วัดสำเภา ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่ 28 ถนนราชดำเนิน ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50200
ตำนานมูลศาสนา ฉบับวัดป่าแดงหลวงรัตตวมหาวิหารได้กล่าวถึง การสร้างวัดต่างๆ มีความโดยย่อว่า “ปีร้วงไก๊ สักราชได้ 793 ตัว เดือน 7 ดับ (ปีกุน ตรีศก พุทธศักราช 1974 เดือน 7 แรม 14 ค่ำ) ในปีนั้น ชาวเมืองทั้งหลายพร้อมกันปลงพระยาสามฝั่งแกน (กษัตริย์เมืองเชียงใหม่รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงค์มั่งราย) ให้ไปอยู่เมืองยวม (ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน) แล้วอาราธนาเอาลูกท่านชื่อท้าวลกมากินเมืองเชียงใหม่ เดือน 8 ออก 5 ค่ำ เมงวันอังคาร ไทยเต่ายี ยามตูดเช้า (ปีกุนตรีศก พุทธศักราช 1974 เดือนพฤษภาคม ถึงมิถุนายน ขึ้น 5 ค่ำ วันอังคาร เวลา 06.00 -07.30 น.) ลวดอุสาราชาภิเษกได้ชื่อว่า อาทิตตตราชติลก (หนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ เรียก พระเจ้าสิริธรรมจักรพรรดิพิลก เป็นราชกาลที่ 10 แห่งราชวงศ์มังราย) แลท่านรู้ข่าวว่า มหาญาณคัมภีร์เถรไปเอาศาสนา (ประเทศลังกา) มารอด ท่านก็ยินดีมากนัก และพระยาทิตตและมหาเทวี(พระราชมารดา) จึงพร้อมกันหื้อม้างราชมนเฑียรหลังเก่า ไปแปลงที่มหาเถรเจ้าจักอยู่ จึงแต่งพ่อเลี้ยงท่านชื่อ ท้าวเชียงราย ล้านหมื่นสามเด็ก แสนน้ำเผิ้ง เป็นเค้าไปราธนามหาญารคัมภีระเถรเจ้าเป็นเค้าพร้อมทั้งสังฆะทั้งมวล แต่ลำพูนเข้ามาได้ชื่อว่า วัดราชมนเฑียรแล…………… ลุนแต่นั้นมา พระยาจิ่งสร้างศาสนาไปมากมาย ไปทั่วเมืองเวียงพิงค์เชียงใหม่ทั้งมวล 500 อารามก็มีแล……..” ตามหลักฐานดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า วัดสำเภาก็เป็นพระอารามแห่งหนึ่งในจำนวน 500 อาราม ที่พระองค์ทรงโปรดให้สร้างขึ้น ในเขตกำแพงเมืองหลวงชั้นใน จึงเป็นวัดที่มีอายุการสร้างมาช้านานของ นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่โดยแท้ ภัยสงคราม วัดสำเภาแต่ครั้งเมืองเชียงใหม่ถูกพม่ารุกรานทำสงครามแล้วปกครองนาน 200 กว่าปี ก็ไม่ถูกทำลายเสียหาย ครั้นสงครามโลกครั้งที่ 2 เอเชียบูรพา ทหารราบญี่ปุ่น มาอาศัยอยู่นานเกือบ 2 เดือนก็ไม่ทำลาย กลับเคารพสักการะบูชา ถวายอาหารพระเณรเป็นประจำทุกวัน สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น และตอนกลาง ได้รับการซ่อมแซมบำรุงปฏิสังขรณ์ ทะนุบำรุงจากเจ้านายฝ่ายเหนือในกาลต่อมาทุกสมัย แม้บางครั้งบ้านเมืองต้องตกอยู่ภาวะคับขันสงครามก็ยังได้บำรุง ดังปรากฏในคำจารึกฐานพระพุทธรูปวัดสำเภา
ลำดับเจ้าอาวาส:
รายนามเจ้าอาวาสที่ทราบนาม สมัยราชวงศ์มังราย พุทธศักราช 1838 -2101 (ยังไม่พบหลักฐาน) สมัยพม่ารามัญปกครองเชียงใหม่ล้านนา พุทธศักราช 2101 – 2317 (ยังไม่พบหลักฐาน) สมัยกรุงธนบุรี พุทธศักราช 2317 – 2325 (ยังไม่พบหลักฐาน) สมัยรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่ พุทธศักราช 2324 – ปัจจุบัน 1. ธุหลวงพินทา (ครูบาปินตา) พุทธศักราช 2365 มรณภาพ พุทธศักราช 2375
2. เจ้าอธิการ ชื่อ ครูบาญาณะ นิกายเชียงใหม่ ยังไม่ได้พระอุปัชฌษญยะ รองอธิการ ชื่อ ตีก้อน ประมาณ พุทธศักราช 2400
3. พระอธิการปัญญา พุทธศักราช 2468
4. ครูบาผัด (พระเทพวรสิทธิธาจารย์ ได้บอกแก่พระครูสังฆรักษ์ยงยุทธ มีว่า “ก่อนที่ท่านจะมาอยู่ที่วัดสำเภา ครูบาผัดมรณภาพศรัทธาไปนิมนต์ท่านจากวัดพันอ้นมารักษาการเจ้าอาวาส”
5. พระสมุห์ดวงคำ ธมมทินโน นธ. เอก พุทธศักราช 2482 เลื่อนตำแหน่งสมณะศักดิ์เป็นพระครูอุดมวุฒิคุณเลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นพระอุดมวุฒิคุณ เป็นเจ้าคณะจังหวัด เลื่อนสมณะศักดิ์ขึ้นเป็น พระราชพรหมจารย์ สุดท้ายเลื่อนเป็นสมณะศักดิ์ขึ้นเป็น พระเทพวรสิทธาจารย์ มรณภาพ พุทธศักราช 2532
6. พระครูสังฆรักษ์ยงยุทธ ยุตติโก นธ. เอก ปธ. 1-2 รักษาการแทนเจ้าอาวาส ตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน 2533 เป็นเจ้าอาวาส เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2534 มรณภาพเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2544 อายุ 50 ปี พรรษา 30
7. พระอธิการสมพงษ์ อธิจิตโต นธ. เอก เป็นเจ้าอาวาส ตั้งแต่ พุทธศักราช 2545 จนถึงปัจจุบัน