วัดหนองคำ ตำบลช้างม่อย อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
ที่ตั้ง : วัดหนองคำ ตำบลช้างม่อย อำเภอเมืองเชียงใหม่ 182 ถนนช้างม่อย ตำบลช้างม่อย อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50300
วัดหนองคำ ตำบลช้างม่อย อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ วัดราษฏร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2380 ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2380 ได้รับพระราชทานพัทธสีมาเมื่อ พ.ศ. 2533
วัดหนองคำ ตำบลช้างม่อย อำเภอเมืองเชียงใหม่ 182 ถนนช้างม่อย ตำบลช้างม่อย อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50300 สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2380 ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2380 ได้รับพระราชทานพัทธสีมาเมื่อ พ.ศ. 2533
วัดหนองคำสร้างขึ้นโดยความสามัคคีกันของคณะอุบาสิก อุบาสิกา ชาวปะโอ (ต่องสู้) ผสมไต (ไทใหญ่) และคณะอบาสก อุบาสิกาชาวไทยในเมืองเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ.2380 การได้ชื่อว่าวัดหนองคำ เป็นเพราะในสมัยนั้นพื้นที่ตั้งวัดยังคงเป็นป่า มีบึงกว้างใหญ่ ลึกมาก อยู่ทางทิศเหนือหลังวัด ความกว้างของบึงนั้นกว้างพอๆกับสนามฟุตบอลหนึ่งสนาม ต่อจากบึงใหญ่ก็เป็นหนองน้ำ มีคนเล่าว่าใต้ก้นบึ้งของน้ำนั้นมีทองคำมากมาย ความยาวของหนองน้ำนั้นประมาณ 600 เมตร ซึ่งอ้อมมาทางทิศตะวันออกจรดถนนใหญ่หน้าวัด ทางวัดได้ใช้บึงใหญ่กับหนองน้ำดังกล่าวเป็นกำแพง โดยธรรมชาติ และเป็นเขตของวัดไปด้วยพร้อมกัน อาศัยเหตุนี้จึงเรียกว่า วัดหนองคำ วัดหนองคำได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ.2445 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 11 เมตร ยาว 12 เมตร ในสมยพระสันติละ ชาวปะโอ เป็นเจ้าอาวาส ในอดีต วัดหนองคำขึ้นอยู่กับการปกครองคณะสงฆ์พม่า จึงทำให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจและเรียกวัดนี้ว่า วัดพม่า แต่โดยแท้จริงแล้ว วัดนี้เป็นวัดของชาวปะโอ หรือ ต่องสู้ หรือ ชาวเงี้ยว ที่อยู่ภายใต้การปกครองของคณะสงฆ์พม่าเท่านั้น ซึ่งชาวปะโอนั้นมีประเพณี วัฒนธรรม ของตนเอง (99% เป็นชาวพุทธ และคล้ายคลึกกับชาวล้านนา) มีภาษาพูด / เขียน และมีอัตตลักษณ์เครื่องนุ่งห่มของตนเอง
สถาปัตยกรรม
1 พระสถูป/พระเจดีย์ (พระธาตุ) – เป็นเจดีย์ทรงฐานสูงและสองชั้น โดยมีห้องเล็กๆเพื่อเก็บคัมภีร์และหนังสือใลานต่างๆ
2 พระอุโบสถ สร้างขึ้นเมื่อใด อย่างไร ไม่มีรายละเอียด แต่ได้รับวิสูงคามสีมาเมื่อ 5 กรกฎาคม พ.ศ.2445 เขตวิสูงคามสีมากว้าง 11 เมตร ยาว 12 เมตร ทรงประยุกต์ มีพระประธานในอุโบสถ 3 องค์ เนื้อปูนปั้น
3 พระวิหาร เริ่มสร้างตั้งแต่เมื่อใดไม่มีรายละเอียดแน่ชัด แต่มีการบูรณะซ๋อมแซมครั้งล่าสุด เมื่อ พ.ศ.2471 เป็นอาคาร 2 ชั้น ฐานปูน เครื่องไม้ ทรงศิลปะประยุกต์ โดยช่างชาวปะโอ หรือ ต่องสู้ มีพระประธานใหญ่อยู่บนวิหาร และประกอบด้วยห้องต่างๆ สำหรับพระภิกษุสามเณรสำหรับเป็นที่พักอาศัยส่วนหนึ่ง
ศิลปกรรม
1 พระพุทธรูปสำคัญ นอกจากพระประธานในพระอุโบสถ 3 องค์ และพระพุทธรูปบนวิหารแล้ว ยังมีพระพุทธรูปพร้อมด้วยพระสาวก ทรงโปรดพระโพธิสัตว์สุเมธ ฤษี ไม้ ลงรักปิดทอง ศิลปะแบบพม่า
2 สัตตภัณฑ์ เครื่องบูชา มีพระบัลลังหรือซุ้มสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปหรือชาวปะโอเรียกว่า พระจอง หรือ พระปัลลัง 2 หลัง ทำด้วยไม้ ลงรักปิดทอง มีลักษณะช่อฟ้าใบรกา ระย้อยระย้า อ่อนช้อยงดงามมาก
รูปจิตรกรรม
1 – ดาวเคราะห์ต่างๆ และพุทธประวัติต่างๆ บนฝ้าเพดาน
พระสมุห์อานนท์ อินฺทวํโส ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็น เจ้าอาวาสวัดหนองคำ และยังดำรงตำแหน่งเป็นประธานหน่วยอบรมประชาชน ประวัติด้านการศึกษาของพระสมุห์อานนท์ อินฺทวํโส พระสมุห์อานนท์ อินฺทวํโส เจ้าอาวาสวัดหนองคำ จบการศึกษาศึกษาระดับปริญญาโท จากสถานบันการศึกษามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
ลำดับเจ้าอาวาส:
1. พระจิ๋งต๋า ไม่ปรากฏ พ.ศ.
2. พระกันฑมา ไม่ปรากฏ พ.ศ.
3. พระชวนะ ไม่ปรากฏ พ.ศ.
4. พระอู้ยันตี๋ ไม่ปรากฏ พ.ศ.
5. พระสันติมาละ พ.ศ.2451-2475
6. พระนนตี พ.ศ.2476-2480
7. พระใหญ่ พ.ศ.2481-2482
8. พระสว่าง ธรรมมปาละ พ.ศ.2483-2511
9. พระวิลาส พ.ศ.2512-2516
10.พระปัญญา พ.ศ.2517-2520
11.พระอธิการทังโถ ฐานธมฺโม พ.ศ.2521-2545 1
2.พระอธิการปัญญา ปิยธมฺโม พ.ศ.2545-2554 1
3.พระชัยพร ญาณเมธี พ.ศ.2554 (รักษาการเจ้าอาวาส)
แผนที่วัดหนองคำ ตำบลช้างม่อย อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
วัดใกล้เคียงวัดหนองคำ ตำบลช้างม่อย อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
วัดชมพู ตำบลช้างม่อย อำเภอเมืองเชียงใหม่
วัดอู่ทรายคำ ตำบลช้างม่อย อำเภอเมืองเชียงใหม่