กลองแอว หรือ กลองตึ่งโนง

0
8214

กลองแอว หรือที่นิยมเรียกกันว่า กลองตึงโนง เป็นกลองพื้นบ้านล้านนาที่มีใช้อย่างยาวนาน

กลองชนิดนี้มีชื่อเรียกตามเสียงที่ได้ยินออกมาจาก การตี คือ กลองเป็นเสียง “ตึ่ง” ฆ้องเป็นเสียง “โนง” จึงนิยมเรียกว่า “กลองตึงโนง” กลองชนิดนี้เรียกอีกชื่อว่า “กลองแอว”

ชื่อเรียกของกลองแอว

กลองแอว เป็นชื่อเรียกที่มีความหมายถึง ลักษณะรูปร่างของหุ่นกลองที่ซึ่งสืบเนื่องมาจากรูปร่างของกลองที่คอดกลางคล้ายคลึงกับสะเอวของคนนั่นเอง นอกจากนั้นยังอื่นมีชื่อเรียกขานแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น บ้างก็เรียกตามรูปร่างลักษณะที่เห็น หรือเรียกตามเสียงที่ได้ยิน บ้างก็เรียกตามตำนานที่เล่าขานสืบต่อกันมา เช่น กลองเปิ้งมง, กลองต๊กเส้ง และกลองอืด เป็นต้น

ก่อนการตีจะต้องถ่วงหน้ากลองด้วยวัสดุเหนียวๆ ที่เรียกว่า จ่ากลอง ทำมาจากข้าวเหนียวนึ่งบดผสมกับขี้เถ้า แล้วแต่สูตรของแต่ละคน หรือใช้กล้วยตากอบน้ำผึ้งบด ติดไว้บริเวณหน้ากลองเพื่อเพิ่มความดังกังวาน
กลองแอวสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ตามขนาดและเสียง คือ กลองแอวเสียงใหญ่ เสียงกลาง และเสียงเล็ก ซึ่งแต่ละประเภทจะมีขนาดของตัวกลองที่แตกต่างกันไปตามลำดับ

ลักษณะขนาดของกลองแแอว

กลองแอว ลักษณะคล้ายกับกลองยาว แต่ใหญ่และยาวกว่ามาก ตัวกลองทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เป็นกลองขึงด้วยหนังหน้าเดียว มีหนังเส้นใหญ่ดึงหน้ากลองไว้โดยรอบยาวตลอดไหล่กลอง เอวคอด ตอนท้ายเรียวและบานปลายคล้ายรูปกรวย ช่วงท้ายของกลองกลึงควั่นเป็นปล้องๆ มีหลายขนาด โดยมีหน้ากลองกว้างประมาณ 35-40 ซม. ความยาวของไหล่กลองประมาณ 75-80 ซม. และความยาวช่วงท้ายประมาณ 95-100 ซม.นี้ถือเป็นกลองพื้นบ้านล้านนาที่มีการใช้ในล้านนามายาวนาน มีขนาดหน้ากว้างประมาณ ๑๒ – ๒๐ นิ้ว ยาวประมาณ ๒ วา

การตีกลองแอว

โดยปกติกลองแอวที่ใช้ในภาคเหนือ จะบรรเลงร่วมกับเครื่องดนตรีชนิดอื่นๆ คือ ตะโล้ดโป๊ด สว่า (ฉาบใหญ่) ฆ้องอุ้ย ฆ้องโหย้ง โดยตีเป็นเครื่องประกอบจังหวะบรรเลงร่วมกันไปตลอดรวมเรียกว่า วงกลองตึ่งโนง และในบางโอกาสมักนิยมใช้เครื่องเป่าที่มีเสียงดังประกอบด้วย คือ แน ซึ่งมี 2 เลา ได้แก่ แนน้อย และแนหลวง หรืออาจจะมีการเพิ่มจำนวนเครื่องประกอบจังหวะไปตามความนิยมของท้องถิ่นนั้นๆ การตีจะไม่นิยมตีเดี่ยว แต่จะตีประสมวงกับเครื่องดนตรีชนิดอื่น เรียกว่า วงกลองแอว หรือวงตึ่งโนง

วงกลองแอว

วงกลองแอว หรือวงตึ่งโนง ในการเล่นกลองตึ่งโนงจะประกอบด้วยผู้แสดงจำนวน ๕ คน คือ กลอง , ตะหลดโป๊ด , ฆ้องย้ง (กลาง) , ฆ้องอุ้ย (ใหญ่) และฉาบ นิยมใช้ประโคมแห่ครัวทานและประกอบการฟ้อนเล็บ

โอกาสที่ใช้กลองแอว

แต่เดิมกลองแอวเป็นกลองที่อยู่ประจำตามวัดเกือบทุกอารามในจังหวัดทางภาคเหนือ ใช้ตีเป็นสัญญาณประจำวัด เช่น ตีเป็นกลองเพล ตีเป็นสัญญาณชุมนุมสงฆ์ในพิธีสังฆกรรม หรือรวมกระทำกิจวัตรอื่นๆ และใช้ร่วมในงานบุญต่างๆ เช่น แห่นำขบวนครัวตาน หรือเมื่อมีงานฉลองศาสนสถานของวัดที่เรียกว่า ปอยหลวง งานบวชเณรที่เรียกว่า ปอยลูกแก้ว ซึ่งถือเป็นงานที่สำคัญมาก

นอกจากนี้ยังมีการนำมาประกวดแข่งขันประชันเสียงกัน ซึ่งจะจัดในระหว่างเดือน 3 เดือน 4 ซึ่งตรงกับเดือนอ้ายเดือนยี่ในภาคกลาง หรือใช้แห่ประกอบการฟ้อน เช่น ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ในปัจจุบันนิยมนำมาแห่ในขบวนสำคัญต่างๆ โดยทั่วไป ต่อมาเมื่อมีการรณรงค์เรื่องการส่งเสริมวัฒนธรรมมากขึ้น จึงนิยมน ามาแห่ในขบวนต่าง ๆ รวมถึง การแสดงบนเวทีให้นักท่องเที่ยวต่างถิ่นได้ชม ตลอดจนมีการน ามาประกวดแข่งขันประชันเสียงกันอีกด้วย