วัดเชตุพน ตำบลวัดเกตุ อำเภอเมืองเชียงใหม่

0
1334

วัดเชตุพน ตำบลวัดเกตุ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

ที่ตั้ง  : 5 ถนนเชตุพน ตำบลวัดเกต อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50000 สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2380

เหตุที่วัดนี้ได้ชื่อว่า “วัดเชตุพน” เพราะแรกพบสถานบริเวณนี้เป็นป่าทึบและมีคนมาพบ ทรากวัดโบราณอยู่ จึงเรียกกันติดปากว่า เจตะปน ต่อมาจึงได้เปลี่ยนให้ถูกต้องตามภาษาภาคกลางว่า เชตุพน ในสมัยพระมหาทองคำ ศรีวงศ์ นี้เอง วัดเชตุพนเป็นวัดโบราณวัดหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ มีอายุหลายร้อยปีมาแล้วไม่ปรากำชัดว่าสร้างในสมัยใด และใครเป็นผู้สร้าง ซึ่งวัดนี้เคยไกด้ร้างไปสมัยหนึ่งเป็นเวลานานจนเหลือแต่ซากปรากฎแก่ชาวบ้าน เช่น สีมา และฐานอุโบสถ ฐานพระเจดีย์ และฐานพระวิหาร เป็นต้น ให้เห็นเป็นหลักฐาน

ครั้งถึงสมัยพระเจ้าอินทวิทยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ความเจริญก็ได้แผ่ขยายเข้าสู่บริเวณนี้อีกครั้งหนึ่ง มีชาวบ้านไปปักหลักแหล่งทำมาหากินมากขึ้น จนกลายเป็นหมู่บ้านที่พอจะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองและเป็นที่พึ่งทางใจ มีการให้ทานศีลเป็นต้นได้

ราว พ.ศ. 2380 ได้มีพระภิกษุรูปหนึ่งชื่อ “คำ” ท่านเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ และมีศิลาจารวัตรปฏิบัติเคร่งครัดในพระธรรมวินัยมาก ได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดนี้ ได้อบรมสั่งสอนศรัทธาประชาชนในระแวกนี้ที่มาทำบุญ มีการให้ทานเป็นต้น ท่านเป็นผู้ที่ศรัทธาญาติโยมเลื่อมใสและเคารพนับถือมาก คณะศรัทธากลุ่มนี้จึงได้สร้างกุฏิ ไม้กระดานเป็นที่พักอาศัยและได้ร่วมมือกันสร้างวิหารขนาดเล็ก พอเป็นที่ทำบุญทำกุศลได้ด้วย ต่อมาท่านได้ชักชวนคณะญาติโยมให้ร่วมกันสร้างโรงอุโบสถพอเป็นที่ทำอุโบสถสังฆกรรมของสงฆ์ขึ้นขนาดเล็กๆ พอเหมาะกับคณะสงฆ์ทั้งสถานที่จงกรมของท่านด้วย

ต่อมาราว พ.ศ. 2428 ท่านครูบา “หลวงคำ” รูปนี้ก็ได้มรณภาพลง คณะญาติโยมจึงได้ทำพิธีฌาปนกิจศพทำบุญอุทิศถวายแก่ท่านตามประเพณี บริเวณวัดนี้ และนำอัฐิของท่านไปเก็บไว้ที่หน้าโรงอุโบสถ ต่อมาวัดนี้ได้ว่างเจ้าอาวาสลง

คณะญาติโยมผู้ให้การทำนุบำรุงอยู่ก็ได้พากันไปติดต่อขออาราธนานิมนต์พระจากท่านครูบาวัดฝายหิน ให้มาจำพรรษาและให้เป็นที่ได้ทำบุญกุศลของญาติ โยม ท่านครุบาวัดฝายหินจึงได้ส่ง “พระภิกษุคันธา”ให้มาโปรดเมตตา เป็นที่พึ่งทางใจของญาติโยม คณะศรัทธาญาติโยมผู้บำรุงวัดนี้ จึงพร้อมใจกันทำดอกไม้ธูปเทียนข้าวตอก เทียนแพ ไปสักการะและสัมมาท่าน พระภิกษุคันธา มาจำพรรษาที่วัดนี้ ราว พ.ศ.2428 วันอุโบสถท่านก็จัดให้มีการแสดงพระธรรมเทศนาและลงโรงอุโบสถ ฟังพระปาฏิโมกข์สม่ำเสมอมิได้ขาด จนเป็นที่โปรดปรานของเจ้านายผ่ายเหนือและศรัทธาประชาชนทั่วไปเป็นอย่างมาก ประกอบด้วย พ่อเจ้าอินทวิทยานนท์ พร้อมทั้งเจ้านายข้าราชบริภารฝ่ายเหนือมีพระราชชายา เจ้าดารารัศมี พระราชชายาในพระบาทสมเด็จพระปิยมหาราช จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ก็ได้เป็นองค์อุปถัมภ์บำรุงวัดมาตลอด ปี

พ.ศ. 2449 ท่านสังฆราชาที่ 5 (คัน ธา)ได้รับพระราชทานสัญญาบัตร สมณศักดิ์เป็ฯพระครูโพธรังษี และลงไปรับพระราชทานพระสัญญาบัตรพัดยศที่กรุงเทพฯ พร้อมกับท่านครูบาสังฆราชาที่ 1 ครูบาวัดฝายหิน ซึ่งท่านก็ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ มีพระราชทินนามว่า “พระอภัยสารทะ” ตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ ครั้งนี้มีท่านปลัดอินทนนท์เป็นผู้ติดตามเป็นศิษย์อุปฐาก ท่านเล่าให้ฟังว่า เป็นที่โปรดปรานของสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านได้ทรงนำไปดูระเบียบงานนมัสการพระพุทธชินราช ณ วัดเบญจมบพิตร และได้ทรงพระราชทานกลุ่มรูปเรื่อง รามเกียรติ แก่ท่านเจ้าคุณอภัยสารทะและท่านพระครูโพธรังษีด้วย เพื่อนำมาเป็นที่ระลึกรูปละ 15 กลุ่ม ซึ่งยังคงมีอยู่ที่วัดเชตุพน ตราบเท่าทุกวันนี้

เจ้าอาวาสปัจจุบัน
พระมหาวิเศษ ปญฺญาวชิโร เจ้าอาวาสวัดเชตุพน มีลำดับชั้นสมณศักดิ์เป็น เปรียญธรรม 9 ประโยค จบการศึกษาศึกษาระดับปริญญาโท

ลำดับเจ้าอาวาส:
พระราชาเขมากร และดำรงตำแหน่งเป็นรองเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ ฝ่ายสาธารณูปการ และเป็นผู้จัดการของโรงเรียนวัดเชตุพน

แผนที่วัดเชตุพน ตำบลวัดเกตุ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่


วัดที่อยู่ใกล้วัดเชตุพน ตำบลวัดเกตุ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

วัดศรีโขง ตำบลวัดเกตุ อำเภอเมืองเชียงใหม่

วัดเกตุการาม ตำบลวัดเกตุ อำเภอเมืองเชียงใหม่

วัดสันป่าข่อย ตำบลวัดเกตุ อำเภอเมืองเชียงใหม่

วัดฟ้าฮ่าม ตำบลฟ้าฮ่าม อำเภอเมืองเชียงใหม่