คูน ภาคเหนือ ตูน ภาคใต้ กะเอาะขาว โหรา ออกดิบ อ้อดิบ ภาคกลาง ตูน กระดาดขาว คูน อีสาน ทูน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Colocasia gigantea Hook.f.
วงศ์ ARACEAE
ก้านใบสดเป็นผักจิ้ม หรือใช้แกงส้ม แกงแค หัวใต้ดินแก้พิษร้อน ถอนพิษไข้
ตูนเป็นพืชล้มลุกอายุสั้น มีเหง้าอยู่ใต้ดิน ก้านใบยาว ใบรูปหัวใจขนาดใหญ่ ขอบใบหยักเป็นคลื่น ดอกเป็นช่อเชิงลด ออกที่กึ่งกลางกอ ก้านช่อดอกกลมยาว มีกาบรองช่อดอกสีเหลืองหุ้มปลีดอกสีครีม ดอกมีกลิ่นหอม ผลสดมีหลายเมล็ด
สภาพนิเวศ : ชอบขึ้นบริเวณที่มีความชุ่มชื้นสูง แดดไม่จัดมาก
การขยายพันธุ์ : แยกกอ
สถานภาพในชุมชนปางมะโอ
การใช้ประโยชน์ : ก้านใบมีรสจืดและฉ่ำน้ำ นำมาลอกเอาเยื้อหุ้มออก กินสดกับน้ำพริก ลาบ ยำ ส้มตำ ตำส้มโอ หรือนำมาแกงส้มกับปลาสด
แหล่งที่พบ : พบทั่วไปตามสวนครัว ริมลำธาร หรือบางครอบครัวปลูกเป็นไม้ประดับ
เกร็ดน่ารู้ : ตูนเป็นพืชวงศ์เดียวกับบอนและเผือก แต่มีขนาดของกอและก้านใบใหญ่กว่า ไม่คันเหมือนบอน นอกจากนี้มีไขสีขาวนวลหุ้มก้านใบบางๆ เห็นชัดเจน
อ้อดิบ คือ ต้นคูนของภาคกลาง เวลาใช้ปรุงอาหารให้ลอกเยื่อบาง ๆ ออก แล้วหั่นเป็นท่อนคล้ายสายบัว อ้อดิบ มีชื่ออื่นอีก เช่น คูน (ภาคกลาง) โหรา อ้อดิบ(นครศรีธรรมราช)
ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Colocasia gigante Hook. f. อ้อดิบ(คูน) เป็นไม้ล้มลุกอยู่ในวงศ์ Araceae และอยู่ในสกุล Colocasia เช่นเดียวกับบอน เป็นผักชนิดหนึ่งชึ่ง ลักษณะคล้ายบอน ชาวบ้านจะปลูกไว้กินริมรั้ว หรือข้างบ้าน ชอบ ขึ้นบริเวณที่มีน้ำแฉะ นำมาทำอาหารได้ทั้งคาวและหวาน อ้อดิบที่นำมาทำเป็นอาหารส่วนมากจะใช้แกงส้ม และยำ
ชื่อสามัญ GIANT Elephant Ears
ชื่อวิทยาศาสตร์ Colocasia gigantea Hook.f
ชื่ออื่น Green Taro ภาคกลางและภาคอิสานเรียกว่า ทูน คูน หัวคูณ ภาคเหนือเรียกว่า ตูน ภาคใต้เรียกว่า เอาะดิบ ออกดิบ ออดิบ นครศรีธรรมราช-ยะลา เรียก ออดิบ ชุมพรเรียกว่า กะเอาะขาว ประจวบคีรีขันธ์เรียกว่า บอน กาญจนบุรีเรียกว่า กระดาดขาว
ถิ่นกำเนิด แถบอเมริกากลางและใต้
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
คูนเป็นพืชตระกูลบอน มีหัวอยู่ใต้ดิน ใบเป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ รูปร่างเป็นลูกศร มีนวลเคลือบแผ่นใบก้านใบยาวกลมมีนวลเคลือบ คูนมี 2 ชนิด คือ ชนิดสีเขียวอ่อน ใบมีสีเขียวอ่อน ก้านใบสีเขียวอมขาว ชนิดสีม่วง ใบและก้านใบสีม่วง ออกดอกเป็นช่อเชิงลด มีกาบหุ้ม ก้านช่อดอกกลมยาว มีกาบหุ้มจนมิด เมื่อดอกยังไม่บาน ช่อดอกทรงกระบอก กลุ่มช่อดอกเพศผู้อยู่ด้านบน ตรงกลางกลุ่มช่อดอกไม่มีเพศ ช่อดอกเพศเมียอยุ่ด้านล่าง
ฤดูกาล ก้านและใบออกตลอดปี
การกิน กินก้านที่โตเต็มที่เป็นผัก โดยลอกเอาเปลือกเขียวที่หุ้มอยู่ออก กินเป็นผักสดจิ้มน้ำพริก แกล้มแกงรสจัด ส้มตำ ใบอ่อนและก้านชาวเหนือนำไปแกงส้มใส่ปลา ปรุงเป็นผักในแกงแคหรือแกงกะทิ ชาวใต้นิยมนำก้านไปแกงเหลืองใส่ปลา
สรรพคุณทางยา ลำต้นใต้ดิน สุมเป็นถ่ายแก้พิษไข้ พิษร้อน พิษตานซาง ลำต้นใต้ดินสด รักษาแผล กัดฝ้า กัดหนอง แก้โรคเถาดานในท้อง ภาคเหนือใช้ผลสดฝนผสมกับน้ำผึ้งกินละลายเสมหะ
ข้อควรรระวังในการเลือกบริโภคพืชตระกูลบอน
พืชตระกูลบอนเป็นพืชที่นิยมนำมาประกอบอาหารประเภทต่างๆ เช่น แกง ยำ ลวก หรือบางรายก็กินดิบๆ แต่เนื่องจากพืชตระกูลบอนมีหลากหลายสายพันธุ์มีทั้งชนิดที่รับประทานได้และรับประทานไม่ได้ มีลักษณะใบและก้านที่ล้ายคลึงกัน ดังนั้น เราจึงได้ยินอยู่บ่อยๆว่า ผู้ที่บริโภคพืชดังกล่าวเข้าไปแล้วต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล เนื่องจากได้รับสารพิษที่มีผลึกแคลเซียมออกซาเลท (Calcium oxalate) ที่มีลักษณะเป็นรูปเข็ม ไม่ละลายน้ำ ซึ่งอยู่ในพืชตระกูลบอน ชนิดที่รับประทานไม่ได้เข้าไปนั่นเอง
- พืชตระกูลบอนชนิดที่รับประทานได้ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Colocasia indicaHassk. Colocasia gigantea Hook.f. ภาษาท้องถิ่นเรียก ออดิบ ออกดิบ (ภาคใต้) คูน (ภาคกลาง) กระดาดขาว ตูน (ภาคเหนือ)
- สำหรับชนิดที่รับประทานไม่ได้ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Alocasiamacrorhiza Schott ภาษาท้องถิ่นเรียก โหรา เอาะลาย (สงขลา ยะลา) กระดาดดำ (กาญจนบุรี)ความแตกต่างระหว่างพืชตระกูลบอนชนิดที่รับประทานได้ (ออดิบ) และชนิดที่รับประทานไม่ได้ (โหรา) ที่สังเกตได้ชัดคือ โหรา มีลักษณะใบที่ใหญ่ สีเขียวเข้มและหนากว่าใบของออดิบ ซึ่งมีใบขนาดค่อนข้างเล็ก และบางกว่า มีสีเขียวอ่อนกว่าก้านใบของออดิบมักจะมีสีนวลขาว
อาการพิษ
หลังจากรับประทานแล้ว จะมีอาการระคายเคืองในลำคอ ปากและลิ้น ทำให้ลิ้นแข็ง ไม่สามารถพูดได้
ข้อแนะนำในการนำพืชตระกูลบอนมาบริโภค
- ต้องมั่นใจว่า พืชดังกล่าวเป็นชนิดที่กินได้ (ออดิบ/คูน) หากไม่มั่นใจว่าเป็ยชนิดที่กินได้หรือไม่ ให้ปรึกษาผู้ที่รู้จักลักษณะของพืชดังกล่าว
- ไม่ควรนำออดิบ/คูน ที่ไม่ได้ปลูกเอง หรือที่ขึ้นเองตามธรรมชาติมารับประทาน
- หากรับประทานอาหารที่ปรุงด้วยพืชตระกูลบอนแล้วรู้สึกผิดปกติ มีอาการระคายเคืองปาก ลิ้นและลำคอ หรือมีอาการปวดแสบปวดร้อน ให้คายทิ้ง แล้วรีบล้างปากแล้วดื่มนมเย็นหรือไอศกรีม เพื่อลดอาการระคายเคืองเฉพาะที่ และรับประทานยาลดกรด ครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ ทุกๆ 2 ชั่วโมง และหยุดรับประทานอาหารดังกล่าว แล้วไปพบแพทย์ทันที
อย่างไรก็ตาม พืชตระกูลบอนบางชนิด มีสรรพคุณทางสมุนไพร เช่น บอนเขียว บอนจีนดำ บอนน้ำ สามารถใช้หัวเป็นยาระบาย ขับปัสสาวะในน้ำนม และอีกหลายสายพันธุ์ที่มีลักษณะสวยงาม นิยมนำมาตกแต่งสวน
จึงพอสรุปได้ว่า พืชตระกูลบอนนั้น มีประโยชน์ต่อคนแต่การนำไปรับประทานต้องระมัดระวังสายพันธุ์ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพด้วย
ยำอ้อดิบ เป็นอาหารที่ทำกินกันในจังหวัดสงขลา พัทลุง และนครศรีธรรมราช เป็นอาหารที่มีราคาถูก ทำง่าย กินกับข้าวสวย ทั้ง 3 มื้อ หรือเป็นกับแกล้มปัจจุบันยังมีที่ทำกินอยู่บ้าง
ฝักแก่ เนื้อสีน้ำตาลดำและชื้นตลอดเวลา มีรสหวาน สามารถใช้เป็นยาระบายได้ โดยนำฝักมาต้มกับน้ำ และเติมเกลือเล็กน้อย ดื่มก่อนนอนหรือก่อนรับประทานอาหาร นอกจากนั้น ฝักแก่ยังมีสารที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทของแมลง เมื่อนำฝักมาบดผสม น้ำแช่ทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วัน สารละลายที่กรองได้สามารถฉีดพ่นกำจัดแมลงและหนอน ในแปลงผักได้ ฝักแก่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการหุงต้มด้วยเตาเศรษฐกิจ มีขนาดที่พอเหมาะ
ไม่ต้องผ่า เลื่อยหรือตัด เนื้อของฝักแก่ใช้แทนกากน้ำตาลในการทำหัวเชื้อจุลินทรีย์และ จุลินทรีย์ขยาย ฝักอ่อน สามารถใช้ขับเสมหะได้ ใบสามารถนำมาใช้ในการฆ่าเชื้อโรคได้ และดอก แก้แผลเรื้อรัง
แหล่งที่มา : http://www.monmai.com/%E0%B8%AD%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%9A/
แหล่งที่มา : http://hkm.hrdi.or.th/knowledge/detail/168