำเภอสันกำแพงอพยพมาจากพันนาภูเลา แขวงเมืองเชียงแสน (ปัจจุบันอยู่ในจังหวัดเชียงราย) มาตั้งอยู่ริมน้ำแม่ออน โดยในสมัยพระเจ้าศิริลัทธัมมังกร มหาจักพรรดิราชธิราช ได้เสวยราชเป็นกษัตริย์ครองนครเชียงใหม่ ได้โปรดให้ราชมนตรีนายหนึ่งชื่อ เจ้าอภิชวฌาณบวรสิทธิ เป็นหมื่นดาบเรือนได้มีจิตศรัทธาชักชวนบรรดาทายกทายิกาทั้งหลายมาประชุมกันเพื่อสร้างวิหารพระเจดีย์และหอพระไตรปิฎก เมื่อสร้างเสร็จแล้วขนานนามวัดที่สร้างขึ้นว่า “สาลกิจญาณหันตาราม” วัดนี้ต่อมาชาวบ้านเรียกว่า “วัดเชียงแสน” นอกจากนั้น ชาวบ้านในหลายท้องถิ่นของอำเภอเป็นไทยองและไทลื้อ สำเนียงพูดของชาวบ้านในอำเภอเชียงแสน ต่อมาได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอเรียกว่า “แขวงแม่ออน” อยู่ในการปกครองของนครเชียงใหม่ ถึง พ.ศ. 2445 ในรัชสมัยของเจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ ครองนครเชียงใหม่ ได้เกิดกบฏเงี้ยวขึ้นที่อำเภอเมืองแพร่ ที่แขวงแม่ออนมีชาวเงี้ยว 11 คน มีอาวุธครบได้ทำการบุกปล้นโรงกลั่นสุราที่บ้านป่าไผ่ ตำบลแช่ช้าง แล้วทำการเผาที่ทำการแขวงแม่ออนเสียหายทั้งหลัง แล้วได้หนีไปทางอำเภอดอยสะเก็ด ต่อมาในปี พ.ศ. 2446 ทางราชการได้ย้ายที่ทำการแขวงแม่ออนมาปลูกสร้างที่บ้านสันกำแพง จึงได้ชื่อว่า “อำเภอสันกำแพง” มาจนถึงทุกวันนี้ ในปี พ.ศ. 2537 กระทรวงมหาดไทยได้แบ่งพื้นที่บางส่วนของอำเภอสันกำแพงยกฐานะเป็น “กิ่งอำเภอแม่ออน”

ภูมิศาสตร์

ลักษณะภูมิประเทศ สภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มกว้าง มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 196.69 ตารางกิโลเมตร มีลำน้ำที่สำคัญ ลำน้ำแม่ออน ลำน้ำแม่ปูคา ลำน้ำแม่กวง เป็นแหล่งน้ำสำคัญ

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอสันกำแพงอยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอเมืองเชียงใหม่ มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัดใกล้เคียงดังนี้

ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอดอยสะเก็ดและอำเภอสันทราย
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอแม่ออน
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอแม่ออน และอำเภอบ้านธิ (จังหวัดลำพูน)
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอสารภีและอำเภอเมืองเชียงใหม่

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอสันกำแพงแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 10 ตำบล 100 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับที่ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน ประชากรทั้งหมด
(พ.ศ. 2559)[1]
ประชากรแยกตามส่วนท้องถิ่น
(พ.ศ. 2559)[1]
1. สันกำแพง San Kamphaeng 14 16,564 11,011
5,553
(ทต. สันกำแพง)
(อบต. สันกำแพง)
2. ทรายมูล Sai Mun 7 4,042 4,042 (ทต. สันกำแพง)
3. ร้องวัวแดง Rong Wua Daeng 11 5,664 5,664 (อบต. ร้องวัวแดง)
4. บวกค้าง Buak Khang 13 8,112 8,112 (ทต. บวกค้าง)
5. แช่ช้าง Chae Chang 10 7,711 2,731
4,980
(ทต. สันกำแพง)
(อบต. แช่ช้าง)
6. ออนใต้ On Tai 11 5,346 5,346 (ทต. ออนใต้)
7. แม่ปูคา Mae Pu Kha 9 5,849 5,849 (ทต. แม่ปูคา)
8. ห้วยทราย Huai Sai 8 5,983 5,983 (ทต. ห้วยทราย)
9. ต้นเปา Ton Pao 10 16,982 16,982 (ทม. ต้นเปา)
10. สันกลาง San Klang 7 8,074 8,074 (ทต. สันกลาง)
รวม 100 84,327 68,130 (เทศบาล)
16,197 (อบต.)

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอสันกำแพงประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 10 แห่ง ได้แก่

เทศบาลเมืองต้นเปา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลต้นเปาทั้งตำบล
เทศบาลตำบลสันกำแพง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลสันกำแพง ตำบลทรายมูลทั้งตำบล และบางส่วนของตำบลแช่ช้าง
เทศบาลตำบลแม่ปูคา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่ปูคาทั้งตำบล
เทศบาลตำบลบวกค้าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบวกค้างทั้งตำบล
เทศบาลตำบลออนใต้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลออนใต้ทั้งตำบล
เทศบาลตำบลสันกลาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสันกลางทั้งตำบล
เทศบาลตำบลห้วยทราย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยทรายทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลสันกำแพง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสันกำแพง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลสันกำแพง)
องค์การบริหารส่วนตำบลร้องวัวแดง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลร้องวัวแดงทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลแช่ช้าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแช่ช้าง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลสันกำแพง)

การคมนาคม

เส้นทางคมนาคม อำเภอสันกำแพงติดต่อกับจังหวัดเชียงใหม่โดยทางรถยนต์ถนนสายเชียงใหม่-สันกำแพง ระยะทาง 13 กิโลเมตร