วันดีวันเสีย ตำราล้านนาโบราณ

ตำราปื้นเมืองโบราณ ตำราโบราณเกี่ยวกับ วันดี วันเสีย ฤกษ์งามยามดีล้านนา ในการทำการมงคลของทางภาคเหนือ เพื่อให้เป็นแนวทางในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ
ความเป็นมาของความเชื่อและศรัทธาในสังคมล้านนามีวิวัฒนาการ ก่อนที่คนล้านนาจะหันมานับถือพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด คนล้านนาเชื่อในสิ่งเหนือธรรมชาติ เชื่อเรื่องวิญญาณ นับถือผี บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ว่าสามารถปกป้องคุ้มครองผู้คนในชุมชนให้อยู่เย็นเป็นสุข เวลาคนล้านนาจะประกอบกิจกรรมใด จึงยึดถือในสิ่งที่เป็นสิริมงคล เชื่อในฤกษ์ยามเป็นหลัก วันไหนวันดี วันไหนไม่ดี วันไหน ยามใด ข้างขึ้นหรือแรม เดือนอะไร ทั้งหมดนี้เป็นสำเหนียกของคนล้านนาโบราณเสมอมา
เดือน วันเสีย
เดือน เกี๋ยง ห้า เก้า เสียวัน อาทิตย์ จันทร์
เดือน ยี่ หก สิบ เสียวัน อังคาร
เดือน สี่ แปด สิบสอง เสียวัน พุธ ศุกร์
เดือน สาม เจ็ด สิบเอ็ด เสียวัน เสาร์ พฤหัสบดี
กิจกรรม วันดี
นุ่งผ้าใหม่ อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พฤหัสบดี ศุกร์ –
สระผม อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พฤหัสบดี ศุกร์ เสาร์
ตัดผม อาทิตย์ จันทร์ พฤหัสบดี
ศุกร์ เสาร์ –
ตัดเล็บ จันทร์ พุธ ศุกร์
วันนำโจค ทั้งข้างขึ้น-ข้างแรม
วันเสียตามตำราล้านนาพื้นเมือง ข้างขึ้นและข้างแรม (ของทุกๆ เดือน) ปัยจัยเหตุ
1 ค่ำ จ๊างแก้วขึ้นสู่โรงธรรม ดี
2 ค่ำ ฟังธรรมกล๋างป่าจ๊า ไม่ดี
3 ค่ำ ล้างมือถ้าคอยกิ๋น ดี
4 ค่ำ นอนปล๋ายติ๋นตากแดด ไม่ดี
5 ค่ำ ผีแววล้อมปองเอา ไม่ดี
6 ค่ำ ลงสะเปาไปก๊า ดี
7 ค่ำ เคราะห์อยู่หน้าต๋าจน ไม่ดี
8 ค่ำ สาละวนบ่เมี้ยน ไม่ดี
9 ค่ำ ถูกเสี้ยนพระราม ไม่ดี
10 ค่ำ หาความงามบ่ได้ ไม่ดี
11 ค่ำ ขี้ฮ้ายกล๋ายเป๋นดี ดี
12 ค่ำ บ่มีดีสักอย่าง ไม่ดี
13 ค่ำ จัยยะปราบจมปู ดี
14 ค่ำ สัตถูปองฆ่า ไม่ดี
15 ค่ำ ถูกแม่ผีหลวง ไม่ดี
วันจ๋ม – วันฟู
วันจ๋ม คือ วันเสีย วันไม่ควรทำการอันเป็นมงคลต่างๆ ทุกอย่าง เพราะจะนำไปสู่ความล่มจมหายนะ จะทำการอะไรต้องเลือกทำการในวันฟู คือ วันดี วันที่เฟื่องฟู นำไปสู่ความก้าวหน้า ควรทำการมงคลในวันนี้ วันจมและวันฟูรู้ได้อย่างไร โบราณท่านได้บันทึกไว้เป็นหลักฐานดังนี้
เดือน | วันฟู | วันจ๋ม |
---|---|---|
เกี๋ยง | จันทร์ | ศุกร์ |
ยี่ | อังคาร | อาทิตย์ |
สาม | พุธ | อาทิตย์ |
สี่ | พฤหัสบดี | จันทร์ |
ห้า | ศุกร์ | เสาร์ |
หก | เสาร์ | พุธ |
เจ็ด | อาทิตย์ | พฤหัสบดี |
แปด | พุธ | อาทิตย์ |
เก้า | พฤหัสบดี | จันทร์ |
สิบ | ศุกร์ | อังคาร |
สิบเอ็ด | เสาร์ | พุธ |
สิบสอง | อาทิตย์ | พฤหัสบดี |
วัน ป่ายเข้า-วันป่ายออก(ป่ายเข้าดี)
เดือน | -ป่ายเข้า | -ป่ายออก |
---|---|---|
เกี๋ยง | -เสาร์ | -อาทิตย์ |
ยี่ | -ศุกร์ | -เสาร์ |
สาม | -อาทิตย์ | -จันทร์ |
สี่ | -พุธ | -พฤหัสบดี |
ห้า | -อังคาร | -พุธ |
หก | -พฤหัสบดี | -ศุกร์ |
เจ็ด | -อังคาร | -จันทร์ |
แปด | -พฤหัสบดี | -ศุกร์ |
เก้า | -พุธ | -พฤหัสบดี |
สิบ | -อังคาร | -พุธ |
สิบเอ็ด | -จันทร์ | -อาทิตย์ |
สิบสอง | -อาทิตย์ | -จันทร์ |
วันขึ้นบ้านใหม่ ถ้าเดือนนั้นได้ฤกษ์ตรงวันใดโบราณเปิ้นว่าหื้อทำดังนี้
อาทิตย์ ให้กินข้าว3คำแล้วขึ้นก่อน ดี
จันทร์ เอาของหอมขึ้นก่อน ดีนัก
อังคาร เอาน้ำใส่หม้อใส่ใหขึ้นก่อนดีนัก
พุธ เอาข้าวเปลือกขึ้นก่อนดี
พฤหัสบดี เอาดอกไม้ของหอมใส่ขันขึ้นก่อนดี
ศุกร์ เอาดอกไม้สีขาวใส่ขันขันขึ้นก่อนดี
เสาร์ ทำเป็นโกธแค้นให้ลูกเมียก่อนแล้วขึ้นดี
(ห้ามใช้วาจาดุด่า)
วันปลูกเฮือน (เรือน)
๑.ปลูกเฮือนวันอาทิตย์ | มีเรื่องร้ายอุบาทว์ |
๒.ปลูกเฮือนวันจันทร์ | ทำได้ ๒ เดือน จักได้ลาภใหญ่ |
๓.ปลูกเฮือนวันอังคาร | มักมีความเจ็บไข้ |
๔.ปลูกเฮือนวันพุธ | ได้ลาภ ผ้าผ่อนเพชรแก้วเเหวนเงินทอง |
๕ ปลูกเฮือนวันพฤหัสบดี | จักมีความสุขสำราญ |
๖. ปลูกเฮือนวันศุกร์ | ตุ็กข์สุขมีปอๆ กั๋น |
๗. ปลูกเฮือนวันเสาร์ | จะเกิดโรคภัยไข้เจ็บ |
ตำฮา ขึ้นบ้านใหม่
(วิธีดูฤกษ์วันยามขึ้นบ้านใหม่)
ขึ้นวันอาทิตย์ | กิ๋นข้าวแล้วขึ้น (เอาคนจื้นแก้วหรือคำขึ้นก่อน) |
ขึ้นวันจันทร์ | เอาขันข้าวตอกดอกไม้ขึ้นก่อน |
ขึ้นวันอังคาร | เอาแก้วใส่น้ำขึ้นก่อน |
ขึ้นวันพูธ | เอาข้าวจื้นขึ้นก่อน |
ขึ้นวันพฤหัสบดี | เอาไม้บรรทัด กับหนังสือขึ้นก่อน |
ขึ้นวันศุกร์ | เอาข้าวสาร ขึ้นก่อน |
ขึ้นวันเสาร์ | เอาบ่าหิน กับขาวน ขึ้นก่อน |
วันแป๊ (ชนะ) ยาม
ก่อนจะออกจากบ้านไปที่ไหน ๆ ด้วยความรีบด่วน จะหากฤษ์หายามก็ไม่ทัน มีวิธีแก้ยาม เรียกว่า “ทำวันหื้อแป๊” (ชนะ) ยาม ดังนี้
ไปวันอาทิตย์ | หื้อเอามือลูบหัว ๓ ครั้ง แล้วออกเดินทาง นาคชนะครุฑ |
ไปวันจันทร์ | หื้อเอนหลังนอน ๑ นาที แล้วออกเดินทาง เนื้อชนะเสือโคร่ง |
ไปวันอังคาร | หื้อดื่มน้ำ ๓ กลืน แล้วออกเดินทางเนื้อน้อยชนะราชสีห์ |
ไปวันพุธ | หื้อกินข้าว ๓ กำ แล้วออกเดินทาง พระ ร์ชนะราหู |
ไปวันพฤหัสบดี | หื้อเอาขึ้เถ้ากล๋างเตาไฟทาเเขน แล้วออกเดินทาง งูชนะรู้ง |
ไปวันศุกร์ | หื้อไหว้พระเจ้าก่อน แล้วออกเดินทาง ละมั่งชนะราชสีห์ |
ไปวันเสาร์ | หื้อเอามือตบขา ๓ ครั้ง แล้วออกเดินทาง แมลงภู่ชนะจ๊าง |
ยามแป็ (ชนะ) วัน
ก่อน จะออกจากบ้านก็ดี หรือจะปลูกบ้านใหม่ เข้าบ้านใหม่แต่งงาน ขึ้นบ้านใหม่
ทำการมงคลทุกอย่าง แต่หาวันบ่ได้ มีพิธีดังนี้ หื้อเอาวันยามเป็นเกณฑ์จะเป็นวันไหนก็ได้
วันอาทิตย์ | ยามเที่ยงตรง เจ้ามโหสถชนะ เกวัตตะพราหมณ์ ดี |
ยามพลบคํ่า องค์คุลิมารชนะศัตรู ดี | |
วันจันทร์ | ยามสาย จ๊างชนะราชสีห์ ดี |
ยามเย็น แมลงภู่ชนะจ๊าง ดี | |
วันอังคาร | ยามรุ่งเจ็า พระพุทธเจ้าชนะมาร ดี |
วันพุธ | ยามใกล้จะเที่ยง นกไส้ชนะจ๊างสาร ทรพีชนะพ่อ ดี |
วันพฤหัสบดี | ยามใกล้จะเที่ยง นางอัสสะมุขี ได้พรามหณ์เป็นผัว ดี |
ยามบ่าย บุตรีกํ๋าพร้า ได้ผญาเจ้าเมือง ดี | |
ยามคํ่า พระอินทร์ชนะไอยศวร ดี | |
วันศุกร์ | ยามเที่ยงตรง พระยาวิเทหะราช ได้นางอุทุมพรเป็นมเหสี ดี |
วันเสาร์ | ยามบ่าย พระยากุสลาดได้นางประภาวดีมาเป็นมเหสี ดี |
หลักการเทียบเดือน
ที่ | เดือนสากล
(ไทย) |
เดือนภาคกลาง | เดือนเหนือ
(ล้านนา) |
๑ | มกราคม | ๒ | ๔ |
๒ | กุมภาพันธ์ | ๓ | ๕ |
๓ | มีนาคม | ๔ | ๖ |
๔ | เมษายน | ๕ | ๗ |
๕ | พฤภาคม | ๖ | ๘ |
๖ | มิถุนายน | ๗ | ๙ |
๗ | กรกฎาคม | ๘ | ๑๐ |
๘ | สิงหาคม | ๙ | ๑๑ |
๙ | กันยายน | ๑๐ | ๑๒ |
๑๐ | ตุลาคม | ๑๑ | เกี๋ยง |
๑๑ | พฤศจิกายน | ๑๒ | ยี่ |
๑๒ | ธันวาคม | ๑ | ๓ |
**การนับปี๋ ของล้านนาไทย เทียบกับ ไทยภาคกลาง**
ล้านนาไทย | เดือนภาคกลาง |
ปี๋ไจ้ – หนู | ปีชวด – หนู |
ปี๋เป้า – วัว | ปีฉลู – วัว |
ปี๋ยี – เสือ | ปีขาล – เสือ |
ปี๋เหม้า- กระต่าย | ปีเถาะ – กระต่าย |
ปี๋สี – นาค | ปีมะโรง – งูใหญ่ |
ปี๋ไส้ – งู | ปีมะเส็ง – งูเล็ก |
ปี๋สง้า – ม้า | ปีมะเมีย – ม้า |
ปี๋เม็ด – เเพะ | ปีมะเเม – เเพะ |
ปี๋สัน – วอก | ปีวอก – ลิง |
ปี๋เล้า – ไก่ | ปีระกา – ไก่ |
ปี๋เส็ด – หมา | ปีจอ – สุนัข |
ปี๋ไก๊ – จ๊าง | ปีกุน – หมู |
ความแตกต่างของชื่อปีของล้านนาไทย กับไทยภาคกลางมี ๒ อย่างด้วยกัน คือ ของล้านนาไทยนับเหมือนกัน ไทยภาคกลางนับเหมือนเขมร ซึ่งแตกต่างกันมากคือ ปี๋ไก๊ ของล้านนาไทย หมายถึง จ๊าง ส่วนไทยภาคกลางว่า ปีกุน หมายถึง หมู
วันเก้ากอง วิธีหาวันเก้ากอง
ดูปฏิทินล้านนา 2563 ปฏิทินล้านนา 2563 มื้อจั๋นวันดี ปีชวด พุทธศักราช 2563 ปีกัดใค้ – กดใจ้ จุลศักราช 1381 – 1382 ตัว ปกติมาส อธิวาร อธิกสุรทิน มาสเกณฑ์ 17093 อวมาน 29 หรคุณ 504789 กัมมัชพล 753 อุจจพล 3208 ดิถี 24 วาร 5 คำนวนโดย อาจารย์สนั่น ธรรมธิ สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ดูปฏิทินล้านนา 2562