คำ กาไวย์ ศิลปินแห่งชาติปี 2535

0
2069
นายคำ กาไวย์ หรือ พ่อครูคำ (25 พฤษภาคม พ.ศ. 2476 – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557) ศิลปินแห่งชาติ

นายคำ กาไวย์ หรือ พ่อครูคำ (25 พฤษภาคม พ.ศ. 2476 – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557) ศิลปินแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2535 สาขาศิลปะการแสดง (การแสดงพื้นบ้าน)

พ่อครูคำ กาไวย์ เกิดเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2476 ที่อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ มีบุตรธิดา 4 คน
พ่อครูคำ จบการศึกษาชั้นประถม แต่เนื่องจากมีความสนใจในการแสดงพื้นบ้าน และมีความสามารถในการตีกลองสะบัดชัย ซึ่งเป็นศิลปะพื้นบ้านล้านนา และได้มีโอกาสเข้าประกวดแข่งขันศิลปะพื้นบ้าน เมื่อปี พ.ศ. 2504 และได้รับรางวัลชนะเลิศ ทำให้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป
พ่อครูคำ ได้คิดค้นและประดิษฐ์ชุดการแสดงจำนวนมาก และผลงานที่โดดเด่นคือ การคิดค้นท่ารำ ร่วมกับอาจารย์ของวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่
ในปี 2557 พ่อครูคำ กาไวย์ ได้ล้มป่วยลงและเข้าทำการรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ตั้งแต่เมื่อวันที่ 17 ม.ค. 2557 เป็นต้นมา และได้เสียชีวิตลงอย่างสงบในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2557 ที่บ้านเกิดในตำบลน้ำแพร่ อำเภอหางดง เชียงใหม่ สิริอายุได้ 81 ปี
สิ้น พ่อครูคำ กาไวย์ ปราชญ์กลองสะบัดชัย

พ่อครู คำ กาไวย์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดงพื้นบ้าน ( ช่างฟ้อน ) ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการตีกลองสะบัดชัยแบบประยุกต์ เสียชีวิตแล้วโรคด้วยประจำตัวที่บ้านพักในอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ โดยญาติได้ตั้งศพบำเพ็ญกุศลไว้ที่บ้านแพะขวาง ตำบลน้ำแพร่ อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ สิริอายุได้ 80 ปี ท่ามกลางความอาลัยของลูกศิษย์และบรรดาญาติพี่น้องและภรรยา พ่อครูคำ กาไวย์ ล้มป่วยด้วยโรคประจำตัว ทั้งมะเร็งปอดและลำไส้อับเสบ และเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่มานานนับเดือน จนกระทั่งวันนี้ญาติได้นำตัวพ่อครูคำออกจากโรงพยาบาล และไปเสียชีวิตที่บ้านในช่วงสายของวันนี้

สำหรับพ่อครูคำ กาไวย์ เกิดเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2477 ที่อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ มีบุตรธิดา 6 คน พ่อครูคำ จบการศึกษาชั้นประถม แต่เนื่องจากมีความสนใจในการแสดงพื้นบ้าน และมีความสามารถในการตีกลองสะบัดชัย ซึ่งเป็นศิลปะพื้นบ้านล้านนา และได้มีโอกาสเข้าประกวดแข่งขันศิลปะพื้นบ้าน เมื่อปี พ.ศ. 2504 และได้รับรางวัลชนะเลิศ ทำให้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป พ่อครูคำได้คิดค้น และประดิษฐ์ชุดการแสดงจำนวนมาก และผลงานที่โดดเด่นคือ การคิดค้นท่ารำ ร่วมกับอาจารย์ของวิทยาลัยนาฏศิลป์เชียงใหม่ และก่อนเสียชีวิต ยังเป็นอาจารย์พิเศษสอนฟ้อนดาบ ฟ้อนพัด ที่วิทยาลัยนาฎศิลป์ด้วย..
……Copyright © 2011 องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย

ลูกหลานจักสืบถ้อย ปณิธาน
ขอพ่อจุ่งเจยบาน เน่อไธ้
อิดอ่อนก่อเมินนาน พักผ่อน แลนา
หื้อหมู่ลูกหลานได้ สืบไว้บ่หมอง

เสียงกล๋องยังบ่เสี้ยง สูญไป
หลอนพ่อคำก๋าไวย์ ล่วงแล้ว
ผลงานพ่อลือไกล๋ ทั่วถิ่น เมืองไทย
ขอพ่อสู่เวียงแก้ว ผ่องแผ้ว วิญญา

ที่มา