วัดเกตการาม ตำบลวัดเกตุ อำเภอเมืองเชียงใหม่

0
1750

วัดเกตการาม ตำบลวัดเกตุ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

ที่ตั้ง : วัดเกตการาม 96 ถนนเจริญราษฎร์ ตำบลวัดเกตุ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50000
วัดเกตการาม ตำบลวัดเกตุ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ วัดราษฏร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย สร้างวัดเมื่อ พ.ศ. 1971 ได้รับพระราชทานพัทธสีมาเมื่อ พ.ศ. 1981

ประวัติวัดเกตการาม
วัดเกตเป็นวัดเก่าแก่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง ตามประวัติวัดบอกว่าสร้างในปี พ.ศ. 1971 สมัยพระเจ้าสามฝั่งแกน กษัตริย์ราชวงศ์มังราย(ครองราชย์ พ.ศ. 1954-1985) พระราชบิดาของพระเจ้าติโลกราช ผู้จัดการก่อสร้างวัดเกตการาม คือ พระยาเมือง พระยาคำ และพระยาลือ เป็นผู้ควบคุมข้าทาสบริวาร 2000 คน เป็นผู้ก่อสร้าง วัดเกตการามได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 1981 สมัยพม่าปกครองเมืองเชียงใหม่ พ.ศ. 2121 วัดเกตุการามยังมีความสำคัญต่อพม่ามาก โดยในสมัยพระเจ้าบุเรงนองทรงบูรณะเจดีย์อีกครั้ง และถวายสิ่งของ ผู้คนเพื่อเป็นข้าพระธาตุวัดเกตอีก200 คน ในการก่อสร้างวัดเกตการามจนถึงปัจจุบันมีอายุรวม 576 ปี

งานสถาปัตยกรรม

1 ศิลาจารึก ตั้งอยู่บนมุขด้านใต้ของพระวิหารจารึกเป็นอักษรฝักขามบนหินทรายแดง กว้าง 58 เซนติเมตร สูง 176 เซนติเมตร หนา 21 เซนติเมตร ด้านหน้าลบเลือนไปหมด เหลือแต่ดวงศิลาจารึก ด้านหลังพออ่านได้ สรุปว่า ศักราช 940 (ประมาณมกราคม – กุมภาพันธ์ ) มีการบูรณะพระเกศธาตุเจดีย์ที่พังลง ศักราช 943 (ประมาณธันวาคม – มกราคม พ.ศ. 2124 )มีงานฉลองพระเจดีย์แจ้งความกว้างความยาวของพระอาราม ถวายคนประมาณ 100 ครอบครัว เป็นข้าวัด พร้อมทั้งแจ้งชื่อหัวหน้าและสมาชิกและครอบครัวด้วย

2 พระเจดีย์ประธานหรือพระธาตุวัดเกต (พระธาตุประจำปีจอ) เป็นปูชนียสถานที่ใหญ่โต คือมีฐานกว้าง 82 ยาว 63 วา มีความงดงาม มีเจดีย์ บริวาร 4 มุม สำหรับเจดีย์บริวารนี้เดิมมีฉัตรแบบเดียวกับของวัดพระธาตุดอยสุเทพ แต่ปัจจุบันสูญหายไป ไม่ทราบว่าใครถอดออกเมื่อใดและด้วยเหตุใด ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าว่า สมัยก่อนเคยเห็นพระธาตุออกมาเที่ยวโดยจะลอยไปทางทิศใต้เพื่อไปเยี่ยมเยือนพระธาตุจอมทอง มีลักษณะเป็นดวงไฟสีเขียงอุ้มฮุ่ม ( สีเขียวเข้มและเย็นแบบป่า ) พระธาตุนี้เสมือนมนุษย์โลก ดังนั้นการสร้างพระธาตุเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์และเดิมองค์พระธาตุเป็นสีตะกั่วตัด เพิ่งมีการนำสีทองมาทาในยุคของท่านพระครูญาณลังการ เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา

3 พระวิหาร สร้างสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน 9 ห้อง มีเสาคู่ในรองรับหลังคาหน้าจั่วและเสาคู่นอกรับแนวหลังคาปีกนกย่อเก็จ 3 ตอน ในแนวตะวันตก – ตะวันออก หัวเสาประดับด้วยแก้วอังวะ ตัวเสามีลายทอง มีประตูทางเข้า 3 ทาง หลังคาทรงจั่วเรียงซ้อนกัน 5 ชั้น ( คำเมืองเรียกว่าซด ) 2 ตับ งดงามยากจะหาวัดใดมาเทียบได้

4 อุโบสถ เป็นทรงเดียวกับพระวิหาร แต่มีขนาดเล็กกว่า ด้านหน้ามีปูนปั้นแบบลายจีนเป็นรูปตัวกิเลนและลูกๆ มีปลาพ่นน้ำ ปูนปั้นที่หน้าต่างและหัวบันไดบูรณะและเปลี่ยนแบบใหม่ เมื่อประมาณ 20 ปีมานี้มีการเปลี่ยนแปลงบานประตูใหม่ บานประตูเก่าถูกนำไปไว้ที่อาคารตุ๊เจ้าหลวงเก่า

5 หอธรรม หอธรรมวัดเกตเป็นอาคาร 2 ชั้น มีขนาดปานกลาง ชั้นบนเป็นไม้ มีระเบียงล้อมรอบ ฝาเป็นลายคำงดงามมาก ด้านในทาด้วยหาง (ชาด) สีแดง ชั้นล่างก่ออิฐฉาบปูนแบบโบราณ มีความเย็นโปร่งพอเหมาะกับการรักษาสภาพของธรรมใบลาน หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินขอ ปลายมนมุงซ้อนกันแบบเกล็ดนาค บนหอธรรมมีแผ่นไม้ปิดทอง จารึกด้วยอักษรล้านนาหรือตั๋วเมือง

6 อาคารศาลาบาตร มีอายุประมาณร้อยปี ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง ลวดลายแบบจีนเป็นรูปไก้ฟ้า ดอกบัวดอกโบตั๋น ต้นสน และทิวทัศน์แบบจีน เดิมเคยมีศาลาหลังใหญ่ที่สร้างคู่กันกับศาลาบาตรนี้อยู่ทางด้านตะวันออกของวัด ภายในมีลวดลายมังกรใหญ่โต สวยงามอลังการมาก แต่ถูกรื้อทิ้งเพื่อสร้างอาคารโงเรียนเทศบาลวัดเกตการาม ศาลานี้ชาวบ้านมักเรียกว่า “ ศาลาเจ๊กอุย” เพราะสร้างโดยนายเหลี่ยว เนียวอุย บรรพบุรุษของตระกูล เหลี่ยวย่งง้วน

7 พิพิธภัณฑ์ วัดเกตการาม พิพิธภัณฑ์วัดเกตการามก่อตั้งขึ้นโดยความร่วมมือของศรัทธาวัดเกต เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2542 มีคณะกรรมการวัดเกตการามเป็นผู้ดูแล อาคารของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้เคยเป็นกุฏิพระครูชัยศีลวิมล (พ.ศ. 2429 – 2500) เรียกกันว่า”โฮงตุ๊เจ้าหลวง”

8 อาคารโรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดเกตุ เป็นศิลปะล้านนาประยุกต์มีบันได 2 ข้างหันหน้าเข้าหากัน บนจั่วหลังคามีไม้กลึง หน้าบันไดเป็นไม้ฉลุลวดลายสวยงาม ตัวอาคารเป็นไม้ เสาเป็นปูน สร้างถวายโดยจีนอินทร์และนางจิบภรรยา เมื่อปี พ.ศ. 2462 อาคารนี้มีความสวยงามกะทัดรัด จนสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชกลมมหาสังฆปรินายก วัดบวรนิเวศได้นำแบบไปสร้างจำลองไว้

9 อัฐเจดีย์ อัฐเจดีย์ที่เรียนรายรอบพระธาตุอย่างเป็นระเบียบ สวยงามด้วยศิลปกรรมที่ประณีต ดูแล้วลงตัวรับกับองค์พระธาตุ อัฐบรรพชนเหล่านี้คือผู้ที่ได้อุปัฏฐากวัดอย่างยิ่งจึงได้รับเกียรติให้สร้างกู่รอบพระธาตุ ปัจจุบันลูกหลานของท่านก็ยังคงมีความผูกพันกับวัดเกตอยู่ มิได้ทอดทิ้งแต่อย่างใด

10 พระพุทธรูป (พระประธานในวิหาร) เป็นพระพุทธรูปสมัยล้านนา ซึ่งรับอิทธิพลมาจากสุโขทัย เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขัดสมาธิราบ ก่ออิฐถือปูน ลงรักปิดทอง หลังพระประธานประดับด้วยพระแผง

เจ้าอาวาสวัดเกตการาม

พระสมุห์ สุรศักดิ์ สนฺติกโก ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็น เจ้าอาวาสวัดเกตการาม (เกตุการาม) ประวัติด้านการศึกษาของพระสมุห์ สุรศักดิ์ สนฺติกโก พระสมุห์ สุรศักดิ์ สนฺติกโก เจ้าอาวาสวัดเกตการาม (เกตุการาม) จบการศึกษาศึกษาระดับปริญญาตรี

ลำดับเจ้าอาวาสวัดเกตการาม
รูปที่ 1 ครูบาอุตม
รูปที่ 2 พระครูชัยศิลวิมล
รูปที่ 3 พระครูญาณลังการ วัดอาวาสวัดเกตการามรูปปัจจุบันคือ พระสมุห์สุรศักดิ์ สันติกโร

แผนที่วัดเกตการาม ตำบลวัดเกตุ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่


วัดใกล้เคียงวัดเกตการาม ตำบลวัดเกตุ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

วัดอุปคุต ตำบลช้างคลาน อำเภอเมืองเชียงใหม่

วัดสันป่าข่อย ตำบลวัดเกตุ อำเภอเมืองเชียงใหม่

วัดศรีโขง ตำบลวัดเกตุ อำเภอเมืองเชียงใหม่

วัดเชตุพน ตำบลวัดเกตุ อำเภอเมืองเชียงใหม่