มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (อังกฤษ: Maejo University; อักษรย่อ: มจ. — MJU) เป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ ตั้งอยู่ที่อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2477 โดยมีรากฐานจาก “โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมประจำภาคเหนือ” จนได้รับการเปลี่ยนสถานะเป็นมหาวิทยาลัยแม่โจ้เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐลำดับที่ 23 ในประเทศไทย
ประวัติ
โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม
มหาวิทยาลัยแม่โจ้มีการพัฒนาจาก โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมประจำภาคเหนือ ซึ่งได้รับการสถาปนาเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2477[2] ตามคำบัญชาของเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) รัฐมนตรีกระทรวงธรรมการในขณะนั้นเพื่อเป็นการขยายการศึกษาด้านการเกษตรไปยังส่วนภูมิภาคมากขึ้น ซึ่งโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมประจำภาคเหนือถือเป็นสถานศึกษาด้านการเกษตรแห่งแรกที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค โดยตั้งอยู่บนพื้นที่จำนวน 900 ไร่เศษบริเวณพื้นที่บ้านแม่โจ้ ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ควบคู่กับสถานีทดลองกสิกรรมภาคพายัพ มีพระช่วงเกษตรศิลปการ (ช่วง โลจายะ)|พระช่วงเกษตรศิลปการเป็นอาจารย์ใหญ่คนสุดท้ายของโรงเรียน รับนักเรียนจากผู้ที่สำเร็จมัธยมปีที่ 6 หรือประกาศนียบัตรครูมูลเข้าศึกษาในหลักสูตรกำหนดเวลาเรียน 2 ปี โดยได้รับประกาศนียบัตรประโยคครูประถมกสิกรรม (ป.ป.ก.) มีนักเรียนเข้าศึกษาในปีแรกจำนวน 48 คน ซึ่งในขณะนั้นพื้นที่ของโรงเรียนเรียนมีความไม่พร้อมในการทำเกษตรกรรมเนื่องจากเป็นพื้นที่ดินทรายจึงต้องมีการปรับปรุงดินให้ใช้ในกการทำการเกษตรได้ อีกทั้งสิ่งปลูกสร้างต่างๆเช่น ห้องเรียน เรือนนอน โรงอาหารและบ้านพักครู ต้องจัดสร้างขึ้นอย่างชั่วคราวเพื่อให้ทันต่อนโยบายของกระทรวงธรรมการในการเปิดโรงเรียน ทำให้ช่วงแรกของการก่อตั้งมีความยากลำบากอย่างมาก ต่อมาได้มีการเปลี่ยนสถานะของโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมประจำภาคเหนือเป็น โรงเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรมภาคเหนือ ในปี พ.ศ. 2479 หลังเปิดการการเรียนการสอนได้เพียง 3 รุ่น ซึ่งกระทรวงธรรมการเห็นว่าหลักสูตรประโยคครูประถมกสิกรรมที่เปิดไปมีผู้สำเร็จการศึกษาจำนวนเพียงพอและมีสถานศึกษาที่ต้องใช้ครูเกษตรจำนวนน้อย จึงเปิดหลักสูตรมัธยมวิสามัญเกษตรกรรม (มก.) ขึ้นแทนโดยรับผุ้ที่สำเร็จการศึกษาขั้นมัธยมปีที่ 4 เข้าศึกษาโดยกำหนดเวลาเรียน 4 ปี มีผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรจำนวน 4 รุ่น
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ในปี พ.ศ. 2481 ไดมีการยุบรวมโรงเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรมในส่วนภูมิภาค ได้แก่ ภาคใต้ที่ตำบลคอหงส์ จังหวัดสงขลา ภาคกลางที่อำเภอบางกอกน้อย จังหวัดธนบุรี และภาคอีสานที่ตำบลโนนวัด จังหวัดนครราชสีมา แต่มิได้ยุบโรงเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรมภาคเหนือจากการผลักดันของพระช่วงเกษตรศิลปการ (ช่วง โลจายะ) หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจและหลวงอิงคศรีกสิการ ให้มีการรักษาโรงเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรมไว้ซึ่งต่อมาได้ยกฐานะเป็น วิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สังกัดกระทรวงเกษตราธิการ โดยรับผู้ที่สำเร็จชั้นมัธยม 8 เข้าศึกษาในหลักสูตรอนุปริญญาทางเกษตรศาสตร์ สหกรณ์และวนศาสตร์เป็นเวลา 2 ปี โดยมีพระช่วงเกษตรศิลปการเป็นผู้อำนวยการคนแรก ซึ่งต่อมาได้เป็นรากฐานของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในปัจจุบัน
ในปี พ.ศ. 2482 วิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ย้ายที่ตั้งจากแม่โจ้ไปยังสถานีเกษตรกลาง อำเภอบางเขน จังหวัดพระนคร โดยในส่วนของพื้นที่แม่โจ้นั้นได้ก่อตั้งเป็น โรงเรียนเตรียมเกษตรศาสตร์ โดยรับผู้สำเร็จชั้นมัธยมปีที่ 6 เข้าศึกษาในหลักสูตร 2 ปี เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจึงสามารถเข้าศึกษาในระดับปริญญาที่วิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่บางเขนได้โดยไม่ต้องส เมื่อวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับการสถาปนาเป็นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในปี พ.ศ. 2486 โรงเรียนเตรียมเกษตรศาสตร์จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สถาบันอาชีวศึกษา
ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ประสบปัญหาจากความรุนแรงที่เกิดขึ้นในช่วงสงครามดังกล่าวทำให้มีผู้สมัคเรียนจำนวนน้อยอีกทั้งยังมีการคมนาคมที่ลำบากและห่างไกลจากกรุงเทพมหานครมาก จึงมีแนวคิดที่จะยุบโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ลงในปี พ.ศ. 2488 โดยได้มีการงดการรับนักศึกษาในปี พ.ศ. 2490 – 2491 เนื่องจากขาดงบประมาณและจำนวนผู้เรียนน้อย จนกระทั่งปี พ.ศ. 2491 กระทรวงเกษตราธิการได้โอนกิจการของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ให้กับกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ โดยเปลี่ยนสถานะเป็นสถานศึกษาในระดับอาชีวศึกษาใช้ชื่อว่า โรงเรียนเกษตรกรรมแม่โจ้ และเริ่มเปิดสอนในปี พ.ศ. 2492 โดยรับจากผู้สำเร็จชั้นมัธยมปีที่ 6 เข้าศึกษาในหลักสูตร 3 ปี เมื่อสำเร็จแล้วจะได้รับประกาศนียบัตรอาชีวชั้นสูง แผนกเกษตรกรรม และต่อมาได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น วิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2499
มหาวิทยาลัย
ในปี พ.ศ. 2518 ได้มีการเปลี่ยนสถานะของวิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่ใหม่เป็น สถาบันเทคโนโลยีการเกษตร[3] และย้ายสังกัดจากกรมอาชีวศึกษาไปสังกัดทบวงมหาวิทยาลัยแทน โดยเปิดสอนในหลักสูตรเทคโนโลยีการเกษตรบัณฑิต (ทก.บ.) ซึ่งเป็นหลักสูตรแรกในระดับปริญญาตรี รวมถึงในระดับอนุปริญญา ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงและประกาศนียบัตรบัณฑิต และได้เปลี่ยนชื่อสถาบันในปี พ.ศ. 2525 เป็น สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ เนื่องจากคำว่าแม่โจ้เป็นที่รู้จักของบุคคลทั่วไปมากกว่า[4]
สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ได้รับการสถานปนาเป็น มหาวิทยาลัยแม่โจ้ [5] เมื่อวัน 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 เพื่อขยายขอบเขตการให้การศึกษาและเกิดความคล่องตัวทางวิชาการและการบริหารมากขึ้น โดยปัจจุบันมีการเปิดสอนในระดับปริญญาตรีถึงปริญญาเอกโดยมีความหลากหลายในสาขาวิชานอกเหนือจากสาขาเกษตรกรรมซึ่งแม่โจ้มีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะทางด้านการปฏิบัติมาตั้งแต่ในช่วงของการศึกษาด้านอาชีวศึกษา รวมถึงยังมีการจัดตั้งวิทยาเขตเพื่อขยายการศึกษาไปยังส่วนภูมิภาคต่างๆ โดยวิทยาเขตแรกคือมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติตั้งอยู่ที่อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ และมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพรที่อำเภอละแม จังหวัดชุมพร และวิทยาเขตล่าสุดคือมหาวิทยาลัยแม่โจ้-อุตรดิตถ์ที่อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง
มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พ.ศ. 2539 เปลี่ยนสถานะจากมหาวิทยาลัยของรัฐเป็น มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ภายในการกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงศึกษาธิการ โดยไม่สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พ.ศ. 2560 ซึ่งประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา ในวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2560 และมีผลบังคับใช้ 30 วันนับจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไปคือให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย
ต้นไม้สัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัย คือ อินทนิล[6]
อินทนิล เป็นไม้ยืนต้นที่แข็งแรง อายุยาวนาน และเจริญเติบโตได้ทุกสภาพของประเทศไทย แทน ความแข็งแกร่ง อดทน ของศิษย์แม่โจ้
ช่ออินทนิล มีลักษณะเกาะกันเป็นกลุ่มแน่น สีสด แทน ความรัก ความสามัคคี และความกลมเกลียว
อินทนิลเป็นต้นไม้ที่เจริญได้ดีในทุกภาคของประเทศไทย แทน ศิษย์แม่โจ้ที่มาจากทุกหนทุกแห่ง และกระจายกันออกไปเจริญเติบโตก้าวหน้าอยู่ทั่วทุกภาค
ต้น เปลือก และใบ ของอินทนิล ใช้เป็นยาสมุนไพรได้ แทน คุณค่าของศิษย์แม่โจ ที่ได้สร้างประโยชน์ให้กับสังคม
รายนามอธิการบดี
โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมประจำภาคเหนือ/โรงเรียนเตรียมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์/วิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่ | ||
---|---|---|
คนที่ | รายนามอาจารย์ใหญ่/ผู้อำนวยการ | วาระการดำรงตำแหน่ง |
1. | อำมาตย์โท พระช่วงเกษตรศิลปการ | 2477 – 2481 |
2. | หลวงอิงคศรีกสิการ (อินทรี จันทรสถิตย์) | รักษาการ ก.ค.-ต.ค.2479 |
3. | จรัด สุนทรศิล | รักษาการ 2481 – 2482 |
4. | ศาสตราจารย์ ดร.พนม สมิตานนท์ | ผู้อำนวยการ 2482 – 2484,2486-2495 |
5. | ประเทือง ประทีปเสน | 2484 – 2486 |
6. | ไสว ชูติวัตร | 2495 – 2497 |
สถาบันเทคโนโลยีการเกษตร | ||
คนที่ | รายนามอธิการบดี | วาระการดำรงตำแหน่ง |
7. | ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย | 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2518 – 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2522 |
21 กรกฎาคม พ.ศ. 2522 – 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2526 | ||
8. | พันเอก ดร.อาทร ชนเห็นชอบ | รักษาการ 21 กรกฎาคม – 15 สิงหาคม พ.ศ. 2522 |
สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ | ||
9. | ศาสตราจารย์ ดร.ยรรยง สิทธิชัย | 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2526 – 4 มิถุนายน พ.ศ. 2530 |
10. | ศาสตราจารย์ ดร.สุรพล สงวนศรี | 5 มิถุนายน พ.ศ. 2530 – 30 เมษายน พ.ศ. 2532 |
11. | รองศาสตราจารย์ ดร.อานนท์ เที่ยงตรง | 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2532 – 30 เมษายน พ.ศ. 2536 |
1 พฤษภาคม พ.ศ. 2536 – 30 เมษายน พ.ศ. 2540 | ||
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ | ||
1 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 – 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 | ||
12. | ศาสตราจารย์ ดร.กำพล อดุลวิทย์ | 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 – 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 (รักษาราชการแทน) |
13. | นายสราญ เพิ่มพูล | 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 – 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 |
14. | รองศาสตราจารย์ ดร.เทพ พงษ์พานิช | 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 – 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 |
8 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 – 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 | ||
15. | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จำเนียร ยศราช | 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 – 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 |
1 เมษายน พ.ศ. 2558[7] – 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 | ||
16. | รองศาสตราจารย์ ดร.วีรพล ทองมา | 1 เมษายน พ.ศ. 2562 – 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 (รักษาราชการแทน) |
27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563[8] – ปัจจุบัน |
การจัดอันดับมหาวิทยาลัย
การจัดอันดับโดย Webometrics
การจัดอันดับโดย เว็บโอเมตริกซ์ (Webometrics) ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อแสดงความตั้งใจของสถาบันต่าง ๆ ในการเผยแพร่ความรู้สู่เว็บไซต์ และเป็นความริเริ่มเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความรู้อย่างเปิดกว้าง (Open Access) ทั่วโลก โดยบ่งบอกถึงปริมาณและคุณภาพของสิ่งตีพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ของสถาบัน เพื่อใช้ร่วมกับตัวชี้วัดอื่น ๆ ในการประเมินผลงานวิจัยของสถาบัน ซึ่งทางเว็บโอเมตริกซ์ได้จัดอันดับปีละ 2 ครั้งในเดือนมกราคม และกรกฎาคม ล่าสุดเดือนมกราคม พ.ศ. 2559 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อยู่ในอันดับที่ 2,166 ของโลก อันดับที่ 59 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันดับที่ 22 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย[9]
การจัดอันดับโดย UI Green Metric World University Ranking เป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวที่จัดโดยมหาวิทยาลัยอินโดนีเซีย ประเทศอินโดนีเซีย เพื่อสนับสนุนการเป็นมหาวิทยาลัยยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมทั่วโลก มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวอันดับ 9 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย และเป็นอันดับที่ 158 ของโลก[10]
การจัดอันดับโดย 4 International Colleges & Universities การจัดอันดับเว็บไซต์มหาวิทยาลัยโดยระบบ 4 International Colleges & Universities (4icu.org) ซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระ มีสำนักงานอยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย ดำเนินการจัดอันดับความนิยมเว็บไซต์ ของมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยต่าง ๆ ในประเทศและทั่วโลกมาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2005 โดยรายงาน ผลปีละ 2 ครั้ง คือ เดือนมกราคมและเดือนกรกฎาคม มีจุดมุ่งหมายเพื่อจัดอันดับความนิยมของมหาวิทยาลัย และวิทยาลัยนานาชาติ บนพื้นฐานของความนิยมในการเข้าติดตามชมเว็บไซต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่จะเป็น เว็บไซต์ที่ช่วยให้นักศึกษานานาชาติได้เข้าใจเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยนานาชาติมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ การที่เว็บไซต์ที่มีข้อมูลถูกต้อง ครบถ้วน และมีการ Update ข้อมูลข่าวสารที่สม่าเสมอจะถูกนำมาใช้ในการ พิจารณาจัดอันดับอีกด้วย ล่าสุดเดือนมกราคม พ.ศ. 2559 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อยู่ในอันดับที่ 2,532 ของโลก อันดับที่ 23 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย
หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย
สำนักงานมหาวิทยาลัย
สำนักงานมหาวิทยาลัย
กองกลาง
กองพัฒนานักศึกษา
กองแผนงาน
กองคลัง
กองการเจ้าหน้าที่
กองอาคารและสถานที่
กองสวัสดิการ
กองวิเทศสัมพันธ์
กองเทคโนโลยีดิจิทัล
กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม
กองพัฒนาคุณภาพ
กองตรวจสอบภายใน
หน่วยงานแบบวิสาหกิจ
ศูนย์กล้วยไม้และไม้ดอกประดับ
ศูนย์ภาษา
ศูนย์วิจัยพลังงาน
ศูนย์วิจัยและพัฒนาลำไยแม่โจ้
ศูนย์การศึกษาและฝึกอบรมนานาชาติ
สถาบันบ่มเพาะวิสาหกิจ
สถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์
สำนักงานบริหารทรัพย์สิน
สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยแม่โจ้
สำนักฟาร์มมหาวิทยาลัย
คณะ/วิทยาลัย/สำนัก
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ แบ่งการเรียนการสอน เป็น 11 คณะ 3 วิทยาลัย 2 วิทยาเขต 1 บัณฑิตวิทยาลัย 3 สำนัก ดังนี้
คณะผลิตกรรมการเกษตร
คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี
คณะวิทยาศาสตร์
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และการออกแบบสิ่งแวดล้อม
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร
คณะพัฒนาการท่องเที่ยว
คณะเศรษฐศาสตร์
คณะบริหารธุรกิจ
คณะศิลปศาสตร์
คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
คณะสารสนเทศและการสื่อสาร
วิทยาลัยบริหารศาสตร์
วิทยาลัยพลังงานทดแทน
วิทยาลัยนานาชาติ
โครงการจัดตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์
โครงการจัดตั้งคณะนิติศาสตร์
โครงการจัดตั้งคณะสาธารณสุขศาสตร์
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
บัณฑิตวิทยาลัย
สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร
สำนักงานเลขานุการ
ฝ่ายวิจัย
ฝ่ายฝึกอบรม
ฝ่ายส่งเสริมการเกษตร
ฝ่ายขยายพันธุ์พืชและสัตว์
ฝ่ายพัฒนาเกษตรที่สูง
ศูนย์การศึกษาและฝึกอบรมนานาชาติ
คลินิกเทคโนโลยี
สำนักหอสมุด
สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ
ศูนย์/โครงการจัดตั้ง
ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพ และสถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ
ศูนย์ภาษามหาวิทยาลัยแม่โจ้
สถาบันบ่มเพาะวิสาหกิจ
สำนักงานตรวจสอบภายใน
สถานบริการวิชาการ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร
ศูนย์วิจัยพลังงาน
สำนักงานประสานงานวิจัยเชิงบูรณาการ (สกว.แม่โจ้)
สำนักงานสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้
ศูนย์วิจัยและพัฒนาลำไยแม่โจ้
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ
สำนักฟาร์มมหาวิทยาลัย
โครงการจัดตั้งโรงพยาบาลสัตว์แม่โจ้
วิทยาเขต
มหาวิทยาลัย ตั้งอยู่บนถนนเชียงใหม่-พร้าว ในพื้นที่ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ โดยห่างจากตัวเมืองจังหวัดเชียงใหม่ 10 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 12,879 ไร่ อยู่ใน 3 จังหวัด คือ
1.มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ที่ 4 ถนนเชียงใหม่ – พร้าว ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
2.มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ เลขที่ 17 หมู่ 3 ถนนยันตรกิจโกศล ตำบลแม่ทราย อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่
3.มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เลขที่ 99 หมู่ที่ 5 ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร
4.มหาวิทยาลัยแม่โจ้-อุตรดิตถ์ (กำลังก่อสร้าง) ตำบลผาจุก อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
พิธีพระราชทานปริญญาบัตร
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระองค์เสด็จพระราชดำเนินมาในการพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ครั้งแรก เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2521 และได้เสด็จพระราชดำเนินในการพิธีพระราชทานปริญญาบัตรด้วยพระองค์เองเรื่อยมา แต่ในปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารีเสด็จแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตร แก่บัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิตของมหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นประจำทุกปี ดังนั้น วันพระราชทานปริญญาบัตรของทุกปี จึงจัดให้อยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ตามอย่างคราวรับพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งแรก ในคราวรับพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกนั้นจัดขึ้นที่อาคารแผ่พืชน์ ซึ่งในปี 2558 เป็นครั้งที่ 37 บัณฑิตรุ่นที่ 38 ปัจจุบันพิธีพระราชทานปริญญาบัตร จัด ณ ศูนย์กีฬากาญจนาภิเษก รัชกาลที่ 9 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 19 – 20 กุมภาพันธุ์ 2558
บุคคลสำคัญจากมหาวิทยาลัย
ก
เกรน ประชาศรัยสรเดช อดีตนายกเทศมนตรีเมืองแพร่ 6 สมัย
จ
จำนงค์ โพธิสาโร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดศรีสะเกษ
เจริญ สิริวัฒนภักดี เจ้าของบริษัทเบียร์ช้าง
จุลนภ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา อดีตองคมนตรี
พระพุทธพจนวราภรณ์ (จันทร์ กุสโล) พระราชาคณะเจ้าคณะรองฝ่ายธรรมยุติกนิกาย อดีตเจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร และอดีตเจ้าคณะภาค 4-5-6-7 (ธรรมยุต)
ฉ
เฉลิม พรหมเลิศ อดีตรองประธานวุฒิสภา
ช
พระช่วงเกษตรศิลปการ (ช่วง โลจายะ) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ณ
ณัฐพงษ์ เกษอินทร์ นักกีฬาว่ายน้ำทีมชาติไทย
ด
เจ้าเดชา ณ ลำปาง เป็นผู้สืบเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าของเจ้าผู้ครองนครลำปาง
ธ
ธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโสเครือเจริญโภคภัณฑ์
รองศาสตราจารย์ ธรรมนูญ ฤทธิมณี เป็นอดีตอธิการบดีคนแรกของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล
ธีร์ นันทวริศ เป็นศิลปิน ดิจิตัล อาร์ทติส และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ธรี ดี แลนด์ จำกัด มีชื่อเสียงจากการเป็นผู้สร้างสรรค์ผลงานภาพยนตร์ 3D “พระผู้เป็นที่รัก”[1][2][3][4][5] และงานออกแบบดิจิตัลอาร์ทให้การประกวดนางงามจักรวาล พ.ศ. 2561 (Miss Universe 2018)[6][7]
ธัชกร ตั้งธนกรกิจ นักออกแบบ ผู้ชนะเลิศการประกวดออกแบบชุดประจำชาติ ให้ผู้เข้าประกวดจากประเทศไทย ในการประกวดนางงามจักรวาล ปีพ.ศ. 2552 (Miss Universe 2009) โดยชุด “ญ.งามท้องถิ่นสุวรรณภูมิ” ได้รับรางวัลที่ 3 จากเวทีดังกล่าว[8][9][10]
บ
บิว กัลยาณี นักร้องลูกทุ่ง
ป
ปลอดประสพ สุรัสวดี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย และอดีตปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
พ
พายัพ ปั้นเกตุ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสิงห์บุรี
พลเอกพิชาญเมธ ม่วงมณี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์ และอดีตแม่ทัพภาคที่ 3
พิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน สมาชิกสภาผู้แทนราษฏร
พันธุ์เลิศ บูรณศิลปิน อดีตสมาชิกวุฒิสภา และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ม
มอนอินทร์ รินคำ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงใหม่ 2 สมัย
ย
ยงยุทธ สุวภาพ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงใหม่
ยุพราช บัวอินทร์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเพชรบูรณ์
ร
ศาสตราจารย์ ระพี สาคริก ราษฎรอาวุโส นักวิจัย นักวิชาการเกษตรผู้บุกเบิกวงการกล้วยไม้ของประเทศไทยสู่สากล อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นอดีตนายกสภาสถาบันอาศรมศิลป์
ล
พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช สมาชิกวุฒิสภา และอดีตจเรทหาร
ว
ศาสตราจารย์ วิภาต บุญศรี วังซ้าย อธิการบดีคนแรกของสถาบันเทคโนโลยีการเกษตร (แม่โจ้)
วิสุทธิ์ ไชยณรุณ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดพะเยา
เจ้าวีรพงศ์ ณ ลำพูน โอรสเจ้าพงศ์ธาดา ณ ลำพูน ผู้สืบราชสกุลเจ้าผู้ครองนครลำพูน
วัชระ ตันตรานนท์ สมาชิกวุฒิสภาแบบสรรหา (ศิษย์เก่า การบัญชี)
ศ
รองศาสตราจารย์ ศิริชัย หงษ์วิทยากร หนึ่งในผู้ก่อตั้งภาควิชาเทคโนโลยีภูมิทัศน์และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หรือคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และเป็น 1 ใน 8 บุคคล ตามโครงการตามหาบุคคลในภาพถ่ายที่มีโอกาสถวายงานรับใช้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 7รอบ12 สิงหาคม 2559 ที่จัดโดยกระทรวงวัฒนธรรม[11][12]
ส
สมพร ยกตรี ผู้ก่อตั้งภาควิชาเทคโนโลยีภูมิทัศน์และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หรือคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้[13]
สมาน ชมภูเทพ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดลำพูน
สุนัย จุลพงศธร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย
สง่า สรรพศรี อดีตสมาชิกวุฒิสภา และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ศาสตราจารย์กิตติคุณ สิปปนนท์ เกตุทัต ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์
อ
อรุณี ชำนาญยา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดพะเยา
อำนวย ยศสุข นายกสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการ หลายกระทรวง (กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการคลัง และกระทรวงสาธารณสุข) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ (7 สมัย) และอดีตสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดเชียงใหม่
โอภาส พลศิลป อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรี 3 สมัย
อุทิศ นาคสวัสดิ์ นักดนตรี นักแต่งเพลงไทย ผู้ส่งเสริมดนตรีไทย นักเขียน นักจัดรายการวิทยุโทรทัศน์ นักเขียนบทละคร