วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร

วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1929 ในสมัยพญากือนา กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่งอาณาจักรล้านนา ราชวงศ์มังราย พระองค์ทรงได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุองค์ใหญ่
วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร (คำเมือง: ) พระอารามหลวง ชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่บนยอดดอยสุเทพ เป็นหนึ่งในวัดที่มีความสำคัญมากที่สุดของจังหวัดเชียงใหม่ ก่อสร้างตามแบบศิลปะล้านนา มีเจดีย์ทรงเชียงแสน ฐานสูงย่อมุมระฆังทรงแปดเหลี่ยมปิดด้วยทองจังโก 2 ชั้น ลานเจดีย์เป็นจุดชมทิวทัศน์เมืองเชียงใหม่ ทางขึ้นเป็นบันไดนาคเจ็ดเศียรก่อปูน เจ้าอาวาสรูปปัจจุบันคือพระธรรมเสนาบดี (ธงชัย สุวณฺณสิริ)
ประวัติวัดดอยสุเทพ
วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1929 สร้างมาแล้ว 637 ปี ในสมัยพญากือนา กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่งอาณาจักรล้านนา ราชวงศ์มังราย พระองค์ทรงได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุองค์ใหญ่ ที่ได้ทรงเก็บไว้สักการบูชาส่วนพระองค์ถึง 13 ปี มาบรรจุไว้ที่นี่ ด้วยการทรงอธิษฐานเสี่ยงช้างมงคลเพื่อเสี่ยงทายสถานที่ประดิษฐาน พอช้างมงคลเดินมาถึงยอดดอยสุเทพ มันก็ร้องสามครั้ง พร้อมกับทำประทักษิณสามรอบ แล้วล้มลง พระองค์จึงโปรดเกล้าฯให้ขุดดินลึก 8 ศอก กว้าง 6 วา 3 ศอก หาแท่นหินใหญ่ 6 แท่น มาวางเป็นรูปหีบใหญ่ในหลุม แล้วอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุลงประดิษฐานไว้ จากนั้นถมด้วยหิน แล้วก่อพระเจดีย์สูง 5 วา ครอบบนนั้น ด้วยเหตุนี้จึงห้ามพุทธศาสนิกชนที่ไปนมัสการสวมรองเท้าใน บริเวณพระธาตุ และมิให้สตรีเข้าไปบริเวณนั้น ในปี พ.ศ. 2081 สมัยพระเมืองเกษเกล้า กษัตริย์องค์ที่ 12 ได้โปรดฯให้เสริมพระเจดีย์ให้สูงกว่าเดิม เป็นกว้าง 6 วา สูง 11 ศอก พร้อมทั้งให้ช่างนำทองคำทำเป็นรูปดอกบัวทองใส่บนยอดเจดีย์ และต่อมาเจ้าท้าวทรายคำ ราชโอรสได้ทรงให้ตีทองคำเป็นแผ่นติดที่พระบรมธาตุ
ในปี พ.ศ. 2100 พระมหาญาณมงคลโพธิ์ วัดอโศการาม เมืองลำพูนได้สร้างบันไดนาคหลวงทั้ง 2 ข้าง เพื่อให้ประชาชนขึ้นไปสักการะได้สะดวกขึ้น และกระทั่งถึงสมัยครูบาศรีวิชัย ท่านได้สร้างถนนขึ้นไป โดยถนนที่สร้างนี้มีความยาวถึง 11.53 กิโลเมตร
การประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน
วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร ได้รับการประกาศเป็นโบราณสถานสำหรับชาติ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 ตอนที่ 0ง วันที่ 8 มีนาคม 2478 พร้อมกับวัดอีกหลายแห่งในจังหวัดเชียงใหม่
วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร
พระธาตุประจำปีเกิดปีมะแม เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่มีความสำคัญทางศาสนาและประวัติศาสตร์ของนครเชียงใหม่ ตั้งอยู่บนดอยสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.1927 มีบันไดนาคทอดยาวขึ้นไปสู่วัด 306 ขั้นภายใน วัดเป็นที่ประดิษฐานขององค์เจดีย์ ทรงมอญ ที่ใต้ฐานพระเจดีย์มีพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธ เจ้าบรรจุอยู่ วัดพระธาตุดอยสุเทพมีชื่อ เต็มว่า “วัดพระบรมธาตุดอยสุเทพวรวิหาร” ซึ่งจัดได้ว่าเป็นปูชนียสถานที่ แสดงออกถึงศิลปกรรมล้านนาไทยที่สำคัญ คู่เมืองเชียงใหม่ รอบองค์พระบรมธาตุ ประกอบด้วยสิ่งสำคัญ 5 ประการ ได้แก่
1. ฉัตร 4 มุม ทำด้วยทองเหลือง สร้างโดยพระเจ้ากาวิละ กษัตริย์ผู้ครองนครเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2348 มีความ หมายว่า ฉัตรเป็นสัญลักษณ์ของความร่มเย็น ซึ่งแสดงให้ถึงความสงบร่มเย็นที่ได้รับอิทธิพล มาจาก พระพุทธ ศาสนาที่แผ่ไปในทั้ง 4 ทิศ
2. สัตติบัญชร หรือ รั้วหอก ที่อยู่รอบพระธาตุ ซึ่งมีที่มาจากเหตุการณ์แบ่งพระบรมสารีริกธาตุของโทณพราหมณ์
เมื่อภายหลังการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ เนื่องจากเกิดเหตุการณ์แย่งพระบรมสารีริกธาตุของเมืองต่างๆ เพื่อนำไปไว้บูชาประจำเมือง โทณพราหมณ์จึงทำหน้าที่แบ่ง โดยให้ทหารถือหอกรอบล้อมพระบรมสารีริกธาตุไว้ เพื่อป้องกันการแย่งชิง จึงเป็นที่มาของรั้วหอกรอบพระบรมธาตุ
3. หอยอ ลักษณะเหมือนวิหารขนาดเล็ก ประจำอยู่ 4 ด้าน ของพระบรมธาตุ ภายในมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่มีความหมายถึงการบูชาหรือสรรเสริญคุณของพระพุทธเจ้า (ยอคุณ)
4. หอท้าวโลกบาล ซึ่งเป็นหอยอดแหลมขนาดเล็ก ประจำอยู่ 4 มุมของพระบรมธาตุ หมายถึง ที่ประดิษฐาน
ของท้าวโลกบาลทั้ง 4 ซึ่งเป็นเทพที่ปกปักรักษาสิ่งสำคัญต่างๆ 4 ทิศ ทำหน้าที่รักษาพระบรมธาตุ ได้แก่
– ท้าวกุเวร หรือท้าวเวสสุวรรณ มียักษ์เป็นบริวาร ทำหน้าที่เฝ้ารักษาทิศเหนือ
– ท้าวธตรัฐ มีพวกคนธรรพ์เป็นบริวาร ทำหน้าที่รักษาทิศตะวันออก
– ท้าววิรูฬปักข์ มีฝูงนาคเป็นบริวาร ทำหน้าที่รักษาด้านทิศตะวันตก
– ท้าววิรุฬหก มีอสูรเป็นบริวาร ทำหน้าที่รักษาด้านทิศใต้
5. ไหดอกบัว หรือ ปูรณะฆะฏะ (ปูรณะ แปลว่า เต็ม,สมบูรณ์, ฆฏะ แปลว่า หม้อ) แปลว่า หม้อที่แสดงถึงความ สมบูรณ์ ซึ่งหมายถึงความเจริญรุ่งเรื่องของพระพุทธศาสนาในล้านนาไทย นอกจากนี้พระธาตุดอยสุเทพยัง เป็น จุดชมวิว ที่สามารถมองเมืองเชียงใหม่ได้เกือบทั้งเมืองโดยเฉพาะในยาม ค่ำคืนที่จะมองเห็นแสงไฟนับ หมื่นดวง ท่ามกลางความมืดของกาลเวลา เป็นภาพที่สวยงามน่าจดจำเป็นอย่างยิ่ง และและก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่นักท่องเที่ยว ไม่พลาดที่จะถ่ายรูปคู่กับทิวทัศน์เมืองเชียงใหม่ในเบื้องล่างเพื่อเก็บภาพไว้เป็น ความทรงจำอันน่าประทับใจไม่ว่า จะเป็นช่วงเช้า สาย บ่าย เย็น หรือกลางคืน ที่นี่ก็สร้างความอิ่มใจให้กับนักท่องเที่ยวทุกคนเป็นอย่างมาก
ประเพณีเดินขึ้นนมัสการพระธาตุดอยสุเทพ
กำหนดงาน
วันวิสาขบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6พระครูบาศรีวิชัยได้เปรียบการเดินทางขึ้นวัดพระธาตุดอยสุเทพ ไว้ว่า เป็นเสมือนการเดินทาง ไปสู่การตรัสรู้เป็นพระอรหันต์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยเปรียบเทียบ วัดพระธาตุดอยสุเทพ คือวัดอรหันตาลักษณะการเดินทาง จะเดินด้วยเท้า ถือประทีปธูปเทียนเป็นริ้วขบวน ประกอบด้วย พระสงฆ์เดิน นำหน้าสวดมนต์ และประชาชนเดิน ตามหลัง โดยเริ่มขบวนณ วัดศรีโสดา หรือบริเวณ อนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย แล้วเดินทางขึ้นไปนมัสการ วัดพระธาตุดอยสุเทพ หลังจากนั้นก็ บำเพ็ญศีล วิปัสสนา ทำบุญตักบาตร ในเช้าวันรุ่งขึ้น แล้วจึงเดินทางกลับ จึงถือว่าได้อานิสงส์แรงหรือ ได้ทำบุญมากนั่นเอง
การเดินทางเข้าชมพระธาตุดอยสุเทพมี 2 ทาง คือ
– บันใดนาค เป็นสัญลักษณ์สำคัญแห่งหนึ่งของวัดพระธาตุดอยสุเทพ มีความงดงามทางด้านศิลปะที่ทรงคุณค่า และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ นักท่องเที่ยวผู้มานมัสการพระบรมธาตุ มักจะต้องถ่ายภาพเป็นที่ระลึกที่ด้าน ของ บันใดนาคซึ่งมีทัศนียภาพงดงามและมีเสน่ห์เมื่อมองขึ้นไปตามขั้นใด นักท่องเที่ยวที่มาเยือนครั้งแรกมัก จะเดินขึ้น-ลง ลงบันใดนาคเสมอสามารถเดินทางขึ้น-ลง ได้ตลอดทั้งวัน แต่จะมีการตั้งด่านตรวจของอุทยานฯ ตั้งแต่เวลา 20.00 – 06.00 น.
– รถรางไฟฟัาเปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 06.00 – 18.00 น. ในราคาขึ้น-ลง คนละ 20 บาท(สำหรับคนไทย) และ 50
บาท (สำหรับชาวต่างชาติ) หากเดินทางไปหลังเวลา 18.00 น. ต้องขึ้นทางบันไดเท่านั้นพระธาตุเท่านั้น ข้อมูล เพิ่มเติม http://www.doisuthep.com