วัดขะจาว ตำบลฟ้าฮ่าม อำเภอเมืองเชียงใหม่

วัดขะจาว ตำบลฟ้าฮ่าม อำเภอเมืองเชียงใหม่ 148 ถนนฟ้าฮ่ามสามัคคี ตำบลฟ้าฮ่าม อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50100 สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2369
วัดขะจาวถูกสร้างขึ้นปีพุทธศักราช 2369 โดยนายยศ ผู้ซึ่งบริจาคที่ดินให้สร้างวัดและได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2491 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร ส่วนผู้สร้างไม่ปรากฏอยู่ในหลักฐานทราบแต่ว่าเดิมเป็นที่ดินของ นายยศบริจาคให้กับวัดขะจาว เดิมสถานที่ตั้งวัดเป็นป่าชาวบ้านเรียกว่า ป่าขะจาวเป็นต้นไม้ยืนต้นชื่อว่าต้นขะจาว ต่อมาตั้งวัดก็เลยเรียกชื่อวัดตามชื่อต้นไม้ ชื่อว่า วัดขะจาวมาจนกระทั้งทุกวันนี้ เหตุที่วัดขะจาวถูกตั้งชื่อว่า “ขะจาว” สืบเนื่องมาจากในสมัยก่อนบริเวณรอบวัดมีต้นขะจาวจำนวนมากอยู่ภายในบริเวณวัดและรอบๆวัด จึงทำให้วัดนี้ถูกตั้งชื่อว่า “วัดขะจาว” แต่ในปัจจุบันต้นขะจาวถูกตัดทำลายไป จึงเหลือแค่เพียง 3 ต้นเท่านั้นซึ่งอยู่บริเวณหน้าวัด ขะจาว 1 ต้น อยู่บริเวณหลังวัดขะจาว 1 ต้น และอยู่บริเวณหน้าตลาดขะจาวอีก 1 ต้นเท่านั้น ตลาด ขะจาวได้นี้อยู่ตรงกันข้ามกับทางเข้าของวัดขะจาวนั่นเอง ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ท่านเจ้าอาวาสเล็งเห็นความสำคัญของพันธุ์ไม้ที่เก่าแก่อย่างต้นขะจาวมากยิ่งขึ้น ท่านไม่อยากให้ต้น ขะจาวต้องสูญพันธุ์ไปเพราะถือว่าเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญของหมู่บ้านขะจาว และนอกจากนี้ เปลือกของต้นขะจาวนั้นสามารถนำมาใช้เป็นยารักษาโรคเรื้อนแก่สุนัขได้อีกด้วย ดังนั้น ท่านจึงได้ให้ชาวบ้านร่วมใจกันช่วยกันเพาะต้นกล้าของต้นขะจาว และขยายพันธุ์ต้นขะจาวเอาไว้ เพื่อให้รุ่นลูกหลานได้ตระหนักถึงคุณประโยชน์จากพันธุ์ไม้ชนิดนี้นานเท่านาน
ลำดับเจ้าอาวาส:
1. พระอธิการดวงดี
2. พระตา
3. พระอธิการอินพร วิถี
4. พระอธิการบุญทา
5. พระอธิการทองคำ วิสูทฺธสีโล
6. พระอธิการสนอง จันทสาโร
7. พระพงษ์ศักดิ์ ปั๋นแก้ว
8. พระโสภิณ
9. พระปฐม
10. พระครูยศ กลฺยาโณ
11. พระบุญมี สุทะจิตโต 1
2. พระทองสุข รัตนมโน 1
3. พระมหาปัญญา เตชวโร 1
4. พระศักดิ์ดา สิริคุตฺโต 1
5. พระอธิการเหล ชยวํงโส 1
6. พระสมบูรณ์ ชวนปัญโญ 1
7. พระเศกศักดิ์ ธมฺมโชโต (ปัจจุบัน รักษาการเจ้าอาวาส) 1
8. พระอธิการสุรพล ชยธมฺโม (เจ้าอาวาสปัจจุบัน)
งานสถาปัตยกรรม
1 พระวิหาร วิหารวัดขะจาวสร้างใน พ.ศ. 2369 ส่วนผู้สร้างไม่ปรากฏอยู่ในหลักฐานมีพระอธิการดวงดี ไม่ทราบฉายาวัน-เดือน-ปี เป็นเจ้าอาวาสรูปที่ 1 ในสมัยนั้นต่อมาในปีเดือน พ.ศ. ไม่ทราบ ได้มีพระอธิการอินพร เจ้าอาวาสรูปที่ ๓ ได้บูรณะขึ้นต่อมาในปี พ.ศ. 2522 – 2532 ได้มีพระครูยศ กลายาโณ เจ้าอาวาสรูปที่ 10 ได้ เข้ามาบูรณะวิหารหลังนี้ต่อ จนถึงทุกวันนี้ เป็นศิลปะแบบไทยล้านนาภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธรูป ๓ องค์ และได้มีการวาดภาพพุทธประวัติและมหาเวสสันดรชาดกบนฝาผนัง เพื่อให้สาธุชนรุ่นหลังได้เข้ามา กราบไหว้สักการะบูชาและศึกษาเรียนรู้ต่อไป
2 พระเจดีย์ พระเจดีย์เป็นศิลปะแบบล้านนามีมาแต่สมัยโบราณ สันนิษฐานว่าสร้างเมื่อ พ.ศ. 2396 พร้อมกันกับ การสร้างวัดขะจาวในสมัยนั้นและได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ภายใน องค์พระเจดีย์ เพื่อให้ศรัทธาสาธุชน ได้ร่วมสักการะบูชา ในวันสำคัญในทางพระพุทธศาสนา สืบต่อไป
3 พระอุโบสถ เจ้าอาวาสรูปที่ 1 พระอธิการดวงดี ได้ก่อสร้างไว้ในสมัยนั้น ต่อมาอุโบสถได้ชำรุดทรุดโทรมตามกาลเวลาและต่อมาได้มีเจ้าอาวาสรูปที่ 13 พระอธิการทองสุข รตมนโน ได้บูรณะขึ้นมาใหม่ ใน พ.ศ. 2533 และได้มาสำเร็จ เสร็จสิ้นเมื่อ พ.ศ. 2543 โดยเจ้าอาวาสรูปที่ 14 พระอธิการเหล่ ชยวงโส ต่อมาพระปลัดสุรพล ชยธมฺโม เจ้าอาวาสวัดขะจาว ได้ดูแลพระอุโบสถ พ.ศ. 2545 มาจนถึงปัจจุบัน อุโบสถเป็นศิลปะแบบไทยล้านนา ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2491 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร