วัดดอกเอื้อง ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่

0
782

วัดดอกเอื้อง ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่ 3 ถนนราชวิถี ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50200 โทรศัพท์:053-210543 สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2219

ตามคำบอกเล่าของครูบาอาจารย์ ผู้เฒ่าผู้แก่ซึ่งได้เล่าสืบๆกันมาว่า บ้านดอกเอื้องตั้งอยู่ในเขตคูเมืองเก่าด้านทิศตะวันออก ผู้คนส่วนใหญ่มีอาชีพย้อมผ้า เย็บผ้า และปั้นหม้อขาย แม่เอื้อมก็เป้นผู้หนึ่งที่ย้อมผ้า เย็บผ้าขาย กอรปกับเป็นผู้มีจิตรศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก จึงได้รวบรวมปัจจัยสร้างวัดขึ้นมาโดยใช้ชื่อว่าวัดนางเอื้อม ตามชื่อของตน เมื่อปีพุทธศักราช 2219 ซึ่งต่อมาสมเด็จพระพุฒาจารย์ (วน ฐิตญาณมหาเถร) ได้เปลี่ยนชื่อวัดมาเป็นวัดดอกเอื้องในปัจจุบัน

ลำดับเจ้าอาวาส:
1. ไม่ทราบนาม พ.ศ.2219-2450
2. ครูบาก๋อง พ.ศ.2450-2475
3. ครูบาบุญเป็ง อินตสีโล พ.ศ.2475-2500
4. ครูบาศรีแก้ว คนฺธวิโส พ.ศ.2500-2531
5. พระครูโสภิตสีลาจาร พ.ศ.2531-…. พระครูโสภิตสีลาจาร สถานเดิมชื่อ ธรศักดิ์ ปัญญาใจ จบการศึกษานักธรรมเอก, ม.ศ.5 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสในปี พ.ศ. 2532 และดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบลศรีภูมิ เขต 2 ตั้งแต่ปี พ.ศ.2540

งานสถาปัตยกรรม
1 พระเจดีย์องค์ใหญ่ คาดว่าได้ก่อสร้างในสมัยสร้างวัดใหม่ๆ เป็นการก่ออิฐในสมัยโบราณ
2 พระเจดีย์องค์เล็ก คาดว่าน่าจะก่อสร้างพร้อมๆกับพระเจดีย์องค์ใหญ่ ก่อสร้างด้วยอิฐในสมัยโบราณ เป็นการก่ออิฐถือปูน ลวดลายคล้ายศิลปะพม่า ปัจจุบันพระเจดีย์องค์ใหญ่ได้รับการบูรณะโดยฉาบปูนใหม่ ยอดทรงระฆ้งคว่ำ ปิดทองหุ้มจะโก๋
3 พระอุโบสถ พระอุโบสถทรงล้านนา ลวดลายหน้าบรรณของอุโบสถรวมทั้งช่อฟ้า ใบระกา คันทวย เป็นการแกะสลักไม้ลงรักปิดทอง
4 พระวิหาร วิหารหลังปัจจุบันสร้างแทนหลังเดิมที่ทรุดโทรมตามกาลเวลา โดยดำริของพระอธิการธีรศักดิ์ ญาณวีโร (ในขณะนั้น) ใช้เวลาก่อสร้าง 11 เดือน ในปี พ.ศ.2535 งบประมาณก่อสร้าง 6,000,000 บาท วิหารทรงล้านนาประยุกต์ ซุ้มประตู, ซุ้มหน้าต่าง และฐานชุกชี เป็นลายปูนปั้นปิดทอง บานประตู บานหน้าต่างเป็นการแกะสลักไม้ปิดทอง ปูพื้นด้วยหินอ่อน

งานศิลปกรรม
1 ธรรมมาสน์ เป็นธรรมาสไม้ ลวดลายรดน้ำ สีแดงทอง
2 สัตตภัณฑ์ สัตตภัณฑ์ จำนวน 8 หลัง ใหญ่เล็กไม่เท่ากัน สร้างขึ้นโดยคณะศรัทธาในสมัยโบราณ ไม่ทราบปีที่แน่ชัด ไม้แกะสลัก ลงรักปิดทอง
3 ตู้ธรรม ตู้ธรรม (หีบธรรม) จำนวน 5 หลัง สร้างขึ้นโดยคณะศรัทธาสมัยโบราณ ไม่ทราบปีที่แน่ชัด หีบไม้ลงรักปิดทอง, แกะสลัก

รูปจิตรกรรม
1 – พระเวสสันดรชาดก เขียนพร้อมกับการสร้างวิหาร รวมทั้งภาพพุทธประวัติ รวม 17 ภาพ