วัดป้านปิง ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่ 194 ถนนราชภาคินัย ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50200 โทรศัพท์:053220-812 สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2025
วัดป้านปิง ตั้งอยู่ถนนราชภาคินัย ต.ศรีภูมิ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ เป็นวัดที่ตั้งอยู่ในกำแพงเมืองเก่า เช่นเดียวกับอีกหลายวัด ไม่ว่าจะเป็นวัดอุโมงค์น้อย วัดพันอ้น วัดเชียงมั่น วัดเจดีย์หลวง วัดพระสิงห์ เป็นต้น แสดงว่าวัดนี้ต้องเป็นวัดที่สำคัญวัดหนึ่งของบ้านเมือง และผู้ที่สร้างวัดต้องเป็นเจ้านายที่มีอำนาจราชศักดิ์ที่สูงจนสามารถสร้างเจดีย์ที่มีขนาดใหญ่นี้ได้ พิจารณาจากศิลปะรูปทรงเจดีย์ และองค์พระประธานในวิหาร ทำให้เชื่อได้ว่าวัดนี้สร้างขึ้นในยุคต้นของอาณาจักรล้านนาตั้งแต่สมัยพญามังราย ลงมาถึงสมัยพญาแสนเมือง (ราวพ.ศ.1839-1954) เพราะหลังจากนั้นพระพุทธรูปนิยมสร้างเป็นแบบพระสิงห์สาม ต่อมาราว พ.ศ. 2121 อาณาจักรล้านนาล่มสลายวัดต่างๆจึงชำรุดทรุดโทรมลงรวมทั้งวัดป้านปิงด้วย จนกระทั่ง พ.ศ.2324 อาณาจักรล้านนาได้มีการสถาปนาขึ้นมาใหม่ และราว พ.ศ. 2326 พระเจ้ากาวิละได้เป็นมหาศรัทธาปก (บูรณะ) วัดต่างๆ ขึ้นมาใหม่ ซึ่งคงจะรวมวัดป้านปิงด้วย และจากสมุดข่อยระบุว่า วันเพ็ญเดือน 5 พ.ศ.2382 ได้สร้างและฉลองอุโบสถของวัดขึ้น แต่ก็น่าเสียดายที่ไม่ได้ระบุชื่อเจ้าอาวาสไว้ ต่อมาราว พ.ศ.2399-2413 เจ้าเมืองเชียงใหม่ลำดับที่ 6 ได้สำรวจชื่อวัดในเขตเมืองเชียงใหม่นับตั้งแต่เขตกำแพงชั้นนอกเข้ามาถึงชั้นในและบันทึกเป็นตัวอักษรเมืองไว้ในกระดาษสา ระบุว่าเจ้าอาวาสวัดป้านปิดงช่วงนั้นชื่อว่า พระภิกษุธรรมปัญญา รองเจ้าอาวาสชื่อว่า ตุ๊โพธา นับว่าเป็นครั้งแรกที่มีการบันทึกชื่อเจ้าอาวาสไว้ สำหรับชื่อป้านปิง อันเป็นชื่อวัด แปลว่า ขวาง หรือ กั้นกระแสน้ำปิงให้ไหลไปทางอื่น แต่จากชัยภูมิที่ตั้งของวัดในปัจจุบัน อยู่ห่างน้ำปิงมากพอสมควร ดังนั้นจึงอาจเป็นไปได้ว่าอาจจะเป็นการเรียกที่เพี้ยนออกไป
ลำดับเจ้าอาวาส:
ชื่อ พระอธิการชาลี ฉายา กลฺยาโณ นามสกุล พรหมโสภา วุฒิ นักธรรมเอก ศาสนศาสตร์บัณฑิต จากมาหวิทยาลัยมกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา วัดเจดีย์หลวง ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ตั้งแต่ปี 2551-ปัจจุบัน(2555) สำหรับประวัติเจ้าอาวาสในอดีตนั้น จากหลักฐานที่พบ ราว พ.ศ.2399-2413 เจ้าเมืองเชียงใหม่ลำดับที่ 6 ได้สำรวจชื่อวัดในเขตเมืองเชียงใหม่นับตั้งแต่เขตกำแพงชั้นนอกเข้ามาถึงชั้นในและบันทึกเป็นตัวอักษรเมืองไว้ในกระดาษสา ระบุว่าเจ้าอาวาสวัดป้านปิดงช่วงนั้นชื่อว่า พระภิกษุธรรมปัญญา รองเจ้าอาวาสชื่อว่า ตุ๊โพธา นับว่าเป็นครั้งแรกที่มีการบันทึกชื่อเจ้าอาวาสไว้
งานสถาปัตยกรรม
1 พระสถูป/พระเจดีย์ (พระธาตุ) เจดีย์เป็นทรงแบบล้านนาฝีมือหลวง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยล้านนาตอนต้น ในรัชกาลของพญามัราย ลงมาถึงพญาแสนเมืองมา เป็นแบบฐานสูงย่อมุมไม้ 28 ทรง 12 เหลี่ยม มีฐานกว้าง 10.20 เมตร สูงประมาณ 25 เมตร เจดีย์เป็นทรงล้านนายุคต้น ฝีมือช่างหลวงล้านนา
2 พระวิหาร สร้างในปี พ.ศ.2024 เป็นสถาปัตยกรรมล้านนา
3 ซุ้มเทวดารักษาวิหาร บูรณะขึ้นตามแบบของเก่าตั้งอยู่เชิงบันไดด้านขวาหน้าวิหาร ปัจจุบันวัดในล้านนาที่สร้างหรือบูรณะขึ้นมาใหม่จะไม่มีการสร้างอีกแล้ว ซึ่งซุ้มนี้เป็นความเชื่อและความศรัทราของชาวล้านนา โดยก่อนที่จะขึ้นวิหารต้องจุดธูปเทียน ปักดอกไม้ บอกกล่าวเทวดาที่รักษาวิหารนี้ก่อนพร้อมกับแผ่เมตตาอุทิศส่วนกุศลให้เทวดาด้วย เป็นซุ้มก่ออิฐถือปูนขนาดเล็ก
4 ซุ้มประตูโขงวิหาร สัณนิษฐานว่าเป็นฝีมือช่างหลวง เช่นเดียวกับซุ้มประตูโขงพระอุโบสถของวัดพระสิงห์อย่างแน่นอน เพราะเป็นวัดที่มีการสร้างขึ้นในยุคของพระเข้าช้างเผือกลังกาเหมือนกัน เป็นรูปปั้นลักษณะจีนปูนตำสูตรล้านนา เป็นรูปพญานาคสองตัวหางพันกันเหนือขนดลำตัวสองฟากเป็นยอดเขาหิมพานต์ พร้อมพระอาทิตย์ พระจันทร์ แสดงถึงขอบของจักรวาล ขากรอบประตูมีบัวคว่ำบัวหงายปก นับว่าเป็นสถาปัตยกรรมล้านนาชั้นเลิศชิ้นหนึ่ง
5 ดินจี่ฮ่ออิฐฐานกุฏิ ทางวัดขุดพบจากบริเวณซากฐานกุฏิโบราณเมื่อตอนจะสร้างกุฏิเจ้าอาวาสหลังใหม่เมื่อ พ.ศ. 2475 วัดที่พบอิฐเผาชนิดนี้มี วัดพวกแต้มในเขตกำแพงเมือง พบหลายสิบก้อนและพบอีกเล็กน้อยที่วัดอุโมงค์ เชิงดอยสุเทพ ความสำคัญคือช่างล้านนาโบราณจะใช้สร้างฐานโฮงหลวง (กุฏิเจ้าอาวาส) ซึ่งเป็นอิฐเผาที่เชื่อกันว่าช่างล้านนาเรียนรู้มาจากจีนฮ่อ มณฑลยูนานที่ติดต่อค้าขายกับอาณาจักรล้านนาในยุคต้นๆ จึงเรียกอิฐนี้ว่า ดินจี่ฮ่อ เป็นอิฐดินเผาแบบจีนฮ่อ มีประมาณ 20 ก้อน ที่อยู่สภาพดี แต่ละก้อนยาว 60 ซม. กว้างและหนา 28 ซม.
งานศิลปกรรม
1 พระประธานและพระอันดับด้านขวา เป็นพระสิงห์หนึ่งที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของล้านนา ซึ่งไม่ ปรากฎนามผู้สร้าง เป็นพระพุทธรูปศิลปะแบบเชียงแสนสิงห์หนึ่งที่งดงามมาก บางทีเรียกว่าพระเพชรสิงห์หนึ่ง องค์พระประธานหน้าตักกว้าง 1.70 เมตร องค์รองด้านขวาหน้าตักกว้าง 1.30 เมตร