สะล้อ เครื่องดนตรีพื้นเมืองล้านนา ทำจากกะลามะพร้าว เป็นประเภทเครื่องสี
เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสีของล้านนา มีลักษณะคล้ายซออู้ ของไทยภาคกลาง พบว่าในโคลงนิราศหริภุญชัยเรียกเครื่องดนตรีนี้ว่า “ธะล้อ” เครื่องดนตรีนี้น่าจะมาจากภาษาขอมว่า “ทรอ” ซึ่งทางภาคกลางอ่านเป็น “ซอ” แต่ทางล้านนาเสียงอ่านเป็นสองพยางค์ “ทะรอ-ทะลอ-ธะลอ-ธะล้อ-สะล้อ”
กะโหลกซอทำด้วยกะลามะพร้าวตัดปาดกะลาออกเสียด้านหนึ่งแล้วใช้แผ่นไม้บางปิดแทนการขึ้นหนัง คันชักทำด้วยไม้จริงยาวประมาณ 70 ซม. ใช้ขนหางม้าหรือเส้นเอ็นขนาดเล็กสำหรับขึ้นคันชัก เวลาสีคันชักจะแยกออกจากตัวสะล้อ สะล้อโดยทั่วไปจะมีเพียง 2 สาย ทำด้วยลวดโลหะ ลูกบิดมี 2 อัน เจาะรูเสียบทแยงไปในคันทวน ช่างทำสะล้อมีการแกะสลักลวดลายกะโหลกและคันทวนด้วย
จากหลักฐานพบว่าใน โคลงนิราศหริภุญชัย เรียกเครื่องดนตรีนี้ว่า ธะล้อ โดยการสันนิษฐานชื่อที่ใช้เรียกเครื่องดนตรีนี้น่าจะมาจากภาษาขอม ว่า ทรอ ซึ่งทางภาคกลางอ่านว่า ซอ แต่ทางล้านนาแยกเสียงอ่านเป็นสองพยางค์ ทรอ–ทะลอ –ธะลอ –ธะล้อ –สะล้อ
ในปัจจุบันสะล้อที่นิยมใช้อยู่มี 3 ขนาด คือ สะล้อหลวง สะล้อกลาง และสะล้อเล็ก ที่นิยมบรรเลงกันอย่างแพร่หลายคือ คือ สะล้อหลวง และสะล้อกลาง ส่วนสะล้อเล็กไม่ค่อยเป็นที่นิยม
สะล้อหลวง คันทวนยาวประมาณ 75-80 ซม. หน้าซอกว้างประมาณ 13-14 ซม. ลีลาในการบรรเลงไม่ค่อยมีลูกเล่นมากนัก มีลักษณะการไล่เสียงเหมือนกับสะล้อเล็ก แต่เสียงจะทุ้มต่ำกว่า โดยตั้งเสียงแบบลูกสี่ หากเทียบเป็นเสียงสากลคือ สายทุ้มเป็นเสียง ซอล สายเอกเป็นเสียง โดสูง
สะล้อกลาง คันทวนยาวประมาณ 70-75 ซม. หน้าซอกว้างประมาณ 12 ซม. ลีลาในการบรรเลงจะสอดรับกันระหว่างสะล้อหลวง และสะล้อเล็ก ในวงสะล้อซึงทั่วไปนิยมให้สะล้อกลางเป็นตัวขึ้นเพลง และนำเพลง โดยตั้งเสียงแบบลูกสาม หากเทียบเป็นเสียงสากลคือ สายทุ้มเป็นเสียง โดต่ำ สายเอกเป็นเสียง ซอล
สะล้อเล็ก คันทวนยาวประมาณ 65-70 ซม. หน้าซอกว้างประมาณ 10 ซม. ลีลาในการบรรเลงค่อนข้างโลดโผน มีเสียงแหลมเล็ก สอดรับกับเสียงสะล้อกลาง โดยตั้งเสียงแบบลูกสี่ หากเทียบเป็นเสียงสากลคือ สายทุ้มเป็นเสียง ซอล สายเอกเป็นเสียง โดสูง
โดยทั่วไปนิยมบรรเลงร่วมกับซึงเรียกว่า วงสะล้อซึง ซึ่งเป็นวงที่มีเสียงจากเครื่องสายเป็นหลัก นิยมใช้เล่นกันตามท้องถิ่นภาคเหนือทั่วไป จำนวนเครื่องดนตรีที่ใช้ประสมวงนั้นไม่แน่นอน แต่จะมีสะล้อและซึงเป็นหลักเสมอ นอกจากนั้นจะมีเครื่องดนตรีอื่นๆเข้ามาประกอบ เช่น ปี่ก้อย หรือ ขลุ่ย กลองป่งโป๊ง ฉิ่ง ฉาบ นิยมใช้บรรเลงเพลงพื้นบ้านที่ไม่มีการขับร้อง เช่น เพลงประสาทไหว ล่องแม่ปิง เป็นต้น หรือจะบรรเลงเพลงที่มีการขับร้องก็ได้ ในปัจจุบันสามารถใช้บรรเลงเพลงสมัยใหม่ เช่น เพลงลูกทุ่ง ได้อีกด้วย
ประเภทของสะล้อ
๑.สะล้อใหญ่ มี ๓ สาย ตั้งเรียงคู่สี่และคู่สามร่วมกันหากเทียบกับเสียง ดนตรีสากลคือเสียงโด ซอล โด
๒.สะล้อกลาง มี ๒ สาย ตั้งเสียงคู่สี่ เทียบกับเสียงดนตรีสากล สายเอกคือเสียงโด สายทุ้มคือเสียง ซอล
๓.สะล้อเล็ก มี ๓ สาย ตั้งเสียงคู่สาม เทียบกับเสียงดนตรีสากล สายเอกคือเสียงซอล สายทุ่มคือเสียงโด
บทบาทและลีลาของสะล้อแต่ละชนิด
๑. สะล้อใหญ่ มีลักษณะร่วมทางเสียงระหว่างสะล้อเล็กและสะล้อกลางแต่เสียงทุ้มต่ำบทบาทคล้ายคนมีอายุมากไม่ค่อยมีลีลาและลูกเล่นมากนัก
๒. สะล้อกลาง บทบาทคล้ายคนวัยกลางคน มีลีลาสอดรับกับสะล้อใหญ่และสะล้อเล็ก
๓. สะล้อเล็ก บทบาทคล้ายคนคะนอง มีเสียงแหลมเล็ก ลีลาโลดโผนล้อและรับเสียงสะล้อกลาง ซึงและขลุ่ย
ในสมัยพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ท่านเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในวงการนาฏศิลป์และดุริยศิลป์ของล้านนาอย่างยิ่ง วงสะล้อ-ซึง จึงมีบทบาทเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะการบรรเลงประกอบละครร้องและฟ้อนรำ จึงถือได้ว่าเป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับ และแพร่กระจายจากวังสู่ชาวบ้าน อีกประการหนึ่งซึ่งต้องกล่าวถึง คือการใช้วงสะล้อ-ซึง ประกอบพิธีกรรมและความเชื่อ คือบรรเลงประกอบประเพณีฟ้อนผี ซึ่งแต่เดิมไม่นิยมใช้บรรเลงเพราะมีเสียงเบา ภายหลังเมื่อมีเครื่องขยายเสียง จึงทำให้ วงสะล้อ-ซึง มีบทบาทหน้าที่ในพิธีกรรมนี้อีกโสดหนึ่ง
ครูเรืองศิลป์ แนะนำ “สะล้อ”
เล่น สะล้อ โดย ครูแอ๊ด ศูนย์การเรียนรู้เพลงพื้นบ้านล้านนา
ล่องแม่ปิง สะล้อ เป็นเครื่องดนตรีบรรเลงเพลง โดย ครูยิ่ง