พญาไชยสงคราม

0
3827
แผนที่ล้านนา

พญาไชยสงคราม (คำเมือง: LN-King Chaisongkhram.png) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์มังรายพระองค์ที่สองแห่งอาณาจักรล้านนา ทรงครองราชย์ใน พ.ศ. 1854 – 1868

พญาไชยสงคราม เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สองในพญามังราย มีพระนามเดิมว่าเจ้าขุนคราม เสวยราชย์สืบสันตติวงศ์เป็นกษัตริย์ปกครองอาณาจักรล้านนาสืบต่อจากพระราชบิดา ในปี พ.ศ. 1860 ขณะขึ้นเสวยราชย์พระองค์มีพระชนมายุได้ 55 พรรษา พญาไชยสงครามนับเป็นปิยราชโอรส เพราะทรงเป็นเสมือนพระพาหาเบื้องขวาของพญามังรายพระราชบิดา ในการสถาปนาอาณาจักรล้านนาขึ้นในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ พระองค์ทรงเป็นนักรบที่เก่งกล้าสามารถ หลังจากที่ทรงมีชัยชนะต่อพญาเบิก เจ้าผู้ครองนครหริภุญชัย ในการยุทธครั้งใหญ่เมื่อปีพุทธศักราช ๑๘๓๙ แล้วพระราชบิดาก็สถาปนาให้เป็นมหาอุปราช และโปรดพระราชทานเมืองเชียงดาวให้เป็นบำเหน็จรางวัลอีกด้วย

พระเจ้าไชยสงคราม มีพระมเหสีหลายองค์ และมีพระราชโอรส 3 พระองค์ คือ เจ้าท้าวแสนภู เจ้าท้าวน้ำท่วม เจ้าท้าวงั่ว พระราชโอรสทั้งสามนี้เมื่อทรงจำเริญวัยขึ้นแล้ว พระราชบิดาได้ส่งเข้ามาเล่าเรียนศึกษาศิลปะวิทยาการและราชประเพณีในราชสำนักของพญามังรายผู้เป็นพระราชอัยกา ซึ่งพญามังรายก็ได้มีพระมหากรุณาธิคุณแก่พระราชนัดดาทั้งสามเป็นอย่างยิ่ง เมื่อพญาไชยสงครามได้ขึ้นครองราชย์สมบัติแล้ว ก็ทรงจัดการบ้านเมืองในเมืองเชียงใหม่ได้ ๔ เดือน พระองค์ไม่โปรดที่จะประทับอยู่ ณ เมืองเชียงใหม่ จึงได้สถาปนาให้เจ้าท้าวแสนภูพระราชโอรสพระองค์โตขึ้นครองเมืองเชียงใหม่ ในยุคนี้เมืองเชียงใหม่ได้ลดฐานะเป็นเพียงเมืองลูกหลวง พญาไชยสงครามองค์พระประมุขทรงย้ายราชธานีไปอยู่ที่เมืองเชียงราย และทรงแต่งตั้งให้เจ้าท้าวน้ำท่วมพระราชโอรสพระองค์กลางไปครองเมืองฝาง ให้พระราชโอรสพระองค์เล็กคือเจ้าท้าวงั่วไปครองเมืองเชียงของ

พญาไชยสงคราม กษัตริย์นักรบแห่งล้านนานคร

ตามประวัติกล่าวว่าพญาไชยสงคราม ราชโอรสพญามังราย เมื่อได้มอบราชสมบัติให้พระเจ้าแสนภูราชโอรสให้ขึ้นครองนครเชียงใหม่แล้ว พระองค์ได้นำอัฐิพระราชบิดามาประทับอยู่ที่เมืองเชียงราย และได้โปรดเกล้าฯ สร้างกู่บรรจุอัฐิของพระราชบิดาไว้ ณ ดอยงำเมืองแห่งนี้ เพื่อเป็นการรำลึกและให้ประชาชนทั่วไปได้เข้าสักการะกู่พญามังราย ตั้งอยู่หน้าวัดงำเมือง บนดอยงำเมือง เดินทางโดยใช้เส้นทางจากวัดพระแก้วเลี้ยวขวาที่สี่แยกเข้าถนนเรืองนคร จากนั้นตรงไปประมาณ ๕๐๐เมตร จะไปบรรจบถนนงำเมือง เป็นสามแยกศูนย์คมนาคม จากนั้นเลี้ยวขวาตรงไปอีกประมาณ ๓๐๐เมตร

พญาไชยสงคราม กษัตริย์ในราชวงค์มังราย ลำดับที่ ๒(พ.ศ.๑๘๕๔-๑๘๖๘)ทรงเป็น พระราชโอรสของพญามังรายมหาราชได้เสวยราชย์สืบสันตติวงศ์เป็นกษัตริย์ปกครอง อาณาจักรล้านนา สืบต่อจากพญามังรายมหาราช ในปีพุทธศักราช ๑๘๖๐ ขณะขึ้นเสวยราชย์พระองค์มีพระชนมายุได้ ๕๕ ปี พญาไชยสงครามนับเป็นปิยราชโอรส เพราะทรงเป็นเสมือนพระพาหาเบื้องขวาของพญามังรายมหาราชพระราชบิดา ในการสถาปนาอาณาจักรล้านนาขึ้นในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ พระองค์ทรงเป็นนักรบที่เก่งกล้าสามารถ หลังจากที่ทรงมีชัยชนะต่อพญาเบิก เจ้าผู้ครองนครหริภุญชัย ในการยุทธครั้งใหญ่เมื่อปีพุทธศักราช ๑๘๓๙ แล้วพระราชบิดาก็สถาปนาให้เป็นมหาอุปราช เป็นที่เจ้าพระยาชัยสงคราม และโปรดประทานเมืองเชียงดาวให้เป็นบำเหน็จรางวัลอีกด้วย

พญาไชยสงครามมีพระมเหสีหลายองค์ และทรงมีพระราชบุตร ๓ พระองค์ คือ เจ้าท้าวแสนภู เจ้าท้าวน้ำท่วม เจ้าท้าวงั่ว พระราชบุตรทั้งสามนี้เมื่อทรงจำเริญวัยขึ้นแล้ว พระบิดาได้ส่งเข้ามาเล่าเรียนศึกษาศิลปะวิทยาการและราชประเพณีในราชสำนักของ พญามังรายผู้เป็นพระอัยกา ซึ่งพญามังรายก็ทรงมีพระกรุณาแก่พระนัดดาทั้งสามเป็นอย่างยิ่ง

เมื่อพญาไชยสงครามได้ขึ้นครองราชย์ สมบัติแล้ว ก็ทรงจัดการบ้านเมืองในเมืองเชียงใหม่ได้ ๔ เดือน พระองค์ไม่โปรดที่จะประทับอยู่ ณ เมืองเชียงใหม่ จึงได้สถาปนาให้เจ้าท้าวแสนภูพระราชบุตรองค์โตขึ้นครองเมืองเชียงใหม่ ในยุคนี้เมืองเชียงใหม่ได้ลดฐานะเป็นเพียงเมืองลูกหลวง พระเจ้าชัยสงครามองค์พระประมุขทรงย้ายราชธานีไปอยู่ที่เมืองเชียงราย และทรงแต่งตั้งให้เจ้าท้าวน้ำท่วมพระราชบุตรองค์กลางไปครองเมืองฝาง ให้พระราชบุตรองค์เล็กคือเจ้าท้าวงั่วไปครองเมืองเชียงของ

ฝ่ายเจ้าท้าวแสนภูได้ครองเมือง เชียงใหม่ได้ ๑ ปี เจ้าขุนเครือพระอนุชาของพญาไชยสงครามซึ่งครองเมืองนายอยู่นั้น ได้ทราบว่าพระราชบิดาสวรรคตแล้ว การที่เจ้าขุนเครือทรงทราบข่าวช้าก็เพราะพญาไชยสงครามพระเชษฐาธิราชไม่โปรด ในพระอนุชาองค์นี้ เพราะทรงก่อเรื่องร้ายแรงไว้หลายประการ เช่น ลอบทำชู้กับมเหสีของพญาไชยสงคราม พระเชษฐาธิราชซึ่งยังความกริ้วให้แก่พระองค์เป็นอันมาก จึงไม่ยอมแจ้งข่าวให้พระอนุชาทรงทราบ ถึงการสวรรคตของพระราชบิดา
และเมื่อเจ้าขุนเครือทรงทราบก็ทรงดำริ ที่จะยกไพล่พลชาวไทยใหญ่มาตั้งทัพอยู่ที่ตำบลทุ่งข้าวสาร ทำทีประหนึ่งจะเข้ามาทำการเคารพพระราชบิศพ เมื่อตั้งทัพแล้วเจ้าขุนเครือก็ยกเข้ามายังตลาดเมืองเชียงใหม่ แล้วแต่งราชสาส์นให้คนสนิทถือไปถวายเจ้าท้าวแสนภูพระนัดดา พร้อมด้วยเครื่องบรรณาการ ในราชสาส์นนั้นแจ้งว่า เราเจ้าขุนเครือผู้เป็นอาขอทูลมายังเจ้าแสนภูผู้เป็นหลาน ด้วยอาได้ทราบข่าวว่าพระราชบิดา ซึ่งเป็นพระอัยกาของหลานได้เสด็จสวรรคตล่วงลีบไปแล้ว ด้วยความกตัญญูกตเวทีธรรม อาก็ใคร่เข้ามากราบบังคมเคารพพระบรมศพ ขณะนี้อาได้มาตั้งพักอยู่ที่ตลาดเมืองเชียงใหม่ ขอเจ้าผู้เป็นหลานอย่าได้มีความสงสัยในตัวอาแต่ประการใด และอาก็มิได้มีเจตนาร้ายอะไร นอกจากจะมาเคารพพระศพเท่านั้น

ข้างฝ่ายเจ้าท้าวแสนภูนั้น เมื่อทรงทราบว่าเจ้าขุนเครือผู้อาได้ยกกองทัพเข้ามา ก็ให้จัดแต่งการป้องกันบ้านเมืองไว้อย่างแข็งแรง ฝ่ายเจ้าขุนเครือเมื่อส่งราชสาส์นถึงเจ้าแสนภูแล้ว ก็ถอยทัพไปตั้งอยู่ที่ประตูเชียงใหม่และประตูสวนดอก (เวลานั้น ตลาดอยู่ข้างวัดพระสิงห์ปัจจุบัน) เจ้าขุนเครือตั้งทัพคอยทีอยู่ จะเข้าจับกุมเอาตัวเจ้าแสนภูผู้หลานในขณะที่เจ้าแสนภูออกไปชมตลาดในตอนเช้า

ฝ่ายเจ้าแสนภูนั้น หาได้มีความประมาทไม่ พระองค์ทรงดำริว่าแม้ตัวเราจะยกกองทัพออกสู้รบกับกองทัพเจ้าขุนเครือผู้อาก็ ย่อมทำได้ แต่อาจพลาดพลั้งลงไปเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตด้วยน้ำมือทหารหาเป็นการสมควรไม่ เมื่อเป็นดังนี้สมควรที่พระองค์จะเสด็จหลบหนีออกจากเมืองเชียงใหม่เสียก่อน จึงจะไม่เป็นเวรานุเวรสืบต่อไป เมื่อทรงดำริเช่นนั้นแล้วก็ทรงอพยพครัวหนีออกจากเชียงใหม่ไปทางประตูหัว เวียง คือ ประตูช้างเผือก เวลานั้นยังไม่เรียกว่าประตูช้างเผือก ชื่อประตูช้างเผือกนี้เพิ่งมาเรียกในสมัยหลังในรัชกาลของพระเจ้าแสนเมืองมา

เจ้าแสนภูพาครอบครัวหนีไปหาเจ้าท้าว น้ำท่วมอนุชาซึ่งครองเมืองฝาง พ่อท้าวน้ำท่วมก็จัดแต่งผู้คนออกไปส่งเจ้าแสนภูเชษฐาและครอบครัวถึงเมือง เชียงราย เจ้าแสนภูจึงนำความกราบบังคมทูลพญาไชยสงครามพระราชบิดาให้ทรงทราบทุกประการ พญาไชยสงครามทรงทราบดังนั้น ก็ทรงพระพิโรธพระอนุชาเป็นอันมาก ทรงมีพระราชดำรัสต่อหน้าบรรดามุขมนตรีทั้งหลายว่า ขุนเครือนี้ได้กระทำความผิดอย่างร้ายแรงถึง ๓ ประการ ประการที่ ๑ ได้ลอบทำมิจฉาจารต่อภริยาของกูที่เมืองเชียงดาว ประการที่ ๒ แย่งชิงเอาเมืองเชียงดาวที่พระราชบิดาประทานให้แก่กู ประการที่ ๓ บังอาจยกไพร่พลมาแย่งชิงเมืองเชียงใหม่จากลูกของกูอีก ฉะนั้นกูจะยกไปปราบมันเสียให้จงได้

ทรงมีพระราชดำรัสดังนั้นแล้ว ก็โปรดให้จัดแต่งกองทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ในเดือน ๗ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีวอก ตรงกับพุทธศักราช ๑๘๖๒ โปรดให้เจ้าท้าวน้ำท่วมราชบุตรองค์ที่ ๒ เป็นทัพหน้ายกไปยังเมืองเชียงใหม่ก่อน เจ้าท้าวน้ำท่วมยกไปถึงเมืองเชียงใหม่ในวันอังคารเดือน ๗ แรม ๑๓ ค่ำ เวลาใกล้รุ่ง ให้ตั้งทัพอยู่ที่ตำบลทุ่งแสนตอ เจ้าท้าวน้ำท่วมจึงจัดแต่งกลศึกอันมีชื่อว่าราชปัญญา คือแต่งคนเอาเครื่องศึกใส่หาบดังประหนึ่งมาเข้าเวรรั้งเมือง ดังที่เคยปฏิบัติมาแต่กาลก่อน

พวกไพร่พลที่ปลอมตัวไปนั้น ก็เข้าไปประจำอยู่ทุกประตูเมือง แล้วพระองค์จัดแต่งทหารอีกกองหนึ่ง ยกเรียงรายกันล้อมตัวเมือง เพื่อให้พวกชาวเมืองเป็นกังวลรักษาหน้าที่ ครั้นได้ยามดี เจ้าท้าวน้ำท่วมกับทหารร่วมพระทัยก็ลอบยกเข้าไปถึงประตูเมือง ไพร่พลที่ปลอมเข้าไปเป็นคนรักษาประตูก็เปิดประตูเมือง ออกรับกองทัพของเจ้าท้าวน้ำท่วมเข้าเมืองได้ แล้วไพร่พลทั้งหลายก็พากันโห่ร้องยิงปืนตีฆ้องกลองอย่างสนั่นหวั่นไหว ชาวเมืองทั้งหลายของเจ้าท้าวน้ำท่วม ไล่ฟันไพร่พลของเจ้าขุนเครือล้มตายลงเป็นอันมาก

ข้างฝ่ายเจ้าขุนเครือนั้น เสพสุรามึนเมานอนหลับอยู่ในหอคำ นายประตูที่เฝ้ารั้งคุ้มหลวงอยู่ เห็นไพร่พลของเจ้าท้าวน้ำท่วมบุกเข้ามาเช่นนั้นก็รีบเข้าไปปลุกร้องว่า “กองทัพเจ้าท้าวน้ำท่วมผู้ หลานเจ้า ตนครองเมืองฝางนั้น ยกเข้าเมืองได้แล้ว และกำลังยกเข้ามายังคุ้มหลวง ขอเจ้าเร่งรีบหนีเอาตัวรอดเถิด” แล้วนายประตูก็รีบหนีเอา ตัวรอดไป ฝ่ายเจ้าขุนเครือได้ยินดังนั้น ก็มีความตกพระทัยเป็นอันมาก รีบลุกขึ้นจากที่บรรทมวิ่งไปตีกลองสัญญาณเรียกไพร่พล แต่หามีผู้ใดมาไม่ เพราะต่างก็ตื่นหนีศึกไปก่อนแล้ว เจ้าขุนเครือเลยตกตะลึงยืนพะว้าพะวังอยู่ที่นั้นเอง ไพร่พลของเจ้าท้าวน้ำท่วมเข้าไปถึงก็เลยจับกุมเอาตัวเจ้าขุนเครือได้ และนำไปถวายเจ้าท้าวน้ำท่วม เจ้าท้าวน้ำท่วมจึงให้เอาตัวไว้เพื่อรอให้พญาไชยสงครามพระราบิดาทรงพิจารณา โทษด้วยพระองค์เอง
เมื่อเจ้าท้าวน้ำท่วมจัดการบ้านเมือง จนเข้าสู่ความสงบเรียบร้อยแล้ว ก็ส่งข่าวสาส์นไปกราบทูลให้พระราชบิดา ณ เมืองเชียงรายให้ทรงทราบ พญาไชยสงครามทรงมีพระทัยโสมนัสยินดีเป็นที่ยิ่ง ทรงตรัสชมเชยพระราชบุตรองค์ที่ ๒ ว่าแกล้วกล้าในการสงคราม สมควรที่จะได้ครองเมืองเชียงใหม่แทนเจ้าแสนภูต่อไป ครั้นแล้วพระองค์ก็ทรงยกพหลพลเสนาตรงไปยังเมืองเชียงใหม่ โปรดให้ทำพิธีปราบดาภิเษกให้เจ้าท้าวน้ำท่วมเป็นพญาครองเมืองเชียงใหม่

เมื่อเจ้าท้าวน้ำท่วมได้ครองบัลลังก์ เมืองเชียงใหม่ ทรงมีพระชนมายุได้ ๓๐ ชันษา ปีที่ขึ้นครองเมืองเชียงใหม่นั้นตรงกับปี พ.ศ. ๑๘๖๕ ส่วนเจ้าขุนเครืออนุชานั้น ทรงมีพระเมตตาอยู่ว่าเป็นเชื้อพระวงศ์เดียวกัน และเป็นอนุชาองค์เดียวเท่านั้น จึงไม่ลงพระอาญาฆ่าฟัน เพียงแต่ให้จำขังไว้ ณ ที่มุมเมืองทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ และให้หมื่นเรืองเป็นผู้ดูแล เจ้าขุนเครือถูกคุมขังอยู่ได้ ๔ ปีก็พิราลัย และมุมเมืองทางด้านนั้น ส่วนหมื่นเรืองผู้ดูแลนั้น เมื่อถึงแก่กรรมลงก็สร้างกู่ที่บรรจุอัฐิไว้ ณ ที่นั้น มุมเมืองด้านนั้นเลยเรียกว่าแจ่งกู่เรือง ตามนามของหมื่นเรืองนั้นเอง (คำว่า แจ่งกู่เรือง เมืองเหนือออกเสียงเป็น แจ่งกู่เฮือง)
เจ้าท้าวน้ำท่วมครองเมืองเชียงใหม่ได้ ๒ ปี ลุปี พ.ศ. ๑๘๖๗ มีผู้ไปกราบทูลพญาไชยสงครามว่า เจ้าท้าวน้ำท่วมจะคิดกบฏ พญาไชยสงครามทรงมีความระแวง จึงโปรดให้เจ้าท้าวงั่วราชบุตรองค์เล็กมาคุมตัวเจ้าท้าวน้ำท่วมไปยังเมือง เชียงราย ทรงไต่สวนทวนความดูก็ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าพระราชบุตรองค์ที่ ๒ จะคิดทรยศจริงดังคำกราบทูลนั้น จึงโปรดให้ไปครองเมืองเชียงตุง และโปรดให้อภิเษกเจ้าแสนภูราชบุตรองค์โตเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่เป็นครั้งที่ ๒ ครั้นเสร็จจากพิธีอภิเษกเจ้าแสนภูแล้ว ก็เสด็จกลับคืนไปยังเมืองเชียงราย สถิตสำราญอยู่ได้ ๒ ปี ก็ทรงพระประชวรสวรรคต สิริรวมพระชนมายุได้ ๗๒ ชันษา เจ้าแสนภูราชบุตรองค์โตได้เถลิงราชสมบัติสืบต่อมา และได้ทรงไปบูรณะเมืองเชียงแสนซึ่งเป็นเมืองร้างอยู่นั้น แล้วย้ายราชธานีไปอยู่ที่เมืองเชียงแสนตลอดรัชกาลของพระองค์

วัดพระธาตุเจดีย์หลวง อำเภอเชียงแสน สร้างโดยพระเจ้าแสนภู พระราชนัดดาของพญามังรายมหาราช หลังจากนั้นพญาแสนภูได้ เสด็จไปครองเมืองเชียงใหม่แทนพระราชบิดา คือ พญาไชยสงครามซึ่งเสด็จมาประทับยังเมืองเชียงราย พร้อมทั้งนำอัฐของพระราชบิดา คือพญามังรายมหาราชที่เสด็จสวรรคตที่เชียงใหม่กลับมายังเมืองเชียงราย