วัดพันตอง ตำบลช้างคลาน อำเภอเมืองเชียงใหม่

0
1605

วัดพันตอง ตำบลช้างคลาน อำเภอเมืองเชียงใหม่ 61 ถนนลอยเคราะห์ ตำบลช้างคลาน อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50100 สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2000

วัดพันตองเดิมชื่อวัดพระงาม ไม่ปรากฎปีที่สร้าง ทราบเพียงว่าได้รับพระราชทานวิสูงคามสีมา พ.ศ.2000 สร้างในสมัยราชวงค์มังราย ครั้นพม่ามาตีเมืองเชียงใหม่ วัดจึงกลายเป็นวัดร้างไปจนถึงสมัยพระเจ้ากาวิละโอรสเจ้าทิพย์ช้างผู้ครองนครลำปางได้ขับไล่พม่าออกจากพื้นที่ได้สำเร็จ และได้ต้อนผู้คนาอยู่ในที่ต่างๆ เช่น ชาวโยนกนคร (เชียงแสน) มาอยู่เมืองเชียงใหม่ ชาวบ้านฮ่อมมาอยู่บริเวณประตูท่าแพ ชื่อวัดพันตองนี้คงเพื้ยนมาจาก “พันทอง” ตามน้ำหนักของทองพันชั่ง ซึ่งเป็นน้ำหนักของพระพุทธรูปองค์หนึ่งที่ชาวบ้านฮ่อมนำมาจากเชียงแสน

ประวัติวัดพันตอง(ทองพันชั่ง)
เมื่อพญากาวิละวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเขลางค์ ได้รับพระบรมราชโองการสถาปนาให้ดำรงตำแหน่ง พระเจ้ากาวิละวงศ์ฯ เจ้าผู้ครองนครพิงค์เชียงใหม่ พ.ศ. ๒๓๒๕-๒๓๕๖ นั้น ครั้นพระองค์ยกทัพมาถึงตำบลป่าซาง ก็ได้หยุดพักทัพไว้เป็นการชั่วคราว ทั้งนี้เพราะพระองค์ดำริว่า เวียงพิงค์นครเชียงใหม่เป็นเมืองใหญ่ แต่มีพลเมืองน้อยไม่พอที่จะใช้คุ้มครองรักษาพ้นจากอริราชศัตรูที่จะมารุกรานได้ ก่อนที่จะยกทัพเข้ามาประทับในเวียงพิงค์เชียงใหม่นั้น พญากาวิละวงศ์ได้ให้ขึ้นไปถวายต้อนเอาชนชาติไทยทางเหนือ เช่น ไทยใหญ่ ไทยลื้อ ไทยยอง ไทยเขิน แห่งแคว้นสิบสองปันนา และไทยเมืองแห่งเวียงเชียงแสน ฯลฯ ให้เอาชนชาติไทยเหล่านี้ไปตั้งถิ่นฐานบ้านช่องอยู่ทั่วไปในบริเวณเวียงพิงค์เชียงใหม่ เช่น พวกไทยใหญ่ ไทยลื้อ อยู่ตำบลช้างเผือก ไทยเขินอยู่ตำบลหายยา ไทยยองอยู่ตำบลสันกำแพง และไทยเมืองจากเวียงเชียงแสนให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ตำบลช้างคลาน และให้พวกชาวมอญที่ติดตามมาจากนครเขลางค์ตั้งบ้านเรือนอยู่ตำบลช้างคลาน ตำบลช้างม่อย การกระทำเช่นนี้เรียกว่า “เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง”
ประชาชนที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในเวียงพิงค์เชียงใหม่ดังกล่าวมานี้ ต่างก็นำเอาวัฒนธรรมประเพณีของตนมาใช้ด้วย เช่น วัดวาอารามและอาหารการกิน เป็นต้น อาหารพวกไทยใหญ่มีจิ้นส้มเงี้ยวและหนังพอง พวกไทยเขินมีเครื่องเขิน เครื่องเงิน พวกไทยยองมีการปลูกฝ้าย ทอผ้า พวกมอญมีขนมเส้น (ขนมจีน) ส่วนพวกไทยเมืองที่มาจากเมืองเชียงแสนนั้น ส่วนมากเป็นศิลปินถนัดในการทำช่อดอกไม้และการแกสลักต่างๆ มีวัฒนธรรมเผ่าหลายอย่าง บางอย่างยังมีชื่อเรียกมาจนถึงทุกวันนี้ เช่น แกงฮังเลเงี้ยว, สื้อ-ผ้าฝ้ายเมือง (เสื้อผ้าหม้อห้อม) อู้คำเมือง (พูดภาษาไทยเมือง) วัดทรายมูลเมือง วัดของชาวไทยเมือง เป็นต้น
สำหรับชาวไทยเมืองที่อพยพมาจากเวียงเชียงแสนนั้น ได้มาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่ที่บ้านฮ่อม หมู่ที่ ๑ ตำบลช้างคลาน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมกับวัดอีก ๔ วัด คือ วัดพันตอง วัดช้างฆ้อง วัดเมืองเลนและวัดร้อยข้อ (ลอยเคราะห์)
ชื่อวัดพันตองนี้คงเพี้ยนมาจากคำว่า “พันทอง” ตามน้ำหนักของทองพันชั่ง ซึ่งเป็นน้ำหนักของพระพุทธรูปองค์หนึ่งที่ชาวบ้านฮ่อมนำมาจากเชียงแสน

ลำดับเจ้าอาวาส:
พระครูสถาพรเขมกิจ ฉายา ฐิตญาโณ เดิมชื่อ เกษม ทิศลังกา อายุ 49 พรรณา 29 วุฒิ นธ.เอก วุฒิสายสามัญ กศม. ปริญญาโท ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดพันตอง ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดเจ็ดยอด พระอารามหลวง เลขานุการรองเจ้าคุณจังหวัดเชียงใหม่ และเลขานุการศูนย์พระปิยัตินิเทศก์จังหวัดเชียงใหม่ สมณศักดิ์ พระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอาราหลวงชั้นโท (ผจล.ชท.) ลำดับเจ้าอาวาสวัดพันตอง 1 พระอธิการสุนทรพจนกิจ ฉายา สุนฺทโร เป็นเจ้าอาวาส พ.ศ. 2470-พ.ศ. 2480 2 พระโพธิรังษี ฉายา พุทฺธิญาโณ เป็นเจ้าอาวาส พ.ศ. 2498-พ.ศ. 2545
3. พระราชเขมากร ฉายา ขนฺติโก เป็นผู้รักษาการแทน พ.ศ. 2545-พ.ศ. 2546
4. พระมหาสมเพชร ฉายา ธมฺมโชโต เป็นผู้รักษาการแทน พ.ศ. 2547-พ.ศ. 2549
5. พระสมุห์ชำนิ ฉายา อริญฺชโย เป็นผู้รักษาการแทน พ.ศ. 2549-พ.ศ. 2551
6. พระครูสถาพรเขมกิจ ฉายา ฐิตญาโณ เป็นเจ้าอาวาส พ.ศ. 2552-ปัจจุบัน

งานสถาปัตยกรรม
1 พระเจดีย์ เจดีย์สร้างเมื่อใดไม่ทราบ แต่รู้ว่าบูรณะซ่อมแซมทาสีใหม่ เมื่อ พ.ศ.2507 และพ.ศ.2550 บูรณะรอบๆเจดีย์และใส่แก้วบนยอดเจดีย์ แบบล้านนาไทย ประดับด้วยดอกรอบๆฐานและข้างเจดีย์
2 พระอุโบสถ สร้างเมื่อใดไม่ทราบ รู้แต่ว่าซ่อมบูรณะเมื่อ พ.ศ.2509 แบบล้านนาไทย ลวดลายงดงามมาก เป็นอุโบสถหลังเล็กและมีความสำคัญมาก มีลักษณะแบบพื้นเมืองเดิมทั้งหมดโดยไม่ได้เปลี่ยนแปลงเลย
3 พระวิหาร ไม่ทราบประวัติชัดเจน แต่ทราบว่ามีการบูรณะ พ.ศ.2596 ติดอยู่ที่หน้าบันและฐานชุกชีวิหาร ส่วนช่อฟ้าซ่อมแซมหลายครั้งแล้วเพราะเป็นไม้ถูกแดดถูกฝนไปตามอายุกาล วิหารหลังนี้น่าจะเป็นศิลปะสมัยเชียงแสน แบบล้านนา หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ตั้งอยู่ด้านหน้าเจดีย์ อันเป็นแบบอย่างแผนผังวัดมาตรฐานของล้านนาทั่วไป สัณนิษฐานว่าวิหารหลังนี้คงเป็นวิหารที่สร้างแทนวิหารหลังเดิม ด้านหน้าเป็นมุขโถง และด้านข้างๆเป็นผังทึบ มีฐานชุกชีประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่เป็นประธาน หลังคาด้านหน้า 2 ซด และมีการซ้อนชั้นของผืนหลังคา 3 ตับ หลังคามุงด้วยกระเบื้องเกล็ดปลา
4 ประตูเทพรักษา สร้างในสมัย หรือ พ.ศ.ใดไม่ทราบ แต่มีความงดงามมาก แบบล้านนาผสมไทยภาคกลาง มีการนำเอาถ้วยมาประดับด้วย

งานศิลปกรรม
1 พระพุทธรูปพระประธาน สร้างในสมัยราชวงค์มังราย จากเรื่องเล่า พระพุทธรูปองค์จริงเป็นทองสำริด ผสมด้วยทองคำเฉาพาะน้ำหนักทองคำหนักพันชั่ง อดีตผู้บริหารวัดนำประดิษฐานไว้ในสถูป พระประธานสร้างด้วยปูนปางมารวิชัย หรือ ปางชนะมาร ศิลปะเชียงแสน หนาตักกว้าง 5 ฟุต สูง 5 ฟุต มีลักษณะสวยงามได้แก่ มีพระเนตรเปิดนิดๆ พระโอษฐ์แย้มน้อยๆ พระพักตร์อิ่มเอิบ ด้วยเหตุนี้องค์พระปฏิมาอันเป็นองค์พระประธานจึงได้นามว่าวัดพระงามพันตอง
2 ธรรมาสน์แบบล้านนา สร้างในสมัยและใครเป็นผู้สร้างไม่ทราบ แต่มีความสวยงามมากไม่มีที่ไหนเหมือน ศิลปะสมัยเชียงแสน ทำด้วยไม้สักลวดลายล้านนาไทย

อาคาร
1 พระอุโบสถ 2509-00-00 สร้างสมัยรัตนโกสินทร์
2 พระวิหาร 2496-00-00 สร้างสมัยรัตนโกสินทร์
3 พระสถูป/เจดีย์ 2507-00-00 สร้างสมัยรัตนโกสินทร์
4 อาคารเอนกประสงค์ 2495-00-00 สร้างสมัยรัตนโกสินทร์
5 โรงเรียนพระปริยัติธรรม 2503-00-00
6 ศาลาบาตร/วิหารคด/ศาลาลาย 2512-00-00
7 ศาลาวัฒนคุณ หรือ ศาลาแดง 2495-00-00 สร้างโดยหลวงนิเทศทาวันการ ซ่อมแซมเมื่อ 26 มกราคม 2555 โดยผศ.คำนึง วัฒนคุณ พร้อมลูกหลาน