วัดช่างฆ้อง ตำบลช้างคลาน อำเภอเมืองเชียงใหม่

0
900

วัดช่างฆ้อง ตำบลช้างคลาน อำเภอเมืองเชียงใหม่ ถนนลอยเคราะห์ ตำบลช้างคลาน อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50100 สร้างเมื่อปี พ.ศ. 1900

สร้างเมื่อ พ.ศ1900วัดช่างฆ้องในปัจจุบันเป็นวัดที่ชาวบ้านช่างฆ้อง ที่อพยพมาจากเชียงแสนในราวต้นรัตนโกสินทร์ได้สร้างขึ้น มีเรื่องเล่าว่าในสมัยโบราณบริเวณวัดนี้ชื่อศรีพูนโตแต่เมื่อพวกทำช่างฆ้องได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานในละแวกนี้และได้สร้างวัดขึ้นใหม่ จึงได้นามวัดตามอาชีพของชาวบ้านแถบนี้ ว่า วัดช่างฆ้อง ชาวบ้านช่างฆ้องมีประวัติความเป็นมาตั้งแต่พญามังรายปฐมกษัตริย์ราชวงศ์มังรายผู้ก่อตั้งนครเชียงใหม่ ครั้งหนึ่งเสด็จไปพม่าและได้ช่างศิลป์จากพม่าเป็นจำนวนมากโปรดให้พวกช่างฆ้องไปไว้ที่เชียงแสนและตั้งถิ่นฐานอยู่ที่นั้นเป็นเวลานานถึง 400ปี มาในสมัยพระเจ้ากาวิละเมื่อขับไล่พม่าออกจากเชียงใหม่ได้แล้ว พม่าไปตั้งมั่นอยู่ที่เชียงแสน พระเจ้ากาวิละยกทัพไปตีเชียงแสนครั้งที่2 จึงตีเมืองได้แล้วอพยพชาวเชียงแสนมาเป็นพลเมืองเชียงใหม่พวกช่างฆ้องมาอยู่นอกเมืองทางทิศตะวันออกของเมืองเชียงใหม่ และได้สร้างวัดช่างฆ้องขึ้นบริเวณกำแพงดินในเนื้อที่กว้างขวางมาก แต่ต่อมามีการสร้างถนนตัดผ่านวัด และมีผู้สร้างบ้านเรือนในบริเวณวัด เป็นผลให้เจดีย์และอุโบสถถูกแยกออกเป็นส่วนนอกบริเวณวัดถูกปล่อยทิ้งไว้รกร้างทรุดโทรมลง ทั้งที่เป็นโบราณสถานในสมัยแรกสร้างวัด ปัจจุบันเจดีย์และอุโบสถที่อยู่นอกวัดได้รับการสนับสนุนดูแล พัฒนาทัศนียภาพและภูมิทัศน์ โดยโรงแรมอิมพีเรียลแม่ปิง

วัดช่างฆ้องแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.1900 ในสมัยพระเจ้ากาวิละ โดยชาวบ้านช่างฆ้องที่อพยพมาจากเชียงแสน ราวต้นรัตนโกสินทร์เป็นผู้สร้างขึ้น ทั้งนี้ มีเรื่องเล่าว่าแต่เดิมในสมัยโบราณวัดนี้เรียกกันว่า “วัดศรีพูนโต” แต่เมื่อพวกช่างทำฆ้องได้พากันอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณนี้ จึงได้มีการสร้างวัดขึ้นใหม่ และตั้งชื่อวัดตามอาชีพของชาวบ้านแถบนี้นั่นเอง อย่างไรก็ตาม วัดนี้ตกอยู่ในสภาพทรุดโทรมมาระยะหนึ่ง จนกระทั่งได้รับการบูรณะในสมัยพระเจ้ามโหตรประเทศ เมื่อปี พ.ศ.2391 โดยภายในวัดมีสิ่งที่น่าสนใจมากมายน่าชม

· หอไตรโบราณ อายุกว่าร้อยปี ซึ่งเป็นหอไตรแห่งเดียวของเชียงใหม่ที่มีลักษณะเป็นตึกสองชั้น ตกแต่งด้วยลายปูนปั้นและไม้ฉลุที่มีเอกลักษณ์เฉพาะโดยผสมผสานระหว่างไทย จีน และพม่า

· พระวิหาร เป็นทรงล้านนา หน้าบันประดับรูปช้างสามเศียร เทวดา และลวดลายพรรณพฤกษา ผนังมีจิตรกรรมเรื่องพระเจ้าสิบชาติ และพุทธประวัติ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย

· กำแพงดิน เป็นกำแพงเมืองชั้นนอกของเมืองเชียงใหม่ มีจุดเริ่มที่แจ่งศรีภูมิ คือ มุมกำแพงเมืองชั้นใน ด้านตะวันออกเฉียงเหนือ เลื้อยยาวลงมาทางใต้แล้วอ้อมวกขึ้นไปบรรจบกับมุมกำแพงเมืองชั้นใน ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ที่เรียกว่า แจ่งกู่เฮือง คาดว่า กำแพงนี้สร้างขึ้นพร้อมกับกำแพงเมืองชั้นในตั้ งแต่ครั้งสร้างเวียง เมื่อ 700 ปีที่แล้ว

· เจดีย์องค์เก่า เป็นเจดีย์ทรงปราสาทที่สร้างพร้อมกับการสร้างวัดปัจจุบันโดยตั้งอยู่ภายนอกบริเวณวัด ส่วนเจดีย์องค์ที่อยู่ภายในวัดนั้นเป็นเจดีย์ทรงกลมแบบพื้นเมืองล้านนา ฐานล่างเป็นฐานเขียงเรียบ ถัดขึ้นไปเป็นฐานสี่เหลี่ยมย่อมุมมาลัยเถาเป็นเหลี่ยม องค์ระฆังกลมส่วนยอดมีฉัตร มุมทั้งสี่ของเจดีย์มีสิงห์ปูนปั้นแบบพม่า

กำแพงดิน เป็นกำแพงเมือง ชั้นนอก ของเมืองเชียงใหม่ มีจุดเริ่ม ที่แจ่งศรีภูมิ คือ มุมกำแพงเมืองชั้นใน ด้านตะวันออกเฉียงเหนือ เลื้อยยาวลงมาทางใต้ แล้วอ้อม วกขึ้นไป บรรจบกับ มุมกำแพงเมืองชั้นใน ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ ที่เรียกว่า แจ่งกู่เฮืองคาดว่า กำแพงนี้ สร้างขึ้นพร้อมๆ กับ กำแพงเมืองชั้นใน แต่ครั้งสร้างเวียง เมื่อ 700 ปีที่แล้ว
นั่นเป็นความสำคัญ ในฐานะโบราณสถาน ซึ่งแทบไม่เหลือซาก ให้เห็นในปัจจุบัน ในความรับรู้ ของคนที่เดินผ่านไป ผ่านมากำแพงดิน ไม่ได้สลักสำคัญ อะไรนอกจากเป็นแนวเนินดินรกร้าง ที่คนยากไร้ บุกรุก เจาะเข้าไปจับจองที่มีความน่าสนใจ
อาณาเขตของวัด ถูกแบ่งแยกด้วยชุมชน ที่มาใช้พื้นที่ของวัด และกลายเป็นร้านค้าที่ไม่สามารถถอดถอนได้ จึงทำให้บริเวณวัดเก่า ซึ่งมีพระอุโบสถเก่า และเจดีย์ ถูกกั้นด้วย ชุมชน และถนน และอยู่ในความดูแลของ โรงแรมอิมพีเรียลแม่ปิง
อุโบสถและ สถานที่สวยมาก แต่กลายเป็นเหมือน สวนสาธารณะไปแล้ว
วิหารทรงพื้นเมืองประยุกต์ หน้าบัน ทำลวดลายเป็นรูป ช้างสามเศียรตรงกลาง มีลายเทวดาและลายพรรณพฤกษา ปิดทอง จากการซ่อมแซมบูรณะบริเวณป้านลมส่วนบนจะทำขอบด้วยปูนทับบริเวณกรอบของ ป้านลม คันทวย ทำเป็นลายอ่อนโค้งแบบ
ศิลปะภาคกลาง ภายในวิหารมีจิตรกรรมฝีมือช่างพื้นบ้านเขียนเรื่องพระเจ้าสิบชาติ

เจดีย์องค์เก่าเป็นเจดีย์ทรงปราสาทที่สร้างพร้อมกับ การสร้างวัด ปัจจุบันอยู่ภายนอกบริเวณวัดเจดีย์องค์ที่อยู่ภายในวัด เป็นเจดีย์ทรงกลมแบบ พื้นเมืองล้านนา ฐานล่างเป็นฐานเขียงเรียบถัดขึ้นไปเป็นฐานสี่เหลี่ยมย่อมุม มาลัยเถาเป็นเหลี่ยม องค์ระฆังกลมส่วนยอดมีฉัตร มุมทั้งสี่ของเจดีย์มีสิงห์ปูนปั้นแบบพม่า
ภายในวัดมีหอไตร ซึ่งเป็นตึกสองชั้นตกแต่งด้วยลายปูนปั้นและไม้ฉลุ เป็นศิลปะผสมระหว่างจีนและพม่าด้านนอกอาคาร มีภาพวาดจิตรกรรมฝาผนัง เรื่องพระเจ้าสิบชาติ ฝีมือช่างพื้นบ้าน ซึ่งยังคงสมบูรณ์อยู่หอไตร เป็นหอไตรที่มีลักษณะพิเศษ มีการประดับตกแต่งลวดลาย ที่ลักษณะผสมผสานระหว่างศิลปะจีนกับศิลปะพม่า ที่งดงามมากแห่งหนึ่ง

ลำดับเจ้าอาวาส:
พระปลัดดุสิต ชินปุตโต เดิมชื่อ ดุสิต ดงรัก เกิดวันที่ 7สิงหาคม 2516 บรรพชา 3มิถุนายน 2529 อุปสมบท 26กรกฎาคม 2536 2542เป็นสมุหฐานาของพระนิกรมมุนี 2544เป็นพระปลัดฐานาของพระนิกรมมุนี 2544เป็นเจ้าอาวาสวัดช่าฆ้อง 2547เป็นเลขานุการ ตำบลช้างคลาน นท.เอก ปริญญาตรี

งานสถาปัตยกรรม
1 เจดีย์องค์เก่าเป็นเจดีย์ทรงปราสาท เป็นเจดีย์ทรงปราสาท ที่สร้างขึ้นพร้อมกับการสร้างวัดปัจจุบันอยู่นอกบริเวณวัดฝั่งโรงแรมอิมพีเรียลแม่ปิง
2 เจดีย์องค์ที่อยู่ภายในบริเวณวัด เป็นเจดีย์ทรงกลมแบบพื้นเมือง ฐานสี่เหลี่ยมเก็จองค์ระฆังกลม ที่ฐานมีปูนปั้นรูปสิงห์อยู่ทั้งสี่ทิศ
3 วิหารทรงพื้นเมือง วิหารทรงพื้นเมือง หลังคาซ้อนชั้นหลายชั้น หน้าบันทำลวดลายเป็นรูปช้างสามเศียรตรงกลางมีลวดลายเทวดาและลายพรรณพฤกษาประกอบ จากการซ่อมแซมบูรณะบริเวณป้านลมส่วนบนจะทำขอบด้วยปูนทับบริเวณกรอบของป้านลม ภายในวิหารมีจิตรกรรมฝีมือช่างพื้นบ้านเขียนเรื่องพระเจ้าสิบชาติหรือเรียกว่าทศชาติ
4 อุโบสถ เป็นพระอุโบสถเก่าที่สร้างขึ้นพร้อมกับการสร้างวัดปัจจุบันไม่ได้ใช้งานและอยู่นอกบริเวณวัดฝั่งโรงแรมอิมพีเรียลแม่ปิงเป็นอุโบสถที่มีคุณค่าแห่งหนึ่ง
5 หอไตร หอไตรมีลักษณะพิเศษมีการประดับตกแต่งลวดลายที่มีลักษณะผสมผสานระหว่างศิลปะจีนกันศิลปะพม่าที่งดงามแห่งหนึ่ง มีการบูรณปฏิสังขรณ์หลายครั้ง