สี เรียกชื่อสีแบบกำเมือง ภาษาเหนือ ภาษาล้านนา

การเรียกชื่อ “สี” แบบคนเหนือ เป็นภาษากำเมือง ซึ่งถ้าคุณได้มาเที่ยวทางภาคเหนือเมื่อฟังแล้วจะได้แปลความหมายถูก
สำหรับคนเหนือ คนล้านนา ด้วยภาษากำเมืองหรือภาษาเหนือนั้นเป็นภาษาที่ฟังแล้วอ่อนนุ่มไพเราะน่าฟังอยู่แล้ว เมื่อนำมาใช้ในการเรียกชื่อสีแต่ละชนิดก็จะมีการเรียกที่บ่งบอกลักษณะสี หรือเปลี่ยนความหมาย หรือเป็นการอธิบายลักษณะของบุคคลได้ดียิ่งขึ้น มาดูกันว่าการสีแต่ละสี เมื่อเรียกเป็น ภาษากำเมือง แล้วจะเป็นสีแบบไหนหรือความหมายจะเปลี่ยนไปอย่างไร มาดูกัน
ขาวจั๊วะ = ขาวนวล
ขาวโจ๊ะโฟ้ะ = ขาวมากๆ
ขาวเผอะขาวเผิด = ขาวซีด
เปิดเจ้อะเห้อะ = สีขาวซีด
หมองซ้กต๊ก = ดูเก่า หรือซีด
หม่นโสกโปก = ดูสกปรก สีเทาแก่
หม่นซ้อกป็อก = หม่นมัว สีเทาอ่อน
เส้าแก๊ก = สีหม่นหมองมาก
เส้าตึ้มตื้อ = ใบหน้าหมองคล้ำ สีมืดไม่สดใส
ลายขุ่ยหยุ่ย = ลายพร้อย หรือลายเป็นดอกดวง
ใสอ้อดหล้อด = สดใสแบบอาบน้ำเสร็จใหม่ๆ
ใสโยงโยง = สว่างจ้า
ดำคุมมุม = ดำสลัว
ดำคึลึ = ดำมาก ๆ
ดำขี้ตี้ = ดำจากสีไคล
ดำขะลึงตึง = ดำคล้ำมาก
ดำคิมมิม = ดำกระด่าง
ดำผึดำผึด = ดำมากๆ ดำไปทั่วทั่งหมด
ดำพึ้ด = ดำทั้งแถบ
มอยอ้อดฮ้อด = สีน้ำตาลหม่น
แดงฮ่าม = แดงอร่าม
แดงเผ้อเหล้อ = แดงเป็นจุดใหญ่จุดเดียว
แดงพี่หลี้ = แดงอมชมพู
แดงปะหลึ้ง = แดงจัดมาก
เขียวคึลึ้ = เขียวเข้ม
เขียวคะลึงตึง = เขียวขุ่นข้น
เหลืองเอิ้มเสิ่ม = เหลืองอมส้ม
เหลืองอ่ามห่าม = เหลืองอร่าม