นิทานล้านนา เรื่อง “ไอ้เซี่ยงเมี่ยงค่ำพญา” (ศรีธนญชัยรังแกพญา)

0
5718

วันหนึ่งเจ้าเมืองเดินทางไปตามบ้านน้อยเมืองใหญ่ ก็ได้ไปพบไอ้ศรีธนญชัย ไม่รู้จักว่าเป็นไอ้ศรีธนญชัย ไอ้ศรีธนญชัยก็ทักเจ้าเมืองว่า ‘’ สาธุ ท่านเจ้าเมืองจะไปไหน ‘’ เจ้าเมืองตอบว่า ‘’ จะไปเที่ยว ‘’ ไอ้ศรีธนญชัยก็ว่า ‘’ เจ้าเมืองนี่ข้าหลอกได้แน่นอน ” ‘’ เด็กน้อยอย่างเจ้านะหรือ จะมาหลอกเราได้ ‘’ เจ้าเมืองตอบ ‘’ จะหลอกข้าอย่างไรล่ะ ‘’ ‘’ ไม่ยากหรอก ถ้าจะหลอกละก็ ” ‘’ ก็ไหนลองหลอกกูดูทีซิ ” ‘’ โอ งั้นหรือ งั้นก็ลงมานี่ก่อนซิ เจ้าเมืองลงมาเสียก่อนแล้วข้าจะหลอก ” ทันใดนั้น เจ้าเมืองก็ลงไป ไอ้ศรีธนญชัยก็ว่า ‘’ นี่ไงล่ะ เจ้าเมืองก็ลงมาตามที่ข้าหลอก ” ตอนนี้ ก็นับได้ว่าไอ้ศรีธนญชัยหลอกเจ้าเมืองได้

ต่อมาอีกหลายวัน เจ้าเมืองก็พบไอ้ศรีธนญชัยอีก มันก็บอกว่า ‘’ ขอเชิญเจ้าเมืองเข้ามานี่อีกทีเถอะ ข้ามีอะไรจะหลอกอีก ” เจ้าจะหลอกข้าได้อย่างไรล่ะ ‘’ ‘’ มาเถอะน่า ขอให้เจ้าเมืองกระโดดลงไปในหนองน้ำนั้นก่อน แล้วข้าจะหลอก ” เจ้าเมืองก็รีบกระโดดลงไปในหนองน้ำ ‘’ นั่นไง ดูซิเจ้าเมืองก็ตกลงไปในหนองน้ำที่ข้าหลอกจนได้ ‘’ ก็เป็นอันว่าเจ้าเมืองแพ้ศรีธนญชัยอีกครั้งหนึ่ง เจ้าเมืองก็โกรธมากคิดจะฆ่าไอ้ศรีธนญชัยเสีย ถ้าขืนปล่อยให้อยู่ต่อไปมันก็จะหลอกเราอยู่เรื่อยไป

ต่อมาไอ้ศรีธนญชัยก็ไปพบเจ้าเมืองเข้าอีก มันพูดว่า ‘’ คนอย่างเจ้าเมืองนี่ถ้าไปเที่ยวบ้านข้าไม่ฟ้อนรำละก็ต้องเข็ดแน่ ๆ ” ‘’ โธ่ ไอ้ศรีธนญชัย คนอย่างกูนี่น่ะหรือจะไปฟ้อนรำทำไมที่บ้านมึง ”” ไม่เชื่อก็ขอเชิญไปทีเถอะน่า ‘’ บ้านไอ้ศรีธนญชัยอยู่คนละฝั่งคลอง มีไม้พาดข้ามสะพานเท่าลำแขนเท่านั้น เมื่อเจ้าเมืองเดินข้ามสะพานไม้นี้ก็เดินเอี้ยวไปเอี้ยวมา มือไม้ก็กางออกไป ไอ้ศรีธนญชัยก็ว่า ” นี่ไงล่ะเจ้าเมืองท่านฟ้อนรำหรือไม่ล่ะ ‘’ ก็เป็นอันว่าเจ้าเมืองถูกไอ้ศรีธนญชัยหลอกเอาอีกครั้งหนึ่ง ไอ้ศรีธนญชัยก็บอกว่า ‘’ ถ้าหากเข้าไปอีกหน่อยนะจะถึงประตูบ้านข้า ถ้าหากเจ้าเมืองไม่ไหว้เข้าไปละก็ข้าว่าเข็ดแน่ ๆ เลย ‘’ เจ้าเมืองก็ว่า ‘’ คนอย่างกูนี่นะหรือจะไปไหว้มึง ‘’ เอาเถอะน่า ลองดูก็แล้วกัน บ้านไอ้ศรีธนญชัยนั้นอยู่ในป่าหญ้าคา หาทางเข้าไปลำบากแทบมองไม่เห็นทาง เพราะต้นหญ้าคาขึ้นทึบไปหมด ก็ต้องใช้มือแหวกหญ้าเข้าไปเรื่อย ๆ ศรีธนญชัยเห็นดังนั้นก็ร้องว่า ‘’ นี่ไงล่ะเจ้าเมืองไหว้หรือไม่ไหว้ล่ะ ” เจ้าเมืองก็ต้องแพ้ศรีธนญชัยอีกครั้งหนึ่ง ศรีธนญชัยก็พูดต่อไปอีกว่า ” หากเจ้าเมืองเข้าไปในบ้านข้าแล้วไม่ทำความเคารพเสียก่อนก็เห็นจะต้องเข็ดแน่ ๆ ‘’ ไอ้ศรีธนญชัยเอ๊ย คนอย่างกูนะหรือจะทำความเคารพบ้านมึง ‘’

‘’ เอาเถอะน่า ” พอไปถึงบ้านของศรีธนญชัยแล้วประตูบ้านเตี้ยมากเพราะเป็นกระท่อมเล็ก ๆ เจ้าเมืองไปถึงก็ต้องก้มหัวลอดเข้าไป ศรีธนญชัยได้ทีเลยพูดว่า ‘’ นั่นไงล่ะท่านเจ้าเมืองกำลังทำความเคารพบ้านข้าแล้ว ” ในที่สุดเจ้าเมืองก็พูดขึ้นว่า ‘’ ตั้งแต่นี้เป็นต้นไปถ้าแผ่นดินนี้ไม่กลับข้างล่างมาเป็นข้างบนละก็ ไอ้ศรีธนญชัยมึงอย่าได้ย่างเหยียบเข้ามาบ้านเมืองกูอีกนะ มึงจงออกจากบ้านเมืองกูไปเสีย ”

ศรีธนญชัยก็หนีออกจากบ้านเมืองไป พอย่างเข้าเดือนเก้า เดือนสิบ ชาวบ้านเขาก็ทำไร่ไถนาดินที่ไถนามันกลับข้างล่างเป็นข้างบน ศรีธนญชัยก็กลับเข้าบ้านเข้าเมืองอีกครั้งหนึ่ง เมื่อเจ้าเมืองเห็นก็พูดว่า ‘’ ไอ้ศรีธนญชัย กลับมาอีกแล้วหรือ ไหนกูบอกมึงว่าอย่างไรมึงจำไม่ได้หรือ มึงต้องตายแน่วันนี้ กูบอกมึงว่าถ้าแผ่นดินไม่กลับข้างล่างเป็นข้างบน ห้ามไม่ให้มึงกลับเข้ามาในบ้านเมืองของกูไม่ใช่หรือ ‘’ ศรีธนญชัยก็ตอบว่า ‘’ ขอเชิญเจ้าเมืองออกไปดูตามทุ่งนาบ้างซิ แล้วจะเห็นว่าแผ่นดินครั้งหนึ่ง เลยสั่งว่า ‘’ พรุ่งนี้ให้มึงไปสานตะกร้าใบเล็กที่สุดมาให้ใบ ศรีธนญชัยก็กลับไปสานตะกร้าใบเล็กที่สุดคลุมหัวเต่าเข้าไปสู่เจ้าเมือง ‘’ ไหนล่ะตะกร้าใบเล็กที่กูสั่งให้มึงสาน ‘’ ศรีธนญัชยก็แก้ห่อให้ดูก็เห็นตะกร้าใบเล็กที่สุดครอบอยู่บนหัวเต่า เจ้าเมืองเห็นดังนั้นก็หาวิธีใหม่ โดยสั่งให้ศรีธนญชัยสานตะกร้าใบใหญ่ที่สุด ศรีธนญชัยก็สานตะกร้าใบใหญ่จนเข้าประตูเมืองไม่ได้ จึงเข้าไปบอกเจ้าเมืองว่า สานตะกร้าเสร็จแล้วและเอาเข้าประตูเมืองไม่ได้ ตลอดทางก็คิดหาทางแก้แค้นไอ้ศรีธนญชัยให้ได้เลยท้าพนันศรีธนญชัยว่า ถ้าใครถ่ายอุจจาระได้โดยไม่ถ่ายปัสสาวะ คนนั้นรอดตาย ตอนนั้นศรีธนญชัยได้ถ่ายปัสสาวะมาก่อนแล้ว จึงชนะเจ้าเมืองอีก ศรีธนญชัยจึงเอาค้อนทุบศรีษะเจ้าเมืองเสีย ในที่สุดเจ้าเมืองก็ต้องมาตายเพราะศรีธนญชัยจนได้

ข้อคิดที่ได้จากนิทานเรื่องนี้ : จากเนื้อเรื่อง เป็นเรื่องราวที่เล่าสู่กันฟังให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินและแฝงด้วยแนวคิด เป็นบทสอนใจให้กับผู้ที่ได้รับฟัง

คติ : ‘’ คนที่มีสติปัญญาย่อมเอาตัวรอดได้เสมอ ‘’

( เล่าโดย นายหลาน วงศ์ไชย ร้านศิริชัย หมู่ ๗ ตำบลสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ )

เว็บไซต์ล้านนาคดี http://lanna.mju.ac.th/ “ทุกภาพ ทุกตัวอักษร มอบเป็นวิทยาทานแด่ทุกท่าน”