ภาษาเหนือ ฝึกพูดประโยคพื้นฐานง่าย ๆ และความหมาย

ฝึกพูดภาษาเหนือ และประโยคพื้นฐานใช้ทักทายกันในชีวิตประจำวันง่าย ๆ และความหมาย
สำหรับ ภาษาเหนือ การอู้กำเมืองนั้นมีเอกลักษณ์ที่แสดงออกถึงวัฒนธรรมการพูดการจาของคนภาคเหนือ ที่มีภาษาพูดที่น่าฟังยิ่งนัก ซึ่งจะได้ยินบ่อย ๆ ทั้งทางโทรทัศน์ สื่อต่าง ๆ เพลง หรือคนที่ขึ้นมาเที่ยวภาคเหนือ เมื่อได้ยินคุยกันเป็นภาษาเหนือแล้วต่างชอบเพราะฟังแล้วไพเราะเสนาะหู แล้วก็อยากจะรู้ความหมายหรือพูดเป็นบ้าง ยิ่งเป็นเพลงแล้วล่ะก็ ฟังแล้วเพลินกันไปเลย โดยเฉพาะช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่จะมีการเปิด เพลงกำเมือง เพลงปี๋ใหมเมือง กันไปทั่วทุกบ้านทุกแห่งหนเลยก็ว่าได้ วันนี้มาลองดูความหมายและประโยคพื้นฐานที่ใช้ในในการทักทาย ในชีวิตประจำวันกันว่า ชาวเหนือ คนล้านนา ภาษาเหนือนี้เขาพูดกันอย่างไร
ประโยคทักทายถามไถ่ ภาษาเหนือ ที่ใช้กันบ่อยในชีวิตประจำวัน
สวัสดีเจ้า(ผู้หญิง)/ สวัสดีครับ(ผู้ชาย)
ประโยคทักทายสามัญของคนไทย สวัสดี
ไปตางใดมา ?
เป็นประโยคคำถาม แปลว่า ไปไหนมา? สำหรับประโยคนี้สามารถใช้เป็นบทสนทนาครั้งแรกในการทักทายกัน สำหรับคนเหนือเมื่อเจอกันแล้วสิ่งที่ทักทายกันจะไม่ใช่การสวัสดี แต่จะเป็นยิงคำถามไปหาคู่สนทนาก่อนเลยซึ่งจะเป็นคนที่อายุรุ่นราวคราวเดียวกัน
ตัวอย่าง
ลุงคำ : ไปตางใดมา (ไปไหนมา)
ลุงจั๋น : ไปต้งมา (ไปทุ่งนามา)
ลุกตางใดมากา ?
เป็นประโยคคำถาม แปลว่า มาจากที่ไหนเหรอ?
ตัวอย่าง
ลุงคำ : ลุกตางใดมากา (มาจากไหนเหรอ)
ลุงจั๋น : ลุกต้งมา (มาจากทุ่งนา)
เป๋นไดพ่อง สบายดีก่อ ?
เป็นประโยคคำถาม แปลว่า เป็นไงบ้าง สบายดีไหม? ประโยคที่ใช้ถามไถ่เรื่องสุขภาพสารทุกข์สุกดิบของคู่สนทนา
ตัวอย่าง
ลุงคำ : จั๋น คิงเป๋นไดพ่อง สบายดีก่อ ? (จั๋น เธอเป็นไงบ้าง สบายดีไหม)
ลุงจั๋น : หว่างนี้เฮาก่อสบายดีนา (ช่วงนี้ก็สบายดีนะ) ละคิงรอคำเป็นไดพ่อง (แล้วเธอล่ะ คำเป็นไงบ้าง)
มาหาไผกา ?
เป็นประโยคคำถาม แปลว่า มาหาใครเหรอ?
ตัวอย่าง
ลุงคำ : มาหาไผกา บัวซอน ? (มาหาใครเหรอ บัวซอน)
บัวซอน : มาหาป้าเพชรเจ้า ลุงคำป้าเพชรอยู่ก่อเจ้า ? (มาหาป้าเพชนค่ะ ลุงคำป้าเพชรอยู๋ไหม)
ลุงคำ : เมียลุงอยู่ในเต๋าไฟฮั่นน่ะ เข้าไปหาในเต๋าไฟเลย (เมียลุงอยู่ในห้องครัว เข้าไปหาในห้องครัวได้เลย)
กิ๋นข้าวแล้วกา ?
เป็นประโยคคำถาม แปลว่า กินข้าวหรือยัง
ตัวอย่าง
ลุงคำ : จั๋น กิ๋นข้าวแล้วกา ? (จั๋นกินข้าวหรือยัง)
ลุงจั๋น : ยังบ่ะได้กินเตื้อ (ยังไม่ได้กินเลย)
กิ๋นข้าวกับหยัง ?
เป็นประโยคคำถาม แปลว่า กินข้าวกับอะไร
ตัวอย่าง
ลุงคำ : จั๋นเมื่อแลงนี่กิ๋นข้าวกับหยังกาบ่ะ ? (จั๋น ตอนเย็นนี้ทานข้าวกับอะไรวะ)
ลุงจั๋น : ฮาว่าจะลาบจิ้นนา ใส่ลาบควายเหมาะ ๆ ซักกำนา ( ว่าจะทำลาบนะ อยากกินลาบควายอร่อย ๆ ซักหน่อย)
ละจะไปตางใดต่อกา ?
เป็นประโยคคำถาม แปลว่า แล้วจะไปที่ไหนต่อเหรอ
ตัวอย่าง
ลุงคำ : จั๋น ละจะไปตางใดต่อกา ? (จั๋นแล้วจะไปที่ไหนต่อเหรอ)
ลุงจั๋น : ฮาว่าจะลวดไปกาดนา ไปเซ้าะซื้อจิ้นควายมาลาบนะ (เราว่าจะแวะไปตลาด ไปหาซื้อเนื้อความทำลาบ)
ประโยคภาษาเหนือ การถามและต่อรองราคา
ประโยคที่ใช้ถามราคา ซื้อขายของ
แม่ก้าขอซื้อจิ้นควายซักหน้อยรอ
แปลว่า แม่ค้า ขอซื้อเนื้อควายหน่อย
เอาต้ะใดดีเจ้า
แปลว่า เอาเท่าไหร่ดี
ขายหยั่งใดกานี่ / ขายจ่ะใดกานี่
แปลว่า ขายอย่างไรเหรอ
เอาเกิ่งกิโล
แปลว่า ซื้อครึ่งกิโลกรัม
หว่างนี้จิ้นควายราคาแปงต่ะ
แปลว่า ช่วงนี้เนื้อควายราคาแพงจัง
ตัวอย่าง
ลุงจั๋น : แม่ก้าขอซื้อจิ้นควายซักหน้อยรอ (แม่ค้าขอซื้อเนื้อควายหน่อย)
แม่ก้า : ลุงจั๋น เอาไปยะใดเจ้า เอาต้ะใดดีเจ้า (ลุงจั๋น เอาไปทำอะไร เอาเท่าไหร่ดี)
ลุงจั๋น : ว่าจะเอาไปลาบ ขายหยั่งใดกานี่ (ว่าจะเอาไปทำลาบ ขายอย่างไรเหรอ)
แม่ก้า : ลุงจั๋นเอาไปลาบกาเจ้า จิ้นควายโลละ 400 บาทเจ้า (ลุงจั๋น เอาไปทำลาบเหรอคะ เนื้อควายกิโลกรัมละ 400 บาทค่ะ)
ลุงจั๋น : หว่างนี้จิ้นควายแปงต่ะ (ช่วงนี้เนื้อควายราคาแพงจัง)
ลุงจั๋น : อั้นลุงเอาเกิ่งกิโล จิ้นควาย 2 ขีด ครัวใน 3 ขีดเน้อ (งั้นลุงซื้อ ครึ่งกิโลกรัม แบ่งเป็นเนื้อควาย 200 กรัม เครื่องในควาย 300 กรัม)
แม่ก้า : ได้เจ้า เดียวเจ้าเผื่อหื้อลุงจั๋นเน้อเจ้า (ได้ค่ะ เดี๋ยวน้องแถมให้เพิ่มอีกนะคะ)
พริกแด้นี่ขายหยั่งไดเจ้า ?
แปลว่า พริกขี้หนูนี่ขายยังไงค่ะ ?
บ่ะเต้านี่ ขายโลเต้าไดเจ้า ?
แปลว่า แตงโมนี่ขายกิโลเท่าไหร่
การตอบตกลง และการตอบปฏิเสธ
ตกลง ภาษาเหนือ และ ปฏิเสธ ภาษาเหนือ นั้นตกลงก็จะใช้เหมือนภาษาไทย ส่วนปฏิเสธนั้นก็จะมีคำเฉพาะของถิ่นเหรือเอง
ตกลง ภาษาเหนือ ใช้คำว่า ได้ครับ, ได้เจ้า, ได้ก่ะ, ได้ก่า, ได้ก่ะครับ, ได้ก่ะเจ้า
ปฏิเสธ ภาษาเหนือ ใช้คำว่า บ่ะ และ บ่อ
ไม่ได้ ภาษาเหนือ คือ บ่ะได้ , บ่อได้
ไม่เอา ภาษาเหนือ คือ บ่ะเอา, บ่อเอา
ไม่ทำ ภาษาเหนือ คือ บ่ะยะ, บ่อยะ
ไม่ดี ภาษาเหนือ คือ บ่ะดี, บ่อดี
ไม่กิน ภาษาเหนือ คือ บ่ะกิ๋น, บ่อกิ๋น
ไม่ไป ภาษาเหนือ คือ บ่ะไป, บ่อไป
ไม่เป็นไร ภาษาเหนือ คือ บ่ะเป๋นหยัง, บ่อเป๋นหยัง
ไม่เล่น ภาษาเหนือ คือ บ่ะเล่น, บ่อเล่น
การกล่าวขอบคุณ และขอโทษ ภาษาเหนือ
ขอบคุณ ภาษาเหนือ คือ ยินดีเจ้า/ครับ , ขอบคุณเจ้า/ครับ
ขอบคุณมาก ภาษาเหนือ คือ ขอบคุณนั้ก ๆ เน้อเจ้า/ครับ , ขอบคุณจ้าดนักเจ้า/ครับ
ขอโทษ หรือ ขออภัย ภาษาเหนือ คือ ขอสุมาเน้อเจ้า/ครับ
ประโยคภาษาเหนือทั่วไปที่มักได้ยินบ่อย ๆ
อำเภอสันป่าตองไปตางไดครับ ?
แปลว่า อำเภอสันป่าตองไปทางไหนค่ะ ?
ฮัลโหล ยะหยังอยู่ เปิ้นกึ๊ดเติงหาตั๋วหนา
แปลว่า ฮัลโหล ทำอะไรอยู่ เค้าคิดถึงตัวเองนะ
จะไปมาค่ำเน้ออี่น้องเน้อ
แปลว่า อย่ากลับบ้านค่ำมืดนะลูกนะ
บ่ดีขับรถโวยเน้อ กองมันกีด เดียวจะตั๋มฮั้วบ้าน
แปลว่า อย่าขับรถเร็วนะ ถนนมันแคบ เดี๋ยวจะเฉี่ยวรั้วบ้าน
บ่ดีนอนเดิ๊ก กำเดวจะลุกขวาย
แปลว่า อย่านอนดึก เดี๋ยวจะตื่นสาย
คนอะหยังจะได หยังมาหมั่นแต๊หมั่นว่า
แปลว่า คนอะไร๊ ขยันจริงๆ ขยันสุดๆ
จะไปอู้กั๋นเสียงดังเน้อ เดียวเขาจะบ่ะแฮ่ขว้างหลังคาบ้านเน้อ
แปลว่า อย่าพูดคุยกันเสียงดัง เดี๋ยวเขาจะปาลูกหินใส่หลังค้าบ้านนะ
วันนี้เฮาจะไปแอ่วตังใดดีหา
แปลว่า วันนี้เราจะไปเที่ยวไหนกันดีนะ
ไว้ปิ้กมาใหม่กั๋นเน้อเจ้า
แปลว่า ไว้กลับมาใหม่กันนะคะ
เห็นไหมภาษาเหนือนั้นไม่ได้ยากเลยนะ จดจำเอาไปใช้กันได้เลย เพื่อให้ดูเป็นมิตรหรือสุภาพ สำหรับหางเสียงนั้นก็ง่าย ๆ สำหรับผู้ชายก็เติม ครับ สำหรับผู้หญิงก็เติม เจ้า จ่อท้ายกันได้เลย รับรองน่าฟังมากยิ่งขึ้น