วัดป่าแดด ตำบลป่าแดด อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
ที่ตั้ง : วัดป่าแดด ตำบลป่าแดด อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50100
วัดป่าแดด ตำบลป่าแดด อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ วัดราษฏร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย สร้างวัดเมื่อปีพ.ศ. 2345 อนุญาติตั้งเป็นวัดเมื่อ พ.ศ. ได้รับพระราชทานพัทธสีมาเมื่อ พ.ศ. 2459
วัดป่าแดด เดิมชื่อว่าวัดดอนแก้ว เหตุที่ชื่อว่าวัดดอนแก้ว ซึ่งในอดีตที่ตั้งวัดมีสภาพเป็นเนินสูง ชาวบ้านจึกเรียกว่า “ดอน” แถบที่บริเวณนี้ยังมีต้นไม้ใบหญ้าขึ้นลกทึบ โดยเฉพาะต้นพิกุล (ต้นดอกแก้ว) ขึ้นอยู่เต็มไปหมด ชาวบ้านเห็นว่าเป็นสถานที่เงียบสงบ เหมาะที่จะเป็นที่ประพฤติปฎิบัติธรรม จึงพากันร่วมแรงร่วมใจ สร้างวัดขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2345 ชื่อว่าวัดดอนแก้ว เหตุที่ต้องถูกเปลี่ยนอีกครั้งเป็นวัดป่าแสด ด้วยเหตุที่ว่าช่วงนั้นวัดดอนแก้ว มีสภาพแวดล้อมเป็นป่าค่อนข้างทึบไปด้วยต้นลาน จะมีสัตว์นา ๆ ชนิดมาอาศัยโดยเฉพาะเวลาค่ำโพ้เพ้ จะมีฝูงนกแสด หรือนกแสก ร้องเสียงดังไปทั่ว (ซึ่งตามคติล้านนาว่าเป็นเสียงบอกรางร้าย) ตามตำนานนกผี หรือนกแห่งความตาย ชาวบ้านจึงเรียกป่าบริเวณนี้ว่าป่านกแสด พร้อมกับวัดดอนแก้ว ที่อยู่บริเวณนั้นจึงถูกเรียกติดกันมาว่าวัดป่านกแสด และวันเวลาของภาษาที่ยาวนาน จึงเพี้ยนจะวัดป่าแสด กลายมาเป็นวัดป่าแดด จนถึงทุกวันนี้
ประวัติวัดป่าแดด จากคำบอกเล่าต่อๆกันมา เมื่อกว่า 700 ปี ก่อนพญามังราย กษัตริย์แห่งโยนกนคร ผู้สืบเชื้อสายมาจากลัวะจักราช ได้แผ่อำนาจมายังลุ่มแม่น้ำกกและเข้ายึดครองเมืองหริภุญไชย อันเป็นเมืองที่มีชัยภูมิดี เป็นศูนย์กลางการค้าและความเจริญ แต่แล้วในปี พ.ศ.1837 ก็ทรงย้ายไปสถาปนาเวียงกุมกาม ในบริเวณที่ราบลุ่ม ริมแม่น้ำปิง (สายเดิม) ให้เป็นเมืองหลวงแห่งแรกของล้านนา ทำให้สถานที่ของวัดดอนแก้วที่นี้ในอดีตเป็นที่ตั้งของอุโบสถ เพื่อสำหรับฟังเทศครั้งสุดท้ายแห่งชีวิตของนักโทษประหาร หรือพวกเชลยศึก ก่อนที่จะถูกประหารโดยอาราถนาพระมหาเถระ จากวัดในเวียงกุมกามราชธานี มาเทศน์โปรดเป็นครั้งสุดท้าย โดยจะพายเรือข้ามฝั่งแม่น้ำปิงมา
ในสมัยก่อนแม่น้ำปิงจะกว้างและมีธารหินซอกหินจะเห็นได้ชัดช่วงฤดูแล้ว และแถบฝั่งนี้เป็นป่าดงดิบ มีเสือสิงห์กระทิงแรดอาศัยอยู่ โดยไม่มีกลุ่มชนพักอาศัยเว้นเสียแต่จะเป็นพวกชนเผ่าต่างๆ ส่วนที่เป็นแดนประหารจะอยู่เหนือเทศบาล แถบสถานฌาปนกิจศพ สุสานท่าวังตาล ถึงสถานฝังศพอิสลาม ณ ปัจจุบัน ทำให้สถานที่นี้เป็นสถานที่อาถรรพ์ เมื่อครั้งอดีตเวียงกุมกามแต่เดิม
ด้วยความเป็นที่ลุ่มน้ำท่วมถึง เมืองหลวงแห่งนี้จึงประสบอุทกภัยในทุกๆปี พญามังรายเห็นดังนี้จึงเชิญพญางำเมืองและพ่อขุนรามคำแหง ผู้เป็นสหายมาร่วมหารือ แล้วโปรดให้สร้างนพบุรีศรีนครพิงค์เชียง ที่มีชัยภูมิดีกว่าเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ และได้เปลี่ยนสถานที่ประหารนักโทษและเชลยศึกจากเดิมไปที่ประตูหายยาแทนที่สถานประหารชีวิตเดิม
หลังจากกาลเวลาผ่านไปหลายร้อยปีสถานที่แห่งนี้ ก็ยังเป็นสถานที่ขึ้นชื่อเรื่องความน่ากลัวและอาถรรพ์ จึงปล่อยให้อุโบสถหลังเดิมที่เคยเป็นสถานที่ฟังเทศโปรดนักโทษประหาร ปล่อยให้ผุพังไปตามกาลเวลา ทำให้การริเริ่มสร้างวัดจึงเบี่ยงไปสร้างวัดใหม่ (ไม่ทราบชื่อ) อยู่ทางทิศตะวนตกของแม่น้ำปิงประมาณ 2 กิโลเมตร และวัดนั้นก็ได้เจริญรุ่งเรืองเป็นศูนย์รวมจิตใจของกลุ่มชนในอดีตกาล อยู่ได้ไม่นานก็ถึงยุคเสื่อม หรือ ด้วยเหตุภัยพิบัติทางธรรมชาติอุทกภัยน้ำท่วมอยู่บ่อยครั้ง เพราะสภาพภูมิทัศน์เป็นที่ราบลุ่มทางชาวบ้านจึงได้พากันย้ายจากวัดเดิมปล่อยให้ทิ้งร้างมาสร้างวัดใหม่ โดยหวนกลับมาสร้างในจุดเดิมของสถานที่แสดงธรรมโปรดนักโทษก่อนถูกประหารชีวิตในครั้งอดีต สมัยพระเจ้ามังรายมหาราช
โดยให้วัดตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำปิงประมาณ 200 เมตร ตั้งชื่อตามสภาพแวดล้อมภูมิลำเนาว่า วัดดอนแก้ว วัดป่าแดด นามเดิมชื่อว่า วัดดอนแก้ว ก่อนที่จะมาเป็นวัดดอนแก้ว เหตุที่ชื่อวัดดอนแก้ว ซึ่งในอดีตก่อนที่จะตั้งวัดในทางพระพุทธศาสนา สถานที่แห่งนี้เป็นที่ราบสูง เป็นเนิน น้ำท่วมไม่ถึงทางเหนือจะเรียกว่า ดอน อันเป็นเหตุผลหนึ่งที่ใช้คำว่า ดอน อีกทั้งสภาพแวดล้อม แถบนี้ยังเต็มไปด้วยป่าทึบล้วนมีต้นไม้ใหญ่น้อยนานาชนิต แต่ที่มีอยู่มากคือ ดอกพิกุล (ดอกแก้ว) ขึ้นอยู่เต็มเป็นที่อาศัยของมวลหมู่สัตว์ใหญ่น้อยนานาชนิด ชาวบ้านเห็นว่าสถานที่นี้เป็นที่สงัดเงียบเหมาะที่จะเป็นสถานประพฤติปฏิบัติธรรม ด้วยเหตุนี้จึงร่วมแรงร่วมใจ สร้างวัดใหม่ด้วยศรัทาหวังที่จะให้เป็นที่พึ่ง เป็นศูนย์รวมจิตวิญญาณ
เมื่อพ.ศ.2345 เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน จากชื่อเดิม วัดดอนแก้ว เหตุที่ต้องเปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น วัดป่าแสด ด้วยเหตุที่ว่าช่วงนั้นวัดป่าแสดเป็นวัดที่สภาพแวดล้อมเป็นป่าค่อนข้างทึบไปด้วยต้นลาน(ต้นใหญ่ใบหนากว้างประเภทเดียวกับต้นตาล) จะมีสัตว์นานาชนิดมาอาศัยโดยเฉพาะเวลาโพ้เพ้ จะมีฝูงนกแสดหรือนกแสก ร้องเสียงดังไปทั่ว (ซึ่งเป็นเสียงบอกรางร้าย) ทำให้เป็นเรื่องเล่าขานตำนาน นกผี หรือ นกแห่งความตาย ที่กล่าวขานเรื่องราวน่ากลัว ชวนขนหัวลุกในคติ ความเชื่อ ของคนล้านนามาช้านาน ด้วยเหตุนี้วัดดอนแก้วจึงเป็นที่กล่าวขานในเรื่องนกแสดหรือนกแสก เมื่อถึงเวลาพระอาทิตย์อัสดงยามค่ำให้ถูกเรียกว่าป่านกแสด ด้วยระยะเวลาเดินทางแห่งภาษาอันช้านานและความจดจำสืบต่อจนเลื่อนลายหายสูญแห่งภาษาอันบรรพบุรุษ ได้สร้างสรรค์ชื่ออันมีความหมาย กลับกลายเป้น ป่าแดด ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจากวัดดอนแก้ว รุ่นแล้วรุ่นเล่า จนกลายเป็น วัดป่าแดด ดังเป็นที่รู้จักและเป็นนามของวัดในปัจจุบัน
งานสถาปัตยกรรม
1 วิหารหลวงลายคำ สร้างเมื่อปี พ.ศ.2549 แล้วเสร็จปี พ.ศ.2555 จุดเด่นของวิหารหลังนี้ได้แก่ภายในวิหารได้มีการวาดภาพพระพุทธรูปสำคัญในล้านนา ภายใต้คติความเชื่อว่าวิหารเป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้า โดยวาดด้วยทองคำเปลว ใช้งบประมาณในการจัดสร้างทั้งหมด 38,923,500 บาท ล้านนาประยุกต์ ภายในเป็นโถงโล่งไม่มีเสา
2 วิหารบ่อน้ำทิพย์ อยู่ระหว่างการก่อสร้าง เริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อ พ.ศ.2553 แล้วเสร็จภายในปี พ.ศ.2555 ใช้งบประมาณก่อสร้างทั้งหมดไม่เกิน 15,636,400 บาท วิหารไม้สักทอง
3 ซุ้มประตูโขงหน้าวิหาร ก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ.2552 – พ.ศ.2553 ใช้งบประมาณก่อสร้าง 746,500 บาท
4 อุโบสถ สร้างเมื่อปี พ.ศ.2459
ทำบุญ วัดป่าแดด เชียงใหม่ ไหว้หลวงพ่อตาหวาน ขอพรพระพิฆเนศ เทพแห่งความสำเร็จ
นักแสดง-ดาราชื่อดังหลาย ๆ คน มากราบสักการะและขอพรหลวงพ่อตาหวาน และพระพิฆเนศ เรื่องความสำเร็จ โชคลาภ ที่วัดป่าแดด จังหวัดเชียงใหม่ ที่นี่คนในวงการดารานักแสดง และเอเจนซี่โฆษณาต่างๆ บูชา ไม่ว่าจะเป็น เหรียญ พระพิคเณศวร์ เหรียญครูบาศรีวิชัย พระพุทธสิหิงค์ลอยองค์ ตระกรุดสาริกาคู่ หรือแม้แต่ ท้าวเวสสุวรรณ ซึ่งเป็นเครื่องราง เสริมความมั่นใจในการใช้ชีวิต
วิหารหลวงลายคำ หลวงพ่อตาหวาน องค์พระประธานวิหารบนวิหารหลวงลายคำ วัดป่าแดด
หลวงพ่อตาหวาน องค์พระประธานที่มีอายุมากกว่า 200 ปี ในวิหารเป็นภาพของพระพุทธรูปล้านนาที่มีชื่อเสียง
หอมหาเทพบูรพาจารย์ องค์พระพิฆเนศอุตรศรีคณปติ
หอมหาเทพบูรพาจารย์เป็นที่ประดิษฐานองค์พระพิฆเนศอุตรศรีคณปติ ซึ่งพระนามขององค์พระพิฆเนศ แปลว่า ผู้ประทานความสำเร็จในทางทิศเหนือ อาคารบนแท่นปูนยกพื้นสูง ออกแบบตกแต่งตามแบบสถาปัตยกรรมล้านนา โดดเด่นด้านสีแดงชาดตัดกับสีทอง
หอพระเพชรกรรมฐาน
เป็นกุฏิไม้สักทองหลังใหญ่ ที่กำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง ด้านในมีพระพุทธรูปประดิษฐาน และมีเสาไม้สักทอง เสาเอก เสาโท
พระครูปลัดพยุงศักดิ์ ธีรธมฺโม มีลำดับชั้นสมณศักดิ์เป็น พระฐานานุกรม ที่พระครูปลัด ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็น เจ้าอาวาสวัดป่าแดด ประวัติด้านการศึกษาของพระครูปลัดพยุงศักดิ์ ธีรธมฺโม พระครูปลัดพยุงศักดิ์ ธีรธมฺโม เจ้าอาวาสวัดป่าแดด จบการศึกษาศึกษาระดับปริญญาตรี จากสถานบันการศึกษามหาวิทยาลัย มหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
รายนามเจ้าอาวาส ลำดับที่ 1-7 ไม่ทราบนามเจ้าอาวาส และมีรายนามเจ้าอาวาสลำดับที่ 8 – 15 ดังต่อไปนี้
8. เจ้าอธิการคุณณา (ครูบาก๋อง)
9. เจ้าอธิการพรหมา อภิวํโส (ครูบาอภิวํ) พ.ศ.2460 – พ.ศ. 2489 มรณภาพ
10.พระอธิการสิงห์แก้ว สิริจนฺโท (3 ปี) พ.ศ.2489 – พ.ศ.2500 มรณภาพ
11.พระครูอินทสมณวัตร พ.ศ.2501 – พ.ศ.2534 มรณภาพ
12.พระใบฎีกาโสภณ สุภทฺโท พ.ศ. – พ.ศ.- ลาสิกขา
13.พระประสงค์ วิสุทธสีโล พ.ศ. – พ.ศ.- ลาสิกขา
14.พระครูปลัดอนุรักษ์ พ.ศ.2546 – พ.ศ.2548 ย้ายวัด
15.พระครูปลัดพยุงศักดิ์ ธีธมฺโม ย้ายมาอยู่วัดป่าแดด เมื่อ 14 มกราคม 2550 รับแต่งตั้งรักษาการเจ้าอาวาสเมื่อ 3 มีนาคม 2550 ถึงปัจจุบัน
แผนที่วัดป่าแดด ตำบลป่าแดด อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
วัดใกล้เคียงวัดป่าแดด ตำบลป่าแดด อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
วัดเทพนิมิตร ตำบลป่าแดด อำเภอเมืองเชียงใหม่
วัดต้นตาลโตน ตำบลป่าแดด อำเภอเมืองเชียงใหม่