วัดควรค่าม้า ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่ 143 ถนนศรีภูมิ ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50200 สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2305
วัดควรค่าม้าสร้างเสร็จ เมื่อ พ.ศ. 2035 ประวัติความเป็นมาของวัดไม่ปรากฏชัดเจน เพราะไม่มีหลักฐานที่แน่นอน มีแต่คนเฒ่าคนแก่เล่าสืบต่อกันมาเพียงย่อๆ ว่าเนื่องจากพื้นที่ส่วนนี้เป็นสวนของบุคคลหนึ่ง เจ้าของสวนได้เลี้ยงม้าไว้เพื่อแบกของไปค้าขายตามบ้านใกล้บ้านไกล อยู่มาวันหนึ่งม้าที่แสนรักและหวงแหนได้ล้มตายจากไป ด้วยความอาลัย และสงสารคิดเสียดายม้า จึงตัดสินใจถวายที่แปลงนี้ให้เป็นที่ของวัดให้สมกับราคาคุณค่าของม้า ตอนหลังมา พ.ศ.ไม่ปรากฏ วัดนี้จึงเปลี่ยนชื่อมาเป็นวัดควรค่าม้าตราบเท่าทุกวันนี้
วัดควรค่าม้า เป็นวัดที่เงียบสงบ มีขนาดพื้นที่ไม่มากนัก ตั้งอยู่ถนนศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
วัดแห่งนี้หาได้ไม่ยาก มีจุดสังเกตคือรูปปั้นม้าขนาดใหญ่สีทองอยู่ตรงริมประตูทางเข้าวัดด้านหน้า
ประวัติความเป็นมาของวัดไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัด กล่าวกันว่าสร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๐๓๕ หรือเมื่อประมาณ ๕๒๐ ปีที่ผ่านมา
คนเฒ่าคนแก่เล่าสืบต่อกันมาเพียงย่อๆว่า พื้นที่ส่วนนี้เป็นของคนเลี้ยงม้าเป็นพาหนะค้าขาย ต่อมาม้าของแกได้ล้มตายลง
ด้วยความอาลัยม้าแกเลยตัดสินใจอุทิศที่แปลงนี้ให้เป็นวัด สร้างวัดเพื่อระลึกถึงม้า เดิมชื่อวัดคุณค่าม้า ต่อมาเพี้ยนเป็นวัดควรค่าม้า
สินธพกุญชร ม้าหัวช้าง : ตัวเป็นม้า ขาและหางเป็นม้า
ภาพจาก พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ อุดมคติของศาสนาที่ถูกถ่ายทอดลงสู่งานศิลป์
เว็บไซท์ “สุขใจดอทคอม”
ม้า
ในประวัติศาสตร์ ตำนาน และวรรณกรรม
เรื่องราวของ “ม้า” ในประวัติศาสตร์ไทย ปรากฏชัดว่ามีการใช้ม้าอยู่สามเรื่องหลักๆ ได้แก่ ใช้เป็นพาหนะเดินทางติดต่อค้าขาย ใช้ในการศึกสงคราม และใช้ในพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์
ส่วนทางซีกโลกตะวันตกอาจมีวัตถุประสงค์อื่นๆ เพิ่มเติม นั่นคือเพื่อการกีฬา และความเริงรมย์อีกด้วย แต่แนวคิดนี้ไม่ปรากฏในสังคมตะวันออก
สมัยสุโขทัยราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘-๑๙ ม้าถูกนํามาใช้ประโยชน์ในการขี่เพื่อส่งข่าวสารเรียกว่า “ม้าเร็ว” ใช้เป็นพาหนะขนเสบียง และลากจูงเป็นระยะทางไกลๆ โดยเฉพาะในถิ่นทุรกันดารเรียกว่า “ม้าต่าง”
ม้าที่เกี่ยวกับการศึกสงครามนั้น ตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นต้นมา มีเรื่องราวของกองทัพม้าเป็นหนึ่งในขบวนทัพ “จตุรงคเสนา” ร่วมกันกับกองทัพช้าง กองทหารราบ และกองทัพรถรบ
และมีความเชื่อว่า “ม้าแก้ว” เป็นสัญลักษณ์มงคลหนึ่งใน “รัตนะทั้งเจ็ด” คู่บารมีของพระจักรพรรดิ ดังเช่น ม้าทรงของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในศึกพระยาละแวกนั้น พระราชพงศาวดารระบุว่าชื่อ “เจ้าพระยาราชพาหนะ”
ในทางวรรณคดีไทยเรื่องพระอภัยมณี สุดสาครมีม้านิลมังกร เรื่องขุนช้างขุนแผนมีม้าสีหมอก
ตํานานเมืองนครศรีธรรมราช กล่าวถึงขณะที่อาณาจักรตามพรลิงค์มีอํานาจสูงสุดในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๘ ได้ขยายอาณาเขตออกไปทุกทิศทุกทาง โดยจัดตั้งเมือง ๑๒ นักษัตรรายรอบขึ้นเป็นเมืองบริวาร กำหนดให้เมืองตรังเป็นปีมะเมีย ถือตราม้าเป็นสัญลักษณ์ ซึ่งชาวอุษาคเนย์รับระบบความเชื่อเรื่องนี้มาจากจีน
ส่วนม้าที่ปรากฏในงานศิลปกรรมนั้น มักดึงเรื่องราวมาจากพุทธประวัติ ชาดก เทพปรกณัมของฮินดู
ฉากสําคัญที่ชาวไทยรู้จักกันดี คือ เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ ได้ทรงม้ากัณฐกะไปจนถึงริมฝั่งแม่น้ำอโนมา พร้อมนายฉันนะ ดังปรากฏอยู่ในพระวิหารม้า วัดพระมหาธาตุนครศรีธรรมราช
ม้าที่เป็นสัตว์หิมพานต์ การใช้ม้าผสมกับสัตว์อื่นๆ ตามจินตนาการก็มีมากมาย กอปรด้วย โตเทพอัสดร เหมราอัสดร งายไส ดุรงคปักษิน ดุรงคไกรสร สินธพกุญชร สินธพนัทธี อัสดรวิหค อัสดรเหรา เป็นต้น
เทพฮินดูที่มีม้าเป็นพาหนะก็มีอยู่หลายองค์ เหมือนกัน นับแต่ สุริยเทพ สาวิตรี วิวาสวัต ภาคา พระพาย ท้าวกุเวร จนถึงเจ้าแม่กาลี
เรื่องราวของม้าที่ชาวสุวรรณภูมิและชาวทวารวดียุคแรกๆ รู้จักนั้นจึงกระจายอยู่ทั่วทั้งงานด้านประติมากรรมและองค์ประกอบสถาปัตยกรรม นับแต่หวีที่แกะสลักจากงาช้างเป็นรูปม้าพบที่จันเสน นครสวรรค์ หรือตราประทับดินเผารูปม้าที่นครปฐม ฯลฯ
ม้าในเอกสารโบราณ
เอกสารทั้งเทศ-ไทยที่กล่าวถึงม้าในละแวกรัฐสยามโบราณ ช่วงก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ก็มีหลายฉบับ เช่น พงศาวดารสมัยราชวงศ์เหลียง (พ.ศ.๑๐๔๕-๑๑๐๐) กล่าวถึงราชทูตคังไถจากอาณาจักรวู (หวู่) เดินทางไปยังฟูนันในช่วง พ.ศ. ๗๘๘-๗๙๓ ว่า คังไถได้พบเซนสง (ZhenSong) ราชทูตจากอินเดียที่มาฟูนันพร้อมม้าของพวกยูชิห์ ทำให้ทราบว่าอินเดียกับจีนและฟูนันรู้จักการใช้ม้ามาแล้วก่อนช่วงพุทธศตวรรษที่ ๘ เป็นอย่างน้อย
เอกสารจีนสมัยราชวงศ์ถัง (พ.ศ. ๑๑๔๓ – ๑๔๔๐) กล่าวถึงนครโถโลโปตี้ (ทวารวดี?) โดยทูตของทวารวดีได้ขอม้าพันธุ์ชั้นดีจากจีน แลกกับงาช้างและไข่มุกของคนพื้นถิ่น
ศิลาจารึกปราสาทหินพนมรุ้ง อักษรขอมโบราณ พุทธศตวรรษที่ ๑๖ กล่าวถึงพระลําเบงได้ถวายช้างม้า แก่กัมรเตงชคตแห่งพนมรุ้ง
ศิลาจารึกสด๊กก๊อกธม อักษรขอม ปี พ.ศ.๑๕๙๕ เนื้อความภาษาสันสกฤต กล่าวเฉลิมพระเกียรติพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ ๒ มีพิธีบูชายัญ บูชาเทพ บูชาพระราชมณเฑียร แก่ราชครูศรีชเยนทรวรมัน ปรากฏเรื่องราวของ “ตำราอัศวลักษณ์” หรือการคัดเลือกม้าพันธุ์ดีอย่างละเอียด ในจารึกด้านที่ ๓ บรรทัดที่ ๒๗
ศิลาจารึกดงแม่นางเมือง ภาษาขอม พบที่นครสวรรค์ พ.ศ.๑๗๑๐ กล่าวถึงพระเจ้าศรีธรรมโศกราช กัลปนาที่ดินอุทิศข้าคนและสิ่งของ ช้าง ม้า เพื่อบูชาพระสรีธาตุของพระเจ้าศรีธรรมโศกราชองค์ที่ล่วงลับไปแล้ว
จารึกสุโขทัยหลักที่ ๑ ที่เรารู้จักกันดีบรรทัดที่ ๒๐, ๒๑ กล่าวถึง “เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครใคร่ค้าช้าง ค้า ใครใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงินค้าทองค้า ไพร่ฟ้าหน้าใส”
จากตัวอย่างบางส่วนของเอกสารโบราณ พบว่ามีการพูดถึงม้าบนแผ่นดินสยามในหลายมิติ ทั้งการทูต การค้าขายแลกเปลี่ยน และพิธีกรรม…ปริศนาโบราณคดี “โครงกระดูกม้า ก้าวที่กล้าของ เวียงกาน” โดย เพ็ญสุภา สุขคตะ ใจอินทร์ มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับประจำวันที่ ๑๔-๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๖
ลำดับเจ้าอาวาส:
1-4 ไม่ทราบชื่อ
5. ครูบาคำ (มรณภาพ)
6. ครูบาปัญญา ปัญญาธโร (มรณภาพ)
7. พระอธิการวีรธรรม วีรธัมโม พ.ศ. 2496-2506 (มรณภาพ)
8. พระอธิการทองสุข กลญาโน พ.ศ. 2506-2512(ลาสิกขา)
9. พระอธิการบุญฤทธิ์ ฐิติโก พ.ศ. 2 513-2526 (ลาสิกขา)
10.พระครูวีรุฬธรรมวัฒน์ พ.ศ.2527-ปัจจุบัน
งานสถาปัตยกรรม
1 พระสถูป/พระเจดีย์ (พระธาตุ) มีลักษณะเหมือนในสมัยอยุธยา(ไม้ย่อมุมสิบสอง)ด้านหน้าของเจดีย์ประดิษฐ์สถานเป็นพระพุทธรูปสมัยเชียงแสน ด้านซ้ายประดิษฐ์สถานเป็นพระสิงห์ ด้านขวาประดิษฐ์สถานเป็นพระนาคปรก ด้านหลังประดิษฐ์สถานเป็นพระเจ้าทันใจ
แผนที่วัดควรค่าม้า ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
วัดที่อยู่ใกล้วัดควรค่าม้า ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
วัดหม้อคำตวง ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่
วัดโลกโมฬี ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่
วัดแสนเมืองมาหลวง (วัดหัวข่วง) ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่