วัดพวกช้าง ตำบลหายยา อำเภอเมืองเชียงใหม่

0
1007

วัดพวกช้าง ตำบลหายยา อำเภอเมืองเชียงใหม่ 12 ถ.ศรีดอนไชย ต.หายยา อ.เมือง จ.เชียงใหม่

ประวัติวัดพวกช้าง
วัดพวกช้าง
ตำบลหาย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
ตั้งอยู่เลขที่ ถนนระแกง ซอย-
ปัจจุบันสังกัดคณะสงฆ์มหานิกายหลักฐานบันทึกในสมุดข่อยดำ (ปั๊มหลั่นดำ) เขียนด้วยดินสอแก้ว อักษรไทยยวน (ตั๋วเมือง) ตัวเลขโหรา พบสมุดข่อยเล่มนี้ ณ บนหอไตร วัดโชติการาม เจดีย์หลวงวรวิหาร เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๗
ปริวรรตเป็นอักษรไทย “วัดบัวเงินจอกปอก ตั้งอยู่ในแขวงด้วยประตูหล่ายแกง ใน(กำแพง)เวียงเชียงใหม่ชั้นนอก เจ้าอธิการชื่อ ตุ๊วงสา นิกายน่าน ยังไม่ได้เป็นอุปัจฌายะ รองอธิการชื่อ ตุ๊สิทธิวงสา จำนวนพระลูกวัดในพรรษานี้มี ๔ องค์ พรรษาก่อน ๓ องค์ เณร ๑๑ ตน ขึ้นแก่วัดมหาวัน”
บันทึกในสมุดข่อยดำ (ปั๊มหลั่นดำ) อีกเล่มหนึ่ง อักษรไทยยวน ฯลฯ “…เถิงเมื่อจุฬศกกพทะได้๑๑๙๙ตัวปีเมืองเร้า เดือน ๖ ออก ๙ ค่ำ เมงวัน ๑ ไทยร้วงไก๊ ยามแตรค่ำ (พ.ศ.๒๓๘๑ ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม ข้างขึ้น วันอาทิตย์ ยามแตรค่ำ (เวลา ๑๕.๐๐ – ๑๖.๓๐ น.) ซ่ำมาได้ลีดเหลาบวกคุมสมคองดูแถมใหม่ ยังเส้นกล้านกลมโบสถ และหัววัดทั้งหลวย ทั้งในเวียงนอกเวียงทั้งหมด มีประหมาน (บริบูรณ์, เต็มไม่มีเศษ) เท่านี้แล”
“กลมโบสถ วัดมหาวัน
วัดเชตะวัน
วัดบัวเงิน “จอกปอก”
วัดเมืองวะ” (ร้างไม่ทราบอยู่ที่ไหน)
วัดบัวเงิน วัดจอกปอก หรือวัดพวกช้าง ตามหนังสือประวัติวัดทั้งราชอาณาจักรเล่ม ๙ กองพุทธศาสนาสถาน กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ กรุงเทพฯ ๒๕๓๓ หน้า ๓๗๕ กล่าวว่า … “ที่ดินตั้งวัดนี้มีเนื้อที่ ๓ ไร่ ๒ งาน ๕ตารางวา วัดพวกช้าง สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๐๔๐ (คือสร้างขึ้นสมัยราชวงศ์มังรายในราชกาลของพระเจ้าติลกปนัดดาธิราช หรือ พระเมืองแก้ว กษัตริย์เชียงใหม่ล้านนา) ได้รับพระราชทานวิสูงคามสีมา เมื่อวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๑๖”
วัดบัวเงิน คนทั่วไปเรียนวัดจอกปอกบ้าง วัดพวกช้างบ้าง คำว่า “จอกปอก” มีความหมายที่น่าศึกษา
ตามพจนานุกรมล้านนาไทย ฉบับแม่ฟ้าหลวง กรุงเทพฯ ๒๕๓๓ หน้า ๓๒๔ : แยกเป็นสองคำ อธิบายว่า “จอก” เป็นคำนาม หมายถึง กระจุก – ทำให้ของขมวดกันเข้าเป็นกระจุกผม อย่างจุกผม จุกกระทัยม หรือเป็นห่อที่ใช้ไม้กลัดปลายใบตอง เป็นจุกอย่างห่อขนมใส่ไส้ เป็นต้น เป็นคำนามที่ ๒ เรียนขนมเทียนว่า “เข้าหนมจอก”
หน้า ๗๔๙ “ปอก “ เป็นคำนาม หมายถึงปลาตะเพียนเหลือง ชื่อเรียกปลาน้ำจืดชนิด puntius gonionotus ในวงค์ Cypninide หนวดสั้น เกล็ดสีขาวเงิน ขอบเรียบ ลำตัวป้อมสั้น แบนข้าง เรียกว่า ปลาปอก เป็นคำวลี เรียนแคระ, แกร็น, ค่อม, เตี้ย ,แจ้ กว่าธรรมดา อ้วนเตี้ย เตี้ยสั้น ใช้กับสิ่งที่มีขนาดกลาง ปอกหลอก ก็ว่า ถ้าขนามเล็กใช้ “ปิก” หรือ ปิกหลิก ถ้าขนาดใหญ่ใช้ “ปก” หรือ “ปกหอลก” (เช่น ป๋มปกหลอก)
หน้า ๘๖๐ คำว่า “พวกช้าง” เป็นคำนาม หมายถึง บุคคล หรือกลุ่มบุคคลซึ่งมีหน้าที่ตามกำหนด “ช้าง” พวกช้าง เป็นคำนามคือ นายช้าง, เหล่าช้าง, กองช้าง
สรุป วัดแห่งนี้เป็นวัดเก่าแก่แห่งหนึ่ง ของนครเชียงใหม่ สร้างสมัยราชวงศ์มังราย ตั้งอยู่ทิศอาคเนย์ตะวันออกเฉียงใต้เวียงหลวง ใกล้แจ่งกระตั๊มเป็นวัดขนาดเล็ก ชั้นราษฎร์ ได้รักการทะนุบำรุงสืบต่อกัน
นครเชียงใหม่ตกอยู่ภายใต้การปกครองของเมืองหงสา วัดนี้มิได้ถูกทำลายเหมือนว่าได้รับอุปถัมภ์ด้วยดี ต้นสมัยรัตนโกสินทร์ ปรากฏว่ามีเจ้าอาวาสรูปหนึ่ง เป็นเชื้อชาติจีน อพยพมาจากเมืองธนบุรี พร้องด้วยญาติ ท่านพำนักอยู่ วัดบัวเงิน ชื่อพระภิกษุสุรินทร์
ต่อมาได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส ทรงซึ่งมนต์วิเสส เป็นพระเถระทำน้ำมนต์ขลังกินอาบบำบัดโรคภัยไข้เจ็บหายได้ ศรัทธาญาติโยมเคารพนับถืออดีตหลวงพ่อพระครูสุคันธนคุณ (จันทร์แก้ว สุคนฺโธ) วัดป่าพร้าวนอก เคยเล่าไว้ว่า “ครูบาสุรินทร์ วัดจอกปอก ถือคาถาขึ้นมากนัก น้ำมนต์ของท่านใส่ขวดส่งไปให้ญาติถึงเมืองจีน ท่านใช้มนต์ชื่อ แหพันชั้น ออกเสียงคำเมืองว่า คาถาแห่ปันจั๊น อย่างไรก็ตามได้คัดลอกมนต์บทนี้ไว้ท้ายประวัติวัด เผื่อว่ากุลบุตรเจ้ารูปใด องค์ใด ต๋นใดมีบุญบารมี “ถูกหล้าง” จะได้นำคาถาบทนี้ไปทำน้ำมนต์โปรดศรัทธาญาติโยมไดแหมือนครูสุรินทร์ในปัจจุบันและอนาคต แม้ฆราวาสวิสัยก็ทำได้ เชิญนำไปท่องสาธยายเถิด อาจได้ผลหากบุญบารมีสั่งสมแต่ชาติปากก่อนมาแล้ว ดั่งคำโบราณกล่าวว่า
“บ่าหล้างดีต๋าย ต๋าย
บ่าหล้างดีหาย หาย
บ่าหล้างดีฉิบหาย ฉิบหาย
หน้าต๋ายแต๊แต๊ บ่ต๋ายสักกำ”