วัดศรีเกิด ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมืองเชียงใหม่

0
1318

วัดศรีเกิด ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ 171 ถนนถนนราชดำเนิน ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50200 โทรศัพท์:053277147 โทรสาร: 053814361 สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2339

วัดศรีเกิดตั้งอยู่บริเวณกำแพงเวียงชั้นใน เป็นวัดโบราณแห่งหนึ่งในนครพิงค์ ก่อนพระยาเม็งรายจะมาสร้างเวียงใหม่แห่งนี้ ตามปรากฏในคัมภีร์พื้นเมืองนครเชียงใหม่ว่า พญามังรายให้ข้าบริวารแผ้วถางป่าในบริเวณที่จะสร้างเวียง พบรูปกุมภัณฑ์เก่าแก่อยู่ในป่า (เชียงใหม่เป็นเมืองร้างมาแต่เดิม) ข้าบริเวณบางหมู่จะทำลาย บางหมู่ก็นำเรื่องไปทูลพญามังราย ๆ ทรงห้าม แล้วจึงใช้อำมาตย์ผู้หนึ่ง นำเครื่องบรรณาการไปพญาลวะที่บนดอยอุชุปัพพัตตะ เพื่อถามวิธีบูชาผีกุมภกัณฑ์ พญาลวะก็บอกข้อปฏิบัติบวงสรวงกุมภกัณฑ์ แล้วพญามังรายก็ปฏิบัติตามที่พญาลวะบอกทุกประการ บริเวณที่ตั้งวัดศรีเกิดแห่งนี้เป็นวัดมาก่อนหรือไม่ ยังไม่พบหลักฐาน พญามังรายสร้างเวียงเสร็จแล้ว ก็ได้ยกย่องเท่ากับเป็นเมืองหลวง บรรดาเมืองต่าง ๆ ก็เกรง เดชานุภาพ พากันนำเครื่องราชบรรณาการมาขอสวามิภักดิ์ ได้แก่ เมืองหงสาวดี เมืองอังวะ เมืองเชียงตุง เมืองเชียงราย ล้านช้าง แพร่ น่าน เชียงของ เขลางค์ ฯ รวมเรียกว่าแคว้นล้านนาไทย พญามังรายประทับอยู่นครพิงค์จนสวรรณคต เมื่อปีกุน ตรีศก จ.ศ.373 พ.ศ. 1855 พระชนมายุได้ 72 พรรษา จากนี้มีเชื้อพระวงศ์สืบสมบัติสันติวงศ์ดำรงราชต่อ ๆ กันมาดังนี้ พระเจ้าคราม พระเจ้าแสนภู พ่อขุนน้ำท่วม พระเจ้าคำฟู พระเจ้าผายู พระเจ้ากือนา พระเจ้าแสนเมืองมา พระเจ้าสามฝั่งแกน พระยาติโลกราช พระยอดเชียงราย เสวยราชตั้งแต่ พ.ศ.2031 ปีมะแม ถึง พ.ศ.2039 พระเจ้าปนัดดาติโลกราช ( พระเมืองแก้ว) เสวยราชตั้งแต่ พ.ศ. 2040-2069 ปีมะโรง ในระหว่างนี้มีนักกวีแต่งโคลงนิราศหิริภุญชัย ปรากฏชื่อวัดศรีเกิด ในบทที่ 12 ว่า ทุงยู สิริเกิด ใกล้ ผาเกียร สามสีอาวาสเจียร จิ่มไหว้ กุศลที่ทำเพียร พบราช เดียวเอย มิใช่จงห้องใต้ แต่พื้น นรา สาดล ตามศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ ณ นคร อธิบายว่า โครงนิราศหริภุญชัยแต่งขึ้นประมาณ พ.ศ. 2025-2060 เป็นเอกสารแสดงว่า วัดศรีเกิด มีอายุนานหลายร้อยปี ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนว่า ใครเป็นผู้สร้าง ใน วัน เดือน ปีไหน และเมื่อไร วัดศรีเกิดเป็นวัดฝ่ายมหานิกาย และเจ้าอาวาส เท่าที่พระครูขันตยาภรณ์ (หลวงพ่อคำ) รวบรวมไว้

ลำดับเจ้าอาวาส:
เจ้าอาวาสตามที่ทราบนามมีดังนี้ 1. พระมหาสมเด็จปวัตตหลวงโพธิรุกขาพิชาราม
2. ครูบาพรหม (ลาสิกขา)
3. ครูบาอธิการแก้ว (ลาสิกขา)
4. ครูบาอธิการโม๊ะ (ลาสิกขา)
5. พระครูวิเชียรปัญญา (เป็ก ปญญาวโร ) อดีต จข. ช่างเคิ่ง-จอ.สันป่าตอง พ.ศ. 2459-2498
6. พระครูขันตยาภรณ์ (คำ ขนติโก) อดีต จอ. สันป่าตอง-กิ่งแม่วาง พ.ศ. 2501-2537
7. พระครูสุนทรขันติรัต (คำนึง ขนติหโล) รองจอ. สันป่าตอง พ.ศ.2539 ถึงปัจจุบัน

งานศิลปกรรม
1 พระเจ้าแค่งคม ปีเถาะ จุลศักราช 845 ตั๋วปีก่าเหม้า ( พ.ศ.2027 ปีเถาะ เบญจศก) วันพุทธขึ้น 3 ค่ำ เดือน 8 จันทร์เสวยสตภิสฤกษ์ พระเจ้าสิริธรรมจักรพรรดิพิลกราชาธิราช (พระเจ้าติโลกราช) กษัตริย์เชียงใหม่ล้านนา รัชกาลที่ 10 แห่งราชวงศ์มังราย ทรงมอบภาระให้สีหโคตรเสนาบดี และอาณากิจจาธิบดีมหาอำมาตย์ หล่อพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์องค์ใหญ่ ทองหนักประมาณสามสิบสามแสน (3.300.000) ประมาณ 3960 กก. ขนาดหน้าตักกว้าง 94 นิ้ว (2.39 เมตร) สูง 112 นิ้ว (2.85 เมตร) ให้มีลักษณะเหมือนพระพุทธรูปแบบลวปุรี (ศิลปะแบบลพบุรี) หล่อที่วัดป่าตาลมหาวิหาร ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ราชธานีเชียงใหม่ ครั้นหล่อเสร็จแล้ว พระมหากษัตริย์ทรงอันเชิญ พระบรมสารีริกธาตุประมาณ 500 องค์ กับพระพุทธรูปแก้วทองและเงิน จากหอพระธาตุส่วนพระองค์มาบรรจุไว้ในเศียรพระพุทธรูปใหญ่นี้ วัดป่าตาลมหาวิหารแห่งนี้มีพระมหาเถระชื่อ ธรรมทินนะเป็นเจ้าอาวาส และเป็นเจ้าคณะ เป็นอุปัชฌาย์ด้วย พระเจ้าธรรมจักรพรรดิพิกลราชาธิราชครองราชย์สมบัติได้ 45 ปี ก็สวรรณคต ในปีมะแม รวมสิริอายุพระองค์ได้ 78 ปี พระพุทธรูปแค่งคม ประดิษฐานที่วัดป่าตาลมหาวิหารนานได้ 316 ปี (ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2027-2342) ต่อมาจุลศักราชได้ 1161 ตัวปีกัดเม็ด พ.ศ. 2342 ปีมะแม (เอกศก) เดือน 3 ออก (ขึ้น) 7 ค่ำ วันผัด (พฤหัสบดี) สมเด็จปวัตตสีหลวงมหาโพธิรุกขาพิชชาราม (ครูบานันทา) เจ้าอาวาสวัดศรีเกิด ร่วมกับสมเด็จเสฐาบรมบพิตราธิราชพระเป็นเจ้า (เจ้าหนานกาวิละ) เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ตนได้น้ำมุทธาภิเษกว่า มหาสุริยวังสกษัตราธิราชเจ้า พร้อมด้วยพระสงฆ์ พระวงศานุวงศ์ ไพร่ฟ้าพลเมืองได้อาราธนา (นิมนต์) พระพุทธรูปเจ้า แค่งคม จากวัดร้างป่าตาลมหาวิหาร นอกแจ่งกู่เฮือง มาประดิษฐานในวิหารวัดศรีเกิด ต. พระสิงห์ อ. เมือง จ. เชียงใหม่ จนถึงปัจจุบันนี้ พระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์องค์ใหญ่ ทองหนักประมาณสามสิบสามแสน (3.300.000) ประมาณ 3960 กก. ขนาดหน้าตักกว้าง 94 นิ้ว (2.39 เมตร) สูง 112 นิ้ว (2.85 เมตร) ให้มีลักษณะเหมือนพระพุทธรูปแบบลวปุรี (ศิลปะแบบลพบุรี)