ฟ้อนสาวไหม เป็นศิลปะการฟ้อนรำประเภทหนึ่งของชาวล้านนา ที่มีพัฒนาการทางรูปแบบมาจากการ เลียนแบบอากัปกิริยาการสาวไหม ผู้ฟ้อนส่วนใหญ่มักเป็นหญิงสาว ลีลาในการฟ้อนดูอ่อนช้อยและงดงามยิ่ง
ฟ้อนสาวไหม เป็นศิลปการฟ้อนรำประเภทหนึ่งของชาวล้านนา ที่มีพัฒนาการทางรูปแบบมาจากการ เลียนแบบอากัปกิริยาอาการของสาวไหม ผู้ฟ้อนส่วนใหญ่มักเป็นหญิงสาว ลีลาในการฟ้อนดูอ่อนช้อยและงดงามยิ่ง ฟ้อนสาวไหมเป็นฟ้อนทางภาคเหนือ เป็นการฟ้อนพื้นเมืองที่เลียนแบบมาจากการทอผ้าไหมของชาวบ้าน การฟ้อนสาวไหมเป็นการฟ้อนรำแบบเก่า เป็นท่าหนึ่งของ ฟ้อนเจิง ซึ่งอยู่ในชุดเดียวกับการฟ้อนดาบ ลีลาการฟ้อนเป็นจังหวะที่คล่องแคล่วและรวดเร็ว (สะดุดเป็นช่วง ๆ เหมือนการทอผ้าด้วยกี่กระตุก)
ประมาณปี พ.ศ. 2500 คุณบัวเรียว รัตนมณีกรณ์ ได้คิดท่ารำขึ้นมาโดยอยู่ภายใต้การแนะนำของบิดา ท่ารำนี้ได้เน้นถึงการเคลื่อนไหวที่ต่อเนื่องและนุ่มนวล ซึ่งเป็นท่าที่เหมาะสมในการป้องกันไม่ให้เส้นไหมพันกันในปี พ.ศ. 2507 คุณพลอยสี สรรพศรี ช่างฟ้อนเก่าในวังของเจ้าเชียงใหม่องค์สุดท้าย (เจ้าแก้วนวรัฐ) ได้ร่วมกับคุณบัวเรียวขัดเกลาท่ารำขึ้นใหม่ ต่อมาในปี พ.ศ. 2520 คณะอาจารย์วิทยาลัยนาฏศิลป์เชียงใหม่ ได้คิดท่ารำขึ้นมาเป็นแบบฉบับของวิทยาลัยเอง ทางวิทยาลัยนาฏศิลป์เชียงใหม่ได้ปรับปรุงสืบทอด มาจากครู พลอยศรี สรรพศรี ทั้งนี้ ครูพลอยศรี ได้ถ่ายแบบรับท่ามาจากหญิงชาวบ้านที่จังหวัดเชียงราย ชื่อ บัวเรียว รัตนมณีกรณ์ ซึ่งคุณบัวเรียวก็ได้เรียนการฟ้อนนี้มาจากบิดาของตนอีกทีหนึ่ง
ลักษณะเด่นของการแสดงฟ้อนสาวไหม
เป็นฟ้อนพื้นเมืองที่เลียนแบบมาจากการทอผ้าไหมของชาวบ้าน การฟ้อนสาวไหม เป็นการฟ้อนรำแบบเก่า เป็นท่าหนึ่งของฟ้องเจิงซึ่งอยู่ในชุดรำเดียวกับการฟ้อนดาบ ลีลาการฟ้อนเป็นจังหวะที่ คล่องแคล่วและรวดเร็ว
ผู้แสดงฟ้อนสาวไหม
ใช้ผู้หญิงแสดงจำนวนเท่าไรก็ได้ ปัจจุบันก็มีผู้ชายเข้ามาแสดงด้วยก็มี
การแต่งกายฟ้อนสาวไหม
แต่งกายแบบพื้นเมือง คือนุ่งผ้าถุง ใส่เสื้อแขนกระบอกห่มสไบทับ เกล้าผมมวยประดับดอกไม้
ท่าทางการแสดงฟ้อนสาวไหม
เริ่มจากการแสดงท่าหักร้างถางพง เพาะปลูกฝ้ายและหม่อน ซึ่งเป็นการแสดงของช่างฟ้อนชาย เพิ่งเพิ่มเข้ามาภายหลัง ต่อจากนั้นก็เป็นท่วงท่าในการฟ้อนสาวไหมเริ่มจากท่าเลือกไหม ดึงไหมออกจากรัง ม้วนไหม สาวไหมออกจากตัว ไหล่ ศีรษะ เท้า ม้วนไหมใต้ศอก พุ่งกระสวย กรอไหม พาดไหม ป๊อกไหม จนกระทั่งชื่นชมกับผ้าที่ทอสำเร็จแล้ว
ดนตรีฟ้อนสาวไหม
ดนตรีที่ใช้ประกอบการฟ้อน จะใช้วงดนตรีพื้นเมืองซึ่งมีสะล้อ ซอ ซึง เพลงร้องมักไม่นิยมมี จะมีแต่เพลงที่ใช้บรรเลงประกอบ แต่เดิมที่บิดาของคุณบัวเรียวใช้นั้นเป็นเพลงปราสาทไหว ส่วนคุณบัวเรียวจะใช้เพลงลาวสมเด็จ เมื่อมีการถ่ายทอดมาครูนาฎศิลป์ได้เลือกสรรใช้เพลง “ซอปั่นฝ้าย” ซึ่งมีท่วงทำนองเป็นเพลงซอทำนองหนึ่งที่นิยมกันในจังหวัดน่าน และมีลีลาที่สอดคล้องกับการฟ้อนสาวไหมอย่างงดงามยิ่ง
สถานที่แสดง ไม่จำกัดเวที
โอกาสที่แสดง แสดงได้ทุกโอกาส และในงานเทศกาลหรืองานนักขัตฤกษ์ต่าง ๆ