ผักเฮือด

0
7443
ผักเฮือด

ผักเฮือด ผักฮี้ ผักเฮือด(ภาคเหนือ) ผักเลือด ผักเลียบ (ภาคกลาง,ใต้) ไกร (กรุงเทพฯ) ยอดอ่อนกินเป็นผักสดหรือใช้แกง ช่วยระบาย

ผักฮี้ ผักเฮือด(ภาคเหนือ) ผักเลือด ผักเลียบ (ภาคกลาง,ใต้)ไกร (กรุงเทพฯ)

ต้นผักเฮือดถือเป็นไม้ประวัติศาสตร์ เป็น”ไม้เสื้อเมือง”ของเมืองเชียงใหม่ ในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่กล่าวถึงไว้ว่า ขณะที่สามสหายสามกษัตริย์(พญามังราย พญางำเมือง พญาร่วง) หารือกันสร้างเมืองเชียงใหม่ ปี พ.ศ.1839 ขณะนั้นมีพญาหนูเผือกตัวใหญ่พร้อมด้วยบริวารสี่ตัว ไต่ออกจากชัยภูมิไปเข้าโพรงในต้นผักเฮือด(นิโครธ) ทั้งสามพระองค์ทรงอัศจรรย์ใจยิ่ง และทรงเห็นเป็นนิมิตอันดี จึงพร้อมพระทัยนำข้าวตอกดอกไม้ใส่พานทองบูชา พร้อมสถาปนาให้เป็น”ไม้เสื้อเมือง”หรือ”ไม้มิ่งเมือง”ของเมืองนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ตั้งแต่บัดนั้น

ชื่อวิทยาศาสตร์ Ficus lacor Buch.
ยอดอ่อนนำมาแกง หรือเป็นผักกินกับน้ำพริก ลาบ ส้มตำ มีรสมันและฝาดเล็กน้อย
ใบเรียวยาวปลายแหลมคล้ายใบหอก ดอกออกเป็นกระจุกบนช่อสั้นๆตามกิ่ง ผลอ่อนสีเขียว และเปลี่ยนเป็นสีชมพูแดงม่วง หรือดำ เมื่อแก่เต็มที่ภายในมีเมล็ดมาก มักเป็นอาหารของนก
ผักเฮือดเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ และเป็นไม้ผลัดใบ ลำต้นสูง ยาว 15 เมตร ช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม จะผลัดใบ และในเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคมจะผลิใบใหม่ ใบอ่อนสีชมพู หรือชมพูอมเขียว ดูใสแวววาวไปทั้งต้น ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด หรือปักชำ
ผักเฮือดนั้นเป็นผักพื้นบ้านที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง อุดมไปด้วยวิตามินซี แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินเอ รวมทั้งมีสรรพคุณทางยาด้วย และสามารถนำเปลือกไปต้มดื่มแก้อาการปวดท้องได้ด้วย แต่มีข้อห้ามสำหรับหญิงมีลูกอ่อนที่มีอาการไอ ห้ามกินเพราะจะทำให้อาการไอกำเริบ ผักเฮือดมียางเหนียว บางทีพวกชาวบ้านจะใช้ยางผักเฮือดไปทำกับดักนกหรือแมลงวัน

วิธีใช้ในการประกอบอาหาร : ยอดอ่อน ใบอ่อน กินเป็นผักสด หรือนำไปลวก นึ่ง ลวกกับนํ้ากะทิ ผักจิ้มกับนํ้าพริก วิธีที่สอง นำยอดอ่อน ใบอ่อนไปปรุงเป็นอาหารพื้นเมือง ชาวเหนือนิยมนำไปแกงกับซี่โครงหมู แกงกับปลา หรือนำไปปรุงเป็นยำผักเฮือด ชาวบ้านนำไปแกงเผ็ด แกงกะทิ หรือ ต้มกะทิปลาเค็ม ส่วนชาวอีสานบางท้องที่นำไปแกงเช่นกัน

คุณค่าทางอาหาร : ยอดผักเฮือดมีรสเปรี้ยวมัน ยอดผักเฮือด100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 39 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วยเส้นใย 1.5 กรัม แคลเซียม 55 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 84 มิลลิกรัม เหล็ก 2.1 มิลลิกรัมวิตามินเอ 6,375 IU. วิตามินบี1 0.01 มิลลิกรัม ไนอะซีน 0.8 มิลลิกรัม วิตามินซี 1 มิลลิกรัม

ผักฮี้ (ภาคเหนือ) ผักเลือด ผักเลียบ (ภาคกลาง,ใต้) (ผักพื้นบ้าน อาหารไทย, 2548, 106) ผักเฮือด ผักฮี้ ผักเฮือก (เอกสารโบราณล้านนา) (รัตนา พรหมพิชัย, 2542, 5746)
ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางและเป็นไม้ผลัดใบ ลำต้นสูง 8-15 เมตร ใบ เป็นใบเดี่ยวออกแบบสลับสีเขียว รูปรีหรือรูปไข่ปนขอบขนาน ปลายใบมนทู่ ขอบใบเรียบ ผิวใบมันกว้าง 6-7 ซม. ยาว 7-18 ซม. มีหูใบขนาดเล็ก ใบอ่อนสีชมพูหรือชมพูอมเขียว ใบอ่อนแลดูใสแวววาวไปทั้งต้นและมีปลอกหุ้มใบในระยะเริ่มแรก พอเจริญเต็มที่ใบอ่อนกลายเป็นใบแก่ ดอก เป็นช่อเส้นผ่าศูนย์กลางของดอก 4-6 มม. ก้านใบสั้นออกจากซอกใบ ผล ผลอ่อนสีเขียวและเปลี่ยนเป็นสีชมพูแดงม่วงหรือดำ เมื่อแก่เต็มที่ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 ซม. (กรมส่งเสริมการเกษตร, 2550)
แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินเอ (ผักพื้นบ้าน อาหารไทย, 2548, 106) ข้อมูลทางอาหารสำหรับชาวล้านนา ใช้ใบและยอดอ่อนที่ยังไม่คลี่ใช้เป็นผักแกงกับเนื้อหมูหรือเนื้อไก่ มีรสฝาดอมเปรี้ยว หรือนำไปนึ่งจิ้มน้ำพริก หรือใช้ยำ เรียกว่า ยำผักเฮือด (รัตนา พรหมพิชัย, 2542, 5747; สิรวิชญ์ จำรัส, 2550, สัมภาษณ์)
เปลือกและลำต้นต้มกินแก้ปวดท้อง มีข้อห้ามสำหรับหญิงแม่ลูกอ่อนที่มีอาหารไอ ห้ามกินเพราะจะทำให้อาการกำเริบ (ผักพื้นบ้าน อาหารไทย, 2548, 106)
ข้อบ่งใช้ทางเภสัชกรรมล้านนา เป็นส่วนผสมของตำรับยาขางแกมสาน (รัตนา พรหมพิชัย, 2542, 5747)
ขอบคุณ
กรมส่งเสริมการเกษตร. (2550).สนั่น ธรรมธิ

เมนูแนะนำ : แกงผักเฮือด

[iggetimage type=”tags” tag=”%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%AE%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%94″ limit=”15″]


ผักพื้นบ้านเมืองเหนือ สมุนไพรไทยล้านนา ชื่อเรียกภาษาเหนือของผัก อาหารการกินล้านนา อาหารเฉพาะถิ่น เรารวบรวมมาไว้ให้คุณได้ศึกษา รู้จัก ล้านนา อยู่ดี กิ๋นลำ อู้ม่วน แอ่วบ่ก้าย at-chiangmai.com

at-chiangmai.com เว็บไซต์ที่รวมรวมความรู้ทุกอย่างเกี่ยวกับเชียงใหม่ และล้านนา และข่าวสารการท่องเที่ยวโดยตรง สถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ที่ได้รับความนิยมและไม่ได้รับความนิยม ตำนานเรื่องเล่านิทานพื้นบ้าน ขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม ประเพณี ภาษากำเมือง การแต่งกาย ประวัติบุคคลสำคัญ เกจิอาจารย์ชื่อดัง ในแต่ละยุคสมัย “ทุกตารางเมตรของเชียงใหม่เราจะนำมาให้คุณชม”