เรื่องราวที่เล่าขานสืบต่อกันมาเป็นอมตะคู่กับดอยหลวงเชียงดาว คงจะไม่มีสิ่งใดเทียบเทียม “ตำนานเจ้าหลวงคำแดง” และ “ตำนานถ้ำเชียงดาว” ซึ่งร้อยเรียงผสมผสานกับความเชื่อของคนท้องถิ่นได้อย่างลงตัว
ตำนานเกี่ยวกับเจ้าหลวงคำแดงถูกถ่ายทอดออกมาหลายเรื่องราวด้วยกัน แม้จะมีความต่างในรายละเอียด ทว่าหากพิจารณาให้ถึงแก่นแล้ว เจ้าหลวงคำแดงก็เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์แห่งขุนเขา เป็นเจ้าแห่งผีทั้งหลาย เป็นที่เคารพ สักการะ ของชาวเหนือ อย่างไม่มีวันเปลี่ยนแปลง และถ้ำเชียงดาวซึ่งเชื่อกันว่า เป็นเมืองเทวาของเจ้าหลวงคำแดง ตั้งอยู่ด้านหน้าของดอยหลวงเชียงดาว ซึ่งเป็นขุนเขาที่ชาวเชียงใหม่นับถือว่าศักดิ์สิทธิ์ เชื่อว่าเป็นที่สิงสถิตของผีเมืองเชียงใหม่ทุกองค์ตั้งแต่ก่อนพญามังรายสร้างเมืองเชียงใหม่ ผีเมืองเชียงใหม่มีเจ้าหลวงคำแดงเป็นประธานใหญ่กว่าผีเมืองทั้งหมด
มีเรื่องเล่าว่าทุกวันพระผีทุกผีในเมืองเชียงใหม่จะต้องไปร่วมเฝ้าและประชุมที่ดอยหลวงเชียงดาว ซึ่งในถ้ำเชียงดาวจะมีห้องโถงขนาดใหญ่ที่เชื่อว่าเป็นห้องประชุม ในวันนั้นผีจะไม่เข้ามาหลอกหลอนชาวบ้าน นอกจากนี้ยังมีเรื่องเล่าอีกว่า ผีเมืองที่ดอยหลวงเชียงดาวได้เก็บข้าวจากชาวนาทุกคนที่วางไว้เซ่นไหว้พระแม่โพสพและเป็นค่าน้ำหัวนา ซึ่งจะนำข้าวไปวางไว้ที่หัวนาก่อนที่ชาวนาจะนำข้าวมาใส่ในยุ้งฉาง ข้าวเหล่านี้ผีดอยจะนำมากิน แล้วจะเหลือเพียงเปลือกหรือแกลบไว้ซึ่งจะเก็บเปลือกข้าวหรือแกลบไว้ในถ้ำแห่งหนึ่งทางทิศใต้ไม่ไกลจากดอยหลวงเชียงดาวชื่อว่า “ถ้ำแกลบ”ความศักดิ์สิทธิ์ของดอยหลวงมิเพียงแต่ชาวบ้านจะเล่าสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคนแล้ว พระสงฆ์ในเขตล้านนาก็ได้แต่งและคัดลอกคัมภีร์ใบลานชื่อ ตำนานถ้ำเชียงดาวไว้หลายสำนวน ทั้งที่พบในเชียงใหม่และเมืองอื่นๆที่ห่างไกลออกไป เช่น ที่เมืองน่าน เป็นต้น
…เจ้าหลวงคำแดงเจ้าตำนาน…แห่งอมตะนิยาย
มีหลายเรื่องราวที่เล่าสืบต่อกันมาเกี่ยวกับเจ้าหลวงคำแดงเป็นไปในลักษณะของ อมตะนิยายพิศวาส อาทิ เล่าเป็นนิยายปรัมปรายุคต้นพุทธกาล กล่าวถึง
สมเด็จองค์อัมรินทราธิราชเจ้า ประมุขแห่งปวงเทพเทวาได้ดำริให้จัดทำสิ่งวิเศษเพื่อองค์สัมมาสัมพุทธเจ้าศรีอาริยะเมตตรัยที่จะมาตรัสรู้พระสัจธรรมในอนาคต ได้เล็งเห็นว่าถ้ำเชียงดาวเป็นสถานที่เหมาะสมแก่การเก็บรักษาของวิเศษเหล่านั้น เพราะลึกเข้าไปในถ้ำจนสุดประมาณมิได้ เป็นเมืองแห่งพวกครึ่งอสูรกาย เรียกว่าเมืองลับแล มีความเป็นอยู่ล้วนแต่เป็นทิพย์ ผู้คนทั้งหลายในมนุษย์โลกธรรมดาที่เต็มไปด้วยกิเลสยากนักที่จะเข้าไปพบเห็นได้ เพราะมีด่านภยันตรายต่างๆมากมายหลายชั้นกั้นขวาง ไว้เป็นอุปสรรค
มียักษ์สองผัวเมียบำเพ็ญภาวนารักษาศีลเพราะได้ปฏิบัติตนเป็นผู้ถึงซึ่งพระรัตนตรัยจากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยมีนางผู้เลอโฉมนามว่า “อินเหลา” อยู่ปรนนิบัติบิดามารดาผู้ทรงศีลทั้งสอง จนวันหนึ่งได้พบกับ เจ้าหลวงสุวรรณคำแดง ยุวราชหนุ่ม ซึ่งเสด็จมาประพาสป่าจากแค้วนแดนไกล ได้บังเกิดความหลงใหลในความงามของนาง ก็ได้พยายามติดตามนางไปจนถึงถ้ำเชียงดาว และทิ้งกองทหารของพระองค์ไว้เบื้องหลัง จากนั้นก็ไม่กลับออกมาอีกเลย ว่ากันว่าเจ้าหลวงสุวรรณคำแดงอยู่ครองรักกับเจ้าแม่อินเหลาที่ถ้ำเชียงดาวนั่นเอง ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าว่าจะมีเสียงดังสะเทือนจากดอยหลวงเชียงดาว ปรากฏเป็นลูกไฟ ขนาดลูกมะพร้าว สว่างจ้าพุ่งหายไปในดอยนางซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของดอยหลวงเชียงดาว ซึ่งมีความเชื่อว่า เจ้าหลวงสุวรรณคำแดงลั่นอะม็อกไปเยี่ยมเจ้าแม่อินเหลาที่ดอยนาง
นอกจากนี้ยังมีตำนานเจ้าหลวงคำแดง จากเอกสารที่เขียนขึ้นโดย พระมหาสถิตย์ ติกขญาโณ กล่าวไว้ว่า
พระผู้เป็นเจ้าได้ปกาศิตให้เทวดายักษ์ตนหนึ่งนามว่า เจ้าหลวงคำแดง กับบริวาร 10,000 คนมารักษาของวิเศษในถ้ำเชียงดาว เพื่อรักษาไว้ให้ พระเจ้าทรงธรรมมิกราชใช้ปราบมนุษย์อธรรมในอนาคต ซึ่งนามเดิมของเจ้าหลวงคำแดง คือ “เจ้าสุวรรณคำแดง” ผู้ซึ่งจะมีหน้าที่เฝ้ารักษาถ้ำและดอยหลวงเชียงดาว จะหมดเวลาของการเฝ้ารักษาเมื่อพระเจ้าทรงธรรมมาปราบมนุษย์อธรรมเสียก่อน
และกล่าวถึงเทวดาผู้เป็นชายาของเจ้าหลวงคำแดงมีนามว่า “จอมเทวี” สถิตอยู่ที่ดอยนาง ว่ากันว่าต่างรักษาศีล 8 จึงหาได้อยู่ร่วมกันไม่ ก่อนที่เจ้าหลวงคำแดงและจอมเทวีจะมาอยู่ที่ดอยหลวงเชียงดาวนั้น ชะรอยว่านางจอมเทวีมีนิวาสสถานบ้านเมืองอยู่เดิมอยู่ทางทิศใต้ ไม่ปรากฏชื่อแน่ชัด ส่วนเจ้าหลวงคำแดงนั้นเป็นบุตรของเจ้าเมืองพะเยานามว่า “สุวรรณคำแดง” ซึ่งพระบิดาได้สั่งให้เจ้าหลวงคำแดงพร้อมทหารไปรักษาด่านชายแดนเพื่อป้องกันศัตรู ได้มาพบเห็นสาวงามนางหนึ่ง จึงได้ติดตามนางไปแต่ไม่พบ เจอเพียงกวางทองตัวหนึ่ง จึงสั่งให้ทหารติดตามเจ้ากวางทองตัวนั้นไป และกำชับว่าต้องจับเป็นห้ามทำร้ายเจ้ากวางทองเด็ดขาด เป็นเวลา 3 วันก็ไม่สามารถจับเจ้ากวางทองได้ แต่เจ้าหลวงคำแดงก็ยังไม่ละลดความพยายาม นำทหารติดตามไปเรื่อยๆหมายจะจับกวางทองให้ได้ จนเวลาล่วงเลยไป 10 วันก็ยังไม่พบเจ้ากวางทอง คงเห็นแต่รอยเท้าเท่านั้น และในวันหนึ่งสิ่งที่ปรากฏแก่สายตาเจ้าหลวงคำแดงและเหล่าทหารก็คือ คราบของกวางทอง อยู่ใกล้กับหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านสบคาบ จากตำนานเจ้าหลวงคำแดงนั่นเอง
จากนั้นเจ้าหลวงคำแดงก็ติดตามเจ้ากวางทองไปในป่าแห่งหนึ่ง ชื่อว่าดงเทวี ทันทีที่เจ้าหลวงคำแดงตามไปพบ จึงสั่งให้ทหารกระจายกำลังโอบล้อมไว้พร้อมประกาศว่า หากกวางทองหลุดออกจากด่านของผู้ใดผู้นั้นจะต้องถูกตัดหัว ในที่สุดกวางทองตัวนั้นก็หลุดออกมาจากวงล้อมวิ่งผ่านไปทางที่เจ้าหลวงคำแดงอยู่ ดังนั้นเจ้าหลวงคำแดงจึงต้องไปติดตามกวางทองด้วยตัวเองและให้ทหารคอยอยู่ที่ดงเทวี และสั่งว่าหากเกิน 7 วันแล้วพระองค์ยังไม่กลับให้กลับกันไปก่อน แล้วก็ติดตามกวางทองตัวนั้นไปทางทิศตะวันตก
ซึ่งกวางทองมุ่งหน้าไปสู่เขาใหญ่ลูกหนึ่ง แล้วกลายร่างเป็นคนเข้าไปยังถ้ำเชียงดาว เจ้าหลวงคำแดงจึงตามเข้าไปในถ้ำ ตราบเท่าทุกวันนี้ก็ยังไม่กลับออกมา ผู้คนเชื่อว่าพระองค์สิงสถิตรักษาถ้ำเชียงดาว จึงตั้งศาลไว้ชื่อว่า ศาลเจ้าหลวงคำแดง และมีรูปปั้นกวางทองด้วย…
ถ้ำเชียงดาว
เป็นถ้ำที่น่าสนใจถ้ำหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ อยู่ในเขต อำเภอเชียงดาว ตั้งอยู่เชิงเขาของดอยหลวงเชียงดาว ภายใน แต่ละถ้ำ มีความงามจากการเสกสรรปั้นแต่งของธรรมชาติ ชวนให้ตื่นตาตื่นใจกับปรากฏการณ์ของหินงอกหินย้อย ที่ก่อให้ เกิด รูปร่างต่างๆเป็นถ้ำขนาดใหญ่ ภายในมีหินงอกหินย้อยที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติที่สวยงาม บางแห่งเป็นซอกหลืบ เมื่อฉายไฟ จะมีประกายระยิบระยับ สามารถจินตนาการเป็นรูปต่างๆได้มากมาย เสน่ห์อย่างหนึ่งของที่นี่อยู่ตรงที่มีน้ำใส่ไหลเย็นจากในถ้ำไหล ออกมาที่บริเวณหน้าถ้ำ เป็นอย่างนี้ชั่วนาตาปีไม่มีเหือดหาย และไหลมารวมกันเป็นสระน้ำมีปลาน้อยใหญ่ว่ายวนไปมา ทำให้ บรรยากาศสดชื่นและยังร่มรื่น ด้วยพันธุ์ไม้ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศมาเที่ยวกันเป็นจำนวนมากและ ตรงหน้าถ้ำนี้เองเป็นที่ตั้งของ วัดถ้ำเชียงดาว
สำหรับเส้นทางเดินชมถ้ำมีหลายทางดังต่อไปนี้
– เส้นทางแรก คือ ถ้ำพระนอน เส้นทางนี้ยาว 360 ม.
– เส้นทางที่ 2 คือ ถ้ำแก้ว ถ้ำน้ำ ยาว 734 ม.
– เส้นทางที่ 3 คือ ถ้ำมืด ถ้ำม้า ยาว 735 ม.
สองเส้นทางหลังนี้ไม่มีไฟฟ้า ถ้าต้องการเดินชมจะมีคนนำทางและตะเกียงให้ ภายในแต่ละถ้ำ ต่างมีความงามจากการเสกสรรปั้น แต่งของธรรมชาติ ชวนให้ตื่นตาตื่นใจกับปรากฏการณ์ของหินงอกหินย้อยที่ก่อให้เกิดรูปร่างต่างๆ มีชื่อเรียกตามลักษณะรูปทรง เช่น หินโคมไฟเทวดา หินดอกบัวบาน หินมือยักษ์ หินดอกบัวพันชั้น โดยเฉพาะภายในถ้ำแก้ว เมื่อยามกระทบแสงสว่างนั้นดูงดงาม ตระการตา เพราะจะเห็นเป็นแสงระยิบระยับคล้ายประกายของเพชรเลยทีเดียว
ประวัติความเป็นมาวัดถ้ำเชียงดาว
วัดถ้ำเชียงดาว สร้างเมื่อ พ.ศ. 2310 มีชื่อเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า วัดถ้ำหลวงเชียงดาว การก่อสร้างเริ่มครั้งแรกโดยพระครูบาประธรรมปัญญา และพ่อแสนปี ต่อมา พ.ศ. 2430 พระยาอินต๊ะภิบาล มาทำบันไดขึ้นสู่ปากถ้ำ พร้อมเสนาสนะและศิลปวัตถุอื่นๆ ใน พ.ศ. 2456 มีฤาษีชื่อคันธะมาสร้างพระพุทธรูป จนถึง พ.ศ. 2477 ครูบาศรีวิชัย มาสร้างและบูรณะ นอกจากนั้นในสมัยหลังได้มีการสร้างและบูรณะเสนาสนะเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2514
ความเชื่อเรื่องเจ้าหลวงคำแดง ถ้ำเชียงดาว และอ่างสลุง (อ่างสรง) ยังคงถูกผลิตซ้ำอยู่ตลอดเวลาในรูปของตำนานที่ถูกเล่า ขานสืบกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ทั้งยังถูกเชื่อมร้อยด้วยสำนึกเรื่องความศักดิ์สิทธิ ์ของเจ้าพ่อหลวงคำแดง ซึ่งได้กลายเป็นเค้าผี (ต้นตระกูลของผี) ของระบบผีเมืองใหญ่ในเขตล้านนาเดิมทั้งหมด โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ถ้ำเชียงดาว อันถือเป็นถ้ำศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่สิงสถิตของเจ้าหลวงคำแดง เจ้าพ่อศรีวิชัย และเจ้าแม่อินเหลา ถือเป็นผีหลวงรักษาประจำเมืองเชียงดาว มีผีบริวารเครือข่ายความสัมพันธ์ที่สำคัญได้แก่ เจ้าพ่อข้อมือเหล็ก (แก่งปันเต๊า) เจ้าพ่อผาขาว (บ้านโปงอาง) เจ้าพ่อขุนดำ (บ้านน้ำรู) เจ้าศรีอุ่นเมือง เจ้าแม่ต่อมคำ (บ้านแม่อ้อใน – แม่อ้อนอก) เป็นต้น มีอาณาเขตความสัมพันธ์ไปถึงอำเภออื่นๆ ทั่วทั้งเขตแอ่งเชียงใหม่ ? ลำพูนตอนบน
ตำนานที่ผูกเรื่องราวของเจ้าหลวงคำแดงกับถ้ำเชียงดาว กล่าวถึงเมืองเมืองหนึ่งในแถบนี้ว่าชื่อเมือง ?โจละนี? และกล่าวถึงเจ้าหลวงสุวรรณคำแดง ว่าเป็นราชบุตรเจ้าเมืองพะเยา (ตำนานพยายามเชื่อมโยงท้องถิ่นทั้งสองเข้าด้วยกัน เนื่องจากเมืองพะเยามีลูกหลานของพระยางำเมืองพระองค์ หนึ่ง ทรงพระนามว่า ?คำแดง? เช่นกัน ขณะที่ประวัติของเจ้าหลวงคำแดงและเมืองเชียงดาวนั้น มีมากว่าพันปี ส่วนเมืองพะเยานั้นมีอายุไม่เกิน ๗๐๐ ปีเท่านั้น)
เจ้าหลวงสุวรรณคำแดงได้รับคำสั่งจากบิดาให้คุมทหารจำ นวนหนึ่งไปรักษาการที่ด่านชายแดนเพื่อป้องกันศัตรูจา กเมืองอื่น ระหว่างที่ทรงพักผ่อนก็ได้พบกวางทองตัวหนึ่ง พระองค์จึงตามไปจนถึงเชิงดอย ?อ่างสลุง ? สรง? หรือดอยหลวงเชียงดาว ภายหลังทราบความจริงว่ากวางทองนั้นเป็นสาวงามนางหนึ่ งชื่อนางอินทร์เหลาแปลงร่างมา จนเกิดเป็นความรักกัน นางบอกว่านางเป็นเนื้อคู่ของพระองค์ซึ่งรอคอยอยู่ที่ เมืองลับแลคือถ้ำแห่งนี้มานาน พระองค์จึงตามนางเข้าไปในดินแดนแห่งนั้น และไม่กลับออกมาอีกเลย
ด้วยเหตุนี้จึงเชื่อกันว่า วิญญาณของเจ้าหลวงคำแดงเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คอยปก ปักรักษาถ้ำเชียงดาว มีการสร้างศาลเจ้าพ่อหลวงคำแดงไว้ที่ถ้ำนี้เป็นแห่งแ รก
ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าว่า วันดีคืนดีจะมีเสียงสะเทือนสั่นจากดอยหลวงเชียงดาว และมีลูกไฟกลมขนาดมะพร้าวสว่างจ้าพุ่งหายไปทางดอยนาง ซึ่งอยู่ทางเหนือดอยหลวง เชื่อกันว่าเป็นเสียงปืนใหญ่หรือ ?อะม็อก? ที่เจ้าหลวงคำแดงลั่นขึ้นก่อนออกไปเยี่ยมนางอินเหลาท ี่รักษาศีลอยู่ที่ดอยนาง ส่วนเจ้าหลวงคำแดงรักษาศีลภาวนาอยู่ที่ถ้ำเชียงดาวจน ถึงปัจจุบัน
เรื่องราวในตำนานเจ้าหลวงคำแดงผูกโยงเข้ากับความเชื่ อเกี่ยวกับถ้ำเชียงดาวว่า พระยาธรรมมิกราชจะมาเกิดที่เมืองเชียงดาว เพื่อปราบยุคเข็ญในปี พ.ศ. ๓๐๐๐ ซึ่งเจ้าพ่อหลวงคำแดงเป็นเทวาอารักษ์ปกป้องไว้เพื่อร อพระยาธรรมิกราชองค์ใหม่
ความยิ่งใหญ่ของผีเจ้าหลวงคำแดงนั้นถูกเล่าสืบต่อกัน มาอีกว่า ในการปกครองอาณาจักรผีอาจมีผีหลายแห่งต้องมาขึ้นและม าขอคำปรึกษาจากผีดอยเชียงดาว เช่น ผีเมืองน่าน ผีเมืองพะเยา และผีแม่พริกลำปาง แสดงถึงความยิ่งใหญ่ของผีเจ้าหลวงคำแดงซึ่งเป็นเค้าผ ีทั้งหลาย
ประเด็นดังกล่าว ดร.ฉลาดชาย ระมิตานนท์ กล่าวในมุมมองของนักสังคม ? มานุษยวิทยาในงานสืบชะตาเมืองเชียงดาวว่า ?ผี? ในตำนานของเจ้าหลวงคำแดงมีความหมายในเชิงอำนาจที่ยิ่ งใหญ่เหนือคนหรือเทพ ไม่ใช่ความหมายในเชิงผีที่ใช้อำนาจในทางหลอกหลอนผู้ค น นางอินเหลาน่าจะเป็นคนในท้องถิ่นนั้น โดยอาจเป็นลูกสาวเจ้าเมืองหรือเจ้าบ้านบริเวณเขตเมือ งเชียงดาวนั้นเอง
สำหรับตำนานของเจ้าหลวงคำแดงฉบับใบลานที่ปรากฏในวัดก ลับเล่าตำนานต่างกันออกไป เจ้าหลวงคำแดงกลายเป็นอำนาจท้องถิ่นที่ยอมรับพระพุทธ ศาสนา โดยยกเรื่องขุนธรรมิกราชขึ้น เพื่อชี้ให้เห็นว่าขุนธรรมิกราชจะมาเกิด พระยายังฝากสมบัติไว้กับเจ้าหลวงคำแดง เจ้าหลวงคำแดงจึงถูกดัดแปลงเป็นยักษ์ที่เฝ้ารักษาสมบ ัติไว้ในถ้ำเชียงดาว และถูกกำกับด้วยความเชื่อที่ว่า หากผู้ใดอยากพบเห็นสมบัติภายในถ้ำให้รักษาศีลให้บริส ุทธิ์เสียก่อนจึงจะเข้าถ้ำ มิฉะนั้น อาจหลงทางจนหาทางออกไม่พบ กลายเป็นผีบริวาร หรือวิญญาณบริวารของเจ้าหลวงคำแดงไป ความเชื่อนี้อาจถูกสร้างขึ้นโดยนัยของการป้องกันไม่ใ ห้คนเข้าไปลักขโมยของต่างๆ ภายในถ้ำ