ต้นกําเนิดของขุนหลวงวิลังคะ เป็นชนชาวลัวะหรือละว้า หรือ ลาวจักราชซึ่งในอดีตชนกลุ่มนี้ ปกครองอาณาจักรล้านนารวม ๘ ดินแดนภาคเหนือของไทยซึ่งแต่เดิมได้ขนานนามว่า “นครทัมมิฬา” หรือ “นครมิรังคะกุระ” ซึ่งมีองค์พระอุปะติราชปกครองสืบต่อกันมาจนสิ้น “วงศ์อุปะติ” และเริ่มการปกครองใหม่โดยวงศ์ “กุนาระ” ซึ่งในสมัยพระเจ้ากุนาระราชาครรองราชย์ได้ทรงเปลี่ยนนามนครมาเป็น “ระมิงค์นคร”ขุนหลวงวิลังคะ เป็นกษัตริย์องค์ที่ ๑๓ ของ “ระมิงค์นคร” ในราชวงศ์กุนาระ เมื่อราวต้นพุทธศักราช ๑๒๐๐ ท่านทรงมีอิทธิฤทธิ์และฝีมือในการพุ่งเสน้า (หอก) จนเป็นที่เลื่องลือ ท่านได้ทรงครอบราชย์ “ระมิงค์นคร” ในสมัยเดียวกันกับที่พระนางจามเทวี ทรงครองราชย์ “นครหริภุญชัย” ขุนหลวงวิลังคะ ได้สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. ๑๒๒๗ ณ ระมิงค์นคร รวมอายุได้ ๙๐ กว่าชันษา
ระมิงค์นคร ได้ถูกปกครองสืบเนื่องมาหลายยุคหลายสมัย จนสมัยพญามังรายที่ ๒๕ ในปีพ.ศ. ๑๘๓๔ ได้เริ่มสร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้นที่เชิงดอยสุเทพ และสร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. ๑๘๓๙ ได้ตั้งชื่อนครใหม่ว่า “เวียงนพบุรีพงค์ชัยใหม่” หรือ “เจียงใหม่” มาเป็น “เชียงใหม่” ในปัจจุบันชาวเมืองก๊ะ เชื่อกันมานานแล้วว่าพ่อขุนเสียชีวิตที่นี่ที่บ้านเมืองก๊ะ ท่านเป็นกษัตรย์ชาวลัวะองค์ที่ ๑๓ ของระมิงค์นครในราชวงศ์กุนาระ เมื่อราวต้นพุทธศักราช ๑๒๐๐ ทรงมีอิทธิฤทธิ์มีฝีมือในการพุ่งหอกเสน้า (สะ-เน่า) เป็นที่เลื่องลือ สิ้นพระชนม์ด้วยความตรอมใจเมื่อพุทธศักราช ๑๒๒๗ เพราะไม่สมหวังในความรักจากพระนางจามเทวีที่ปกครองนครหริภุญชัยในสมัยเดียวกันเขตชุมชนในที่ราบลุ่มแม่น้ำปิงตอนบน และเขตชุมชนลุ่มแม่น้ำกกเขตชุมชนในที่ราบลุ่มแม่น้ำปิงตอนบน (แอ่งเชียงใหม่-ลําพูน) สมัยชุมชนพื้นเมือง “ลัวะ” ตํานานจามเทวีเป็นตํานานหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่า บริเวณเชิงดอยสุเทพเป็นที่อยู่ของลัวะมีขุนหลวงวิลังคะเป็นผู้ปกครอง เมื่อพระนางจามเทวีอพยพผู้คนจากลพบุรีขึ้นมาปกครองหริภัญชัย ขุนหลวงวิลังคะต้องการพระนางจามเทวีเป็นมเหสีพระนางจามเทวีปฏิเสธจึงเกิดการทําสงครามระหว่างมอญกับลัวะ พวกลัวะพ่ายแพ้หลังจากนั้นตํานานจามเทวีก็ไม่ได้กล่าวถึงพวกลัวะอีกเลย เข้าใจว่าหลังจากแพ้สงครามต่อพระนางจามเทวีแล้ว คงจะกระจัดกระจายไปตามป่าเขาและตามที่ต่าง ๆ เมื่อพญามังรายก่อตั้งเมืองเชียงใหม่ตํานานพื้นเมืองเชียงใหม่ระบุว่าบริเวณนี้”เป็นที่อยู่ที่ตั้งแห่งท้าวพระยาทั้งหลายมาแต่ก่อน” อิทธิพลด้านความเชื่อของพวกลัวะที่สืบมาจนปัจจุบันนอกจากการนับถือเสาอินทธีลแล้ว ยังมีการนับถือผีปู่ย่าและย่าแสะ ซึ่งเป็นผีที่รักษาเมืองเชียงใหม่ โดยชาวบ้าน ตําบลสุเทพ อําเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นผู้กระทําพิธีเช่นเวยผีปู่แสะซึ่งเป็นผู้พิทักษ์ดอยสุเทพ และชาวบ้านตําบลแม่เหียะ อําเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จะสังเวยผีย่าแสะ บริเวณดอยคํา พร้อมกับการทําพิธีเลี้ยงผีปู่แสะย่าแสะ จะมีการทําเช่นสังเวยผีขุนหลวงวิลังคะอีกด้วย ซึ่งชาวบ้านเชื่อว่าขุนหลวงวิลังคะเป็นผีลูกหลานบริวารของปู่แสะย่าแสะ
สถูปขุนหลวงวิลังคะตั้งอยู่หมู่ที่ ๕ บ้านเมืองก๊ะ ปัจจุบันมีผู้คนมาสักการะบูชาจำนวนมาก แต่ละปีจะมีการจัดทำ พิธีทำบุญประจำปี ในตำนานกล่าวว่า ขุนหลวงวิลังคะ หรือ “มะลังกะ” กษัตริย์ของชนเผ่าลั๊วะ สร้างอานาจักรอยู่ใบริเวณเชิงเขาดอยสุเทพ และที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง มีเมืองสำคัญปรากฏหลักฐานสืบมา เช่น เวียงนพบุรี เวียงเชษฐบุรี ( เวียงเจ็ดลิน) และ เวียงสวนดอก ก่อนที่จะถูกพระยามังรายแผ่ขยายเข้ามาทำการยึดครองเพื่อสร้างเมืองเชียงใหม่ในปี พ.ศ. ๑๙๘๓