การแสดงพื้นเมือง ภาคเหนือ ล้านนา
-
ซอ พื้นเมืองล้านนา
ซอ พื้นเมืองล้านนา การละเล่นพื้นบ้านล้านนา รูปแบบการร้องเพลงที่ชาวพื้นเมืองล้านนาใช้ขับกล่อมให้คลายทุกข์ โดยจะมีคำเรียกผู้ร้องเพลงซอว่า ช่างซอ หรือคำเมืองเรียก จ้างซอ -
-
-
-
-
ฟ้อนก๋ายลาย
ฟ้อนก๋ายลาย เป็นการฟ้อนโบราณที่บางท่ารำคล้ายกับการฟ้อนลื้อสันนิษฐานว่าเป็นการฟ้อนแสดงความปิติยินดีของชาวบ้านในงานบุญ เป็นที่แพร่หลายในอำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่มากกว่า ๑๒๐ ปี -
ฟ้อนน้อยใจยา
เป็นฉากหนึ่งของละครเพลงชื่อเดียวกัน ได้แต่งขึ้นในปี พ.ศ. 2464 โดยท้าวสุนทรโวหาร ถวายแก่เจ้าดารารัศมีในวันเกิดของท่าน ต่อมาเจ้าดารารัศมีได้ขัดเกลาบางตอนของละครและแต่งเพลงน้อยใจยาขึ้น -
ฟ้อนโยคีถวายไฟ
เจ้าแก้วนวรัฐ (พ.ศ. 2454-2482) เจ้าครองเมืองเชียงใหม่องค์สุดท้ายได้ทรงให้นักดนตรีในวังของท่านและครูช่างฟ้อนชาวพม่าร่วมกันคิดท่ารำและบทเพลงขึ้น -
ฟ้อนไตลื้อ
การฟ้อนนี้เดิมเป็นการฟ้อนของชาวไทยลื้อ หมู่บ้านหนองบัว อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน บรรพบุรุษของชาวไทยลื้อนี้เดิมเป็นพวกอพยพสงครามจากแคว้นสิบสองปันนา -
ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา
เป็นการฟ้อนผสมระหว่างการฟ้อนในราชสำนักพม่าและรำไทยพระราชชายาเจ้าดารารัศมีได้ทรงให้ครูช่างฟ้อนชาวพม่าและครูช่างฟ้อนในวังของท่านคิดท่ารำขึ้นมาระหว่างปี พ.ศ. 2458-2469 -
-
-
-
ฟ้อนสาวไหม
ฟ้อนสาวไหม เป็นศิลปะการฟ้อนรำประเภทหนึ่งของชาวล้านนาที่มีพัฒนาการทางรูปแบบมาจากการ เลียนแบบอากัปกิริยาการสาวไหม ผู้ฟ้อนส่วนใหญ่มักเป็นหญิงสาว -
กลองสะบัดชัย
กลองสะบัดชัย เป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านล้านนาอย่างหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันมักจะพบเห็นในขบวนแห่ หรืองานแสดงศิลปะพื้นบ้านโดยทั่วไป ลีลาในการตีมีลักษณะโลดโผน เร้าใจ -