วิธีการหา วันเก้ากอง

วิธีการหา วันเก้ากอง ฤกษ์ดี เกณฑ์พิจาราณาสำหรับ ขึ้นบ้านใหม่ เปิดร้าน เปิดสำนักงาน ทำกิจกรรมมงคล วันเก้ากองแบบล้านนา วันไท วันฟ้าตีแส่ง หรือ วันฟ้าตี่แสง วันดิถีทั้ง ๕ วันอมริสสโชค วันหัวเรียงหมอน
วันเก้ากอง คือวันที่คนโบราณกำหนดไว้ในปฏิทินซึ่งมีจำนวนในระบบ ๑๒ วัน เป็นรอบหนึ่ง เพราะฉะนั้นเดือนหนึ่งๆ จะมีวันเก้ากองอยู่ ๒ วัน หรือ ๓ วัน และจะต้องมีความสัมพันธ์กับวันไทตามตารางซึ่งโบราณจารย์กำหนดวันเก้ากองสัมพันธ์กับเดือนและวันไทตามตารางข้างล่างนี้
วันเก้ากองสัมพันธ์กับเดือนและวันไท
เกี๋ยง | ยี่ | ๓ | ๔ | ๕ | ๖ | ๗ | ๘ | ๙ | ๑๐ | ๑๑ | ๑๒ | เดือนของล้านนา |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เม็ด | สะง้า | ไส้ | สี | เหม้า | ยี | เป้า | ใจ้ | ไค้ | เส็ด | เล้า | สัน | วันเก้ากองตรงกับวันไทย |
(สูตรนี้ใช้ได้ทั่วไปทั้งของล้านนา เขินเชียงตุง ลื้อเชียงรุ่ง ลาวหลวงพระบาง แต่ต้องใช้เดือนของใครของมันคิด เดือนล้านนาเร็วกว่าเขินเชียงตุงและลื้อเชียงรุ่ง ๑ เดือน เร็วกว่าลาวหลวงพระบาง ไทยภาคกลาง พม่า และไทยใหญ่ ๒ เดือน) ในเดือนต่างๆ ที่กล่าวมา เมื่อวันเก้ากองตรงกับวันใดจะไม่นิยมเผาศพในวันนั้น ซึ่งคำอธิบายวันเก้ากองกล่าวว่า วันเก้ากอง ทำอะไรที่เป็นงานมงคล เช่น ขึ้นบ้านใหม่ แต่งงาน เอาข้าวใส่ยุ้งฉาง ดี แต่ห้ามเผาศพ เพราะจะทำให้เดือดร้อนแก่ผู้ที่อยู่ข้างหลังและชาวบ้าน จะทำให้เกิดการตายตามกันไปมากจึงไม่นิยมเผาศพในวันนี้
แม้ปัจจุบันก็ยังมีการถืออยู่ วันเก้ากองตามตารางนี้ใช้กันมาแต่โบราณแต่ในปัจจุบันเราไปใช้วันเก้ากองตามเดือนไทเขิน เชียงตุงซึ่งนับเดือนและวันขึ้นแรมต่างกัน บางปีอธิกมาสก็ไม่เท่ากัน อธิกวารก็ไม่เท่ากัน เข้าพรรษา-ออกพรรษาก็ไม่เท่ากันการใช้วันเก้ากองระบบเดียวกันจึงเป็นการไม่สมควร เราควรจะต้องรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของล้านนาไว้ มิให้ถูกทำลาย หากตำราของล้านนาไม่ดีในสมัยโบราณคงมีการเปลี่ยนแปลงโดยนักปราชญ์ผู้รู้ไปนานแล้ว สมัยพระเจ้ากาวิโลรส(พ.ศ. ๒๔๐๐) ได้ออกประกาศห้ามไม่ให้ตีกลองปูชาฉบับเมืองยอง(ตีประกอบฆ้องและฉาบด้วย) ให้ตีฉบับเชียงใหม่เก่าเท่านั้น แสดงว่าการไปใช้จารีตประเพณีของชนชาติอื่นซึ่งแม้จะดีเพียงใดก็เป็นเหตุให้อับอาย ขายหน้าแก่บ้านเมือง จะเห็นว่าแม้แต่เรื่องการตีกลองซึ่งเป็นเรื่องเล็กน้อยก็ยังใช้ตามแบบล้านนา
ดังนั้นหากถึงกับเปลี่ยนแปลงปฏิทินไปใช้อย่างเดียวกับเขิน ลื้อ คงจะเดือดร้อนอย่างใหญ่หลวง เหตุนี้ต่อมาผู้ทำปฏิทินของ ลื้อ เขิน ต้องหันมาทำหน้าเดือนให้ตรงกับเชียงใหม่เนื่องจากเป็นประเทศราชของอาณาจักรล้านนาจนกลายเป็นปี เดือน วันอย่างเดียวกัน ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าไม่มีปฏิทิน เขิน ลื้อ ใช้ในล้านนาอีกหลังจากพ.ศ.๒๔๐๐ เป็นต้นมา
สำหรับปฏิทินที่พิมพ์หน้าเดือนที่เป็นอักษรล้านนานั้นเมื่อได้วิเคราะห์ดูแล้ว ปรากฏว่า สำนักพิมพ์นำเอาปฏิทินเขินมาพิมพ์ ซึ่งปฏิทินเขินได้จัดทำหน้าเดือนไว้ถึง ๓๐๐ ปี แต่ทางสำนักพิมพ์ หรือผู้นำมาพิมพ์ไม่สันทัดในเรื่องปฏิทินคงเคลื่อนแต่เดือน ทางเขินให้เท่าล้านนา แต่ไม่ทันระวังถึงเรื่อง ขึ้นแรม อธิกมาส และอธิกวาร เมื่อคัดลอกมา จึงไม่ตรงกับของล้านนาจริงๆ ซึ่งบางปีล้านนาไม่วางอธิกมาส หรือธิกวารจึงทำให้เดือนขึ้นแรมต่างกันเป็นที่สับสน และที่สำคัญในปีต้นๆ ยังใช้คำ ไทเขินอยู่เช่น คำว่า “เปิก” ก็เป็น “ปึก” ตามสำเนียงไทเขิน ต่อมาปฏิทินเสื่อมความนิยมและไม่พิมพ์อีก
ด้วยเหตุนี้ข้าพเจ้าจึงกลับมาใช้วันเก้ากองตามแบบเดือนล้านนาอย่างเดิม ขอให้ผู้ใช้มั่นใจว่าข้าพเจ้านำเอาจารีตโบราณล้านนาเราเท่านั้น ไม่นำเอาจารีตประเพณีของถิ่นอื่นมาใช้ เพราะข้าพเจ้าถือภาษิตว่า“พ่อแม่ตาย บ่เสียดาย เท่าฮีต” พ่อแม่แม้เรารักเพียงใดวันหนึ่งต้องตาย แต่ “ฮีตฮอย” อย่าให้เราเป็นผู้ทำลายให้ตายไปด้วยน้ำมือเรา
วันเก้ากอง (แบบล้านนา ไม่ใช่แบบเขินเชียงตุง)
มาเลี้ยง
จักได้ทรัพย์สมบัติดังปรารถนา
วันไท
วันไทหรือการนับวันแบบหนไท เป็นการนับวันโดยนำชื่อแม่วันมานำหน้าที่เรียกว่า “แม่มื้อ” และมีชื่อลูกวันตามหลังควบคู่กันไปที่เรียกว่า “ลูกมื้อ” ๖๐ วัน ไม่ซ้ำกัน มีคำอธิบาย ดังนี้
วันฟ้าตีแส่งหรือฟ้าตี่แสง
แส่งนี้ใช้ดูวันสำหรับทำ พิธีมงคลสมรส การสร้างบ้านใหม่ การทำ บุญขึ้นบ้านใหม่ เปิดร้านค้าสำนักงานและโรงทำพิธีทุกชนิด วันนี้เชื่อว่าเป็นวันดีกว่าวันทั้งหลาย กล่าวคือ แม้วันอื่นเช่นวันเม็ง วันไท วันเก้ากอง ฯลฯ จะเป็นวันไม่ดี หากวันฟ้าตี่แสงดีแล้ว ก็จะชนะภัย ชนะความอัปมงคลทั้งปวง หากวันฟ้าตีแส่งไม่ดี วันอื่นจะดีเพียงใดก็พึงงดงานมงคลนั้นเสีย คำทำนายวันฟ้าตีแส่ง มีดังนี้
คำทำนายวันดิถีทั้ง ๕ วันอมริสสโชคและวันหัวเรียงหมอน
เกณฑ์ในการพิจารณาขึ้นบ้านใหม่, เปิดร้านใหม่
๑. ฟ้าตี่แสง เศษ ๒, ๔, ๕, ๖
๒ใ ต้องไม่เป็นวันเสียประจำเดือน
๓. ต้องเป็นเดือนคู่ คือ เดือน ยี่, ๔, ๖, ๘, ๑๐, ๑๒
๔. ถ้าตรงกับวันภัทราดิถี หรือวันเสาร์ยิ่งดี
๕. วันอมริสสโชค วันชัยโชค วันสิทธิโชค วันมหาสิทธิโชค วันราชาโชค
วันชัยโชค คือ วันมีชัย
วันสิทธิโชค คือ วันโชคใหญ่
วันมหาสิทธิโชค คือ วันโชคหลวงมหาวัน
วันราชาโชค คือ วันพระยาโชค
ดูปฏิทินล้านนาได้ที่นี่ ปฏิทินล้านนา 2563 มื้อจั๋นวันดี
ที่มา : http://www.banpaosao.go.th/fileupload/files/tb_files_210_1.pdf