วัดดับภัย ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่ 29 ถนนสิงหราช ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50200 โทรศัพท์:053-222-964, 084-175-4558 สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2032
วัดดับภัยสร้างเมื่อไรไม่ปรากฎชัดเจนแต่สันนิษฐานจากวันที่เกิดขึ้นโดยรอบซึ่งเสร้างขึ้นราว พ.ศ.2302-2308 มารุ่งเรืองสมัยพระเมืองแก้ว มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์คือเคยเป็นวัดปกครองระดับมณฑล มีพระพุทธรูปสัมฤทธิ์คนเคารพมากชื่อหลวงพ่อดับภัย ตลอดจนข้าราชการคนไหนที่จะมารับราชการในจังหวัดนี้ต่างมาสักการะหลวงพ่อดับภัยก่อน ลักษณะเฉพาะของวัดคือ เป็นนามมงคล หลังคาวิหารมุงด้วยแป้นเกร็ด มีถนนล้อมรอบวัดโดยไม่ติดบ้านในทิศใดเลย มีญาติโยมมาประกอบกิจกรรมทำบุญตักบาตรทุกวันพระตลอดปี ตลอดจนฟังเทศน์ในฤดูกาลเข้าพรรษาตนเองและกลุ่มหนุ่มสาว ทุกปี
วัดดับภัย ชื่อเดิมคือ วัดอภัย หรือวัดตุงกระด้าง สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2021 ซึ่งตรงกับสมัยอาณาจักรล้านนาราชวงศ์มังรายในยุครุ่งเรือง ตามตำนานเดิมถูกบันทึกไว้ว่า ในสมัยกาลก่อนนั้น มีพระยาท่านหนึ่งที่มีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง จึงได้สร้างพระพุทธปฏิมาเพื่อเป็นที่สักการบูชาขึ้นมาองค์หนึ่งชื่อว่า พระเจ้าดับภัย ไม่ว่าท่านจะย้ายไปอยู่ที่ไหนท่านก็จะอันเชิญพระเจ้าดับภัยไปด้วยทุกที่ เพื่อให้เกิดความเป็นศิริมงคลแก่ตนเองและเหล่าข้าราชบริวาร ต่อมาพระยาอภัยเกิดล้มป่วยลงอย่างหนักซึ่งไม่ว่าจะรักษาด้วยวิธีการใดก็ไม่หายหรือบรรเทาลงได้ พระยาอภัยจึงได้ทำการตั้งจิตอธิษฐานต่อหน้าพระเจ้าดับภัยขอให้ช่วยปกป้องรักษาตนให้หายจากอาการเจ็บป่วย หลังจากนั้นต่อมาพระยาอภัยก็หายจากอาการเจ็บป่วยลงได้อย่างน่าอัศจรรย์ ครั้นในเวลาต่อมาท่านก็ได้พาเหล่าข้าราชบริวารมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บริเวณวัดตุงกระด้าง จึงได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์วัดนี้ให้มีสภาพดียิ่งขึ้น พร้อมกับอัญเชิญพระดับภัยมาประดิษฐานที่วัดแห่งนี้ จึงได้รับการขนานนามใหม่ว่าวัดดับภัยมาจนถึงทุกวันนี้
วัดแห่งนี้มีบ่อน้ำอยู่หน้าวิหาร เชื่อว่าเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ สมัยพระเจ้าอินทวโรรส เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่8 เสด็จกลับจากกรุงเทพฯ ต้องแวะมาวัดดับภัย เพื่อนำน้ำในบ่อนี้ไปสรงน้ำพระพุทธมนต์ วัดดับภัยมีพระพุทธรูปดับภัย (หลวงพ่อดับภัย) ศิลปะเชียงแสน เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่งของนครเชียงใหม่ ขนาดหน้าตักกว้าง 12 นิ้ว และสูงจากฐานถึงพระเมาลี 32 นิ้ว ทำด้วยทองสัมฤทธิ์ สร้างเมื่อ พ.ศ.2238 ตามตำนานกล่าวว่าพระยาดับภัยมีพระพุทธรูปไว้สำหรับบูชา ชื่อว่าหลวงพ่อดับภัย ต่อมาพระยาอภัยได้ล้มป่วยลงจึงตั้งอธิษฐานต่อมาหลวงพ่อดับภัยและได้หายลงอย่างน่าอัศจรรย์ สุดท้ายบั้นปลายชีวิตของพระยาอภัยจึงได้อาราธนามาประดิษฐานอยู่ที่วัดดับภัยตราบเท่าทุกวันนี้ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ.2525 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 15 เมตร ยาว 30 เมตร.
ทวิชวดี
ลักษณะความสำคัญ/จุดเด่น
ความโดดเด่นของวัดแห่งนี้คือ พระดับภัยหรือหลวงพ่อดับภัย ซึ่งเป็นพระพุทธรูปแบบศิลปะล้านนาเชียงแสนยุคแรกๆ หรือเรียกกันอีกอย่างว่าเป็นพระสิงห์ ปางมารวิชัย หล่อขึ้นด้วยทองสัมฤทธิ์ วิหารเป็นทรงพื้นเมือง รวมถึงมีบ่อน้ำอยู่ที่หน้าวิหารซึ่งเชื่อกันว่าเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ เนื่องจากในสมัยพระเจ้าอินทวโรรส เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ 8 เสด็จกลับจากกรุงเทพฯต้องมาแวะที่วัดดับภัยเพื่อนำน้ำในบ่อนี้ไปสรงน้ำพุทธมนต์ก่อนแวะไปวัดเชียงยืนเพื่อสืบดวงชะตา
ลำดับเจ้าอาวาส:
อดีตเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบ 1. ครูบาอริยะ (2298)
2. ครูบาแก้ว
3. พระครูสุกัณธศีล (คำแสน อินทจกฺโก)
4. พระอธิการจันทร์ตา ปญญาธมฺโม
5. พระมหาอดุลย์ ธมฺมสาโร (2502-2515)
6. พระครูปภัศรัตโนภาส (ชม ปภสฺสโร) (2515-2537)
7. พระครูโอภาสปัญกาคม (ทวี ปริชาโน)
8. 2538- ปัจจุบัน พระทวีประสิงห์ ชาวตำบลสันป่ายาง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ เกิด 25 พฤศจิกายน 2594 การศึกษา ป.4 โรงเรียนสันป่ายาง มัธยม โรงเรียนธรรมราชศึกษา วัดพระสิงห์ ปริญญาโท มหาวิทยาลัยนเรศวร จบนักธรรมเอก การบริหาร เจ้าอาวาส ผู้รับใบอนุญาต ผู้จัดการโรงเรียนอภัยอริยศึกษา ของมหาเถรสมาคม รองเจ้าอาวาสคณะตำบลศรีภูมิ สมณะศักดิ์ปัจจุบัน พระครูโอภาสปัญญาคม ชั้นเอก (เจ้าอาวาสวัดราษฎรษ์ ชั้นเอก
งานสถาปัตยกรรม
1 พระสถูป/พระเจดีย์ (พระธาตุ) ไม่ทราบประวัติชัดเจนขององค์เจดีย์ (ธาตุ) มีลักษณะทรงระฆังคว่ำ ข้อกำไล 12 ข้อ ขนาดกว้างฐาน 7×7 เมตร สูง 21 เมตร ปิดทอง แบบล้านนาทั่วไป
2 พระอุโบสถ พ.ศ.2542 พระครูโอภาสปัญญาคม ได้เชิญนายสวัสดิ์ ศรีสุวรรณดี รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่สมัยนั้น มาทำการวางศิลาฤกษ์ พร้อมกับได้ว่าจ้าง นายนิคม ใจอ้าย ช่างบ้านสันป่าตอง มาทำการก่อสร้าง โดยใช้เวลา 6 ปี ได้ทำบุญฉลองเมื่อ 21 มีนาคม 2548 ทรงล้านนาผสมทรงไทย มีความสูงฐาน 2.40 เมตร ตามพระวินัย 24 รูป ลวดลายปูนปั้น หน้าบรรพ์ระยับด้วยลายพุ่มช้างบิณฑ์ และดอกกระถินสีฟ้า ประตู หน้าต่าง แกะสลักทุกบาน นาคทันต์และลายหนุมานลดหลั่นกันไป
3 พระวิหาร สันนิษฐานว่าสร้างพร้อมๆกับวัด แต่ครูบาศรีวิชัยมาบูรณวัดดับภัยราว พ.ศ.2476-2477 ทำให้มีสภาพดีขึ้น ต่อมาปี 2534-2535 พระอธิการบุญชม ได้บูรณะอีกครั้งเป็นการใช้แป้นเกร็ดมุงจึงทำให้มีลักษณะเฉพาะ พ.ศ.2552 พระครูโอกาสปัญญาคม ได้ชักชวนญาติโยมสร้างพญานาคทางบันได 1 คู่ จึงทำให้มีส่วนผสมของศิลปะเดิมและใหม่ มีลักษณะเป็นประยุกต์ไป ทรงเดิมคืนล้านนาแบบแบนราบ โปร่งๆ
4 รูปปั้นซุ้มประตูศิลปะโบราณ ทางวัดเข้าใจว่าช่างที่วัดปราสาท ต.ศรีภูมิ กับช่างซุ้มประตูวัดดับภัยเป็นคนๆเดียวกัน กล่าวคือรูปทรงที่สร้างมีลักษณะคล้ายกันมาก มีนกยูงสลับทั้ง 2 ข้าง ซีกซ้าย-ขวา เช่นกัน พิเศษตามแนวคิดของช่างสมัยล้านนายุคนั้น
งานศิลปกรรม
1 พระพุทธรูปสำคัญ สัณนิษฐานว่าสร้างยุคอาณาจักรล้านนารุ่งเรืองทางศาสนาคือสมัยพระเมืองแก้วครองเมือง 30 ปี เดิมเป็นพระพุทธรูปไม่มีชื่ออะไร ต่อมาพระยาอภัยได้เดินทัพเข้ามาทางมณฑลภายในเกิดล้มป่วย บริวารได้มาอธิษฐานจิตกับพระพุทธรูป ปรากฏว่าได้หายป่วย ชาวบ้านก็เลยให้ชื่อว่าพระดับภัย มีความสำคัญคือประชาชนเคารพนับถือมาก เพราะมีประวัติหลายประการต่อหลวงพ่อดับภัยองค์นี้ตลอดมา ปางสะดุ้งมาร ศิลปะแบบเชียงแสน มือกระดก ลืมพระเนตรทั้ง 2 ข้าง เนื้อทองสัมฤทธิ์ หนักประมาณ 250 กิโลกรัม ขนาด 29 นิ้ว
2 ธรรมาสน์แบบล้านนา นางเตียมต๋า พร้อมลูก สร้างถวายวัด จุลศักราช 1223 ล้านนา แบบคล้ายปราสาทราชวัง
รูปจิตรกรรม
1 – จิตรกรรมฝาผนัง เรื่อง พระเวสสันดร พร้อมพระเจดีย์ 12 องค์ เป็นจิตรกรรมที่วาดขึ้นใหม่ วาดในวิหาร
วัดที่อยู่ใกล้วัดดับภัย ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
วัดปราสาท ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่
วัดผาบ่อง(มังคลาราม) ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่